คนไทยใช้มือถือ 38.2 ล้าน


696 ผู้ชม


คนไทยใช้มือถือ 38.2 ล้าน คนอีสานใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ ต่ำที่สุด   

คนไทยใช้มือถือ 38.2 ล้านเมื่อไม่นานมานี้  สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้เปิดเผย สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในครัวเรือน พ.ศ. 2553  โดยในปี 2553 มีจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปทั้งสิ้นประมาณ 61.9 ล้านคน  จำนวนนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 19.1 ล้านคน หรือร้อยละ 30.9 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 13.8  ล้านคน หรือร้อยละ 22.4 และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 38.2 ล้านคน หรือร้อยละ 61.8เมื่อพิจารณาระหว่างเขตการปกครอง ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 43.4 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 35.1 และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 72.2   ซึ่งมีสัดส่วนการใช้สูงกว่านอกเขตเทศบาล คือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 25.2  ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 16.5 และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 57.0คนไทยใช้มือถือ 38.2 ล้าน
      เมื่อพิจารณาสัดส่วนของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ เป็นรายภาค พบว่าในปี 2553 กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด  คือ ร้อยละ 47.4 รองลงมาคือภาคกลาง ร้อยละ 31.7 ภาคใต้ ร้อยละ 29.3  ภาคเหนือ ร้อยละ 28.9 และต่ำสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 27.2ส่วนการใช้อินเทอร์เน็ต กรุงเทพมหานครมีผู้ใช้มากที่สุดคือ ร้อยละ 39.6 รองลงมาคือ ภาคกลาง ร้อยละ 22.3 ภาคเหนือ ร้อยละ 21.2 ภาคใต้ ร้อยละ 19.9 และต่ำสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 18.9ในขณะที่การใช้โทรศัพท์มือถือ กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนของผู้ใช้มากที่สุด เช่นเดียวกัน คือร้อยละ 77.3 รองลงมา ภาคกลาง ร้อยละ 66.9 ภาคเหนือ ร้อยละ 60.5ภาคใต้ ร้อยละ 58.8 และต่ำสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 55.4
สาระที่ 1 :  จำนวนและการดำเนินการ 
มาตรฐาน ค 1.2 :  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ  และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้
สาระการเรียนรู้
1. ทศนิยม
ทศนิยม หมายถึง การเขียนตัวเลขประเภทเศษส่วนเป็น 10 หรือ 10 ยกกำลัง ต่าง ๆ แต่เปลี่ยนรูปจากเศษส่วนมาเป็นรูปทศนิยม โดยใช้เครื่องหมาย . (จุด)แทน
ตัวอย่าง  ส่วนที่แรเงาคือ 7/10 = 0.7
2. การอ่านทศนิยม
เลขที่อยู่หน้าทศนิยมเป็นเลขจำนวนเต็ม อ่านเช่นเดียวกับตัวเลขจำนวนเต็มทั่วไป ส่วนตัวเลขหลังจุดทศนิยมเป็นเลขเศษของเศษส่วนซึ่งมีค่าไม่ถึงหนึ่ง อ่านตามลำดับตัวเลขไปเช่น 635.1489 อ่านว่า หกร้อยสามสิบห้าจุดหนึ่งสี่แปดเก้าถ้าเลขจำนวนนั้นไม่มีจำนวนเต็ม จะเขียน 0 (ศูนย์) ไว้ตำแหน่งหลักหน่วยหน้าจุดได้ เช่น .25 เขียนเป็น 0.25 ก็ได้
3. การกระจายทศนิยม 
457.35 =400 + 50 + 7 + 0.3 + 0.05
4. การเรียกตำแหน่งทศนิยม 
ถ้ามีตัวเลขหลังจุดทศนิยมกี่ตัว ก็เรียกเท่านั้นตำแหน่งเช่น
1. 0.4 , 15.3 , 458.6 เรียกว่า ทศนิยม 1 ตำแหน่ง
0.25 , 25.36 , 25.18 เรียกว่า ทศนิยม 2 ตำแหน่ง
5. การปัดเศษทศนิยม มีหลักดังนี้
5.1 ถ้าตัวเลขทศนิยมที่พิจารณา มีค่าตั้งแต่ 6 ขึ้นไป จะปัดทบเข้ากับตัวเลขหน้า เช่น 56.38 = 56.4
5.2 ถ้าตัวเลขทศนิยมที่พิจารณา มีค่าตั้งแต่ 4 ลงมา จะปัดตัวเลขนั้นทิ้งไป เช่น 56.32 = 56.3
5.3 ถ้าตัวเลขทศนิยมที่พิจารณา มีค่าเท่ากับ 5 มีวิธีปัดทศนิยม 2 วิธีคือ
1.) ถ้าทศนิยมหน้าเลข 5 เป็นเลขคู่ ก็ตัดตัวเลข 5 ทิ้ง เช่น 4.65= 4.6
2.) ถ้าทศนิยมหน้าเลข 5 เป็นเลขคี่ ให้ปัดทศนิยมขึ้น เช่น 0.75 = 0.8
6. ทศนิยม และเศษส่วน 
6.1 การเขียนทศนิยมให้เป็นเศษส่วน
ตัวอย่าง จงเขียน 2.5 ให้เป็นเศษส่วน
วิธีทำ 2.5 = 2 กับ 5 ใน 10
ดังนั้น 
6.2 การเขียนเศษส่วนให้เป็นทศนิยม
1.) เศษส่วนที่มีส่วนเป็น 10 หรือ 100 หรือ 10 ยกกำลัง สามารถเปลี่ยนเป็นทศนิยมได้เลย เช่น 75/100 = 0.75
2.) เศษส่วนที่ไม่มีส่วนเป็น 10 หรือ 100 หรือ 10 ยกกำลัง ให้เปลี่ยนเป็นเศษส่วนที่มีส่วนเป็น 10 หรือ 100 หรือ 10 ยกกำลังก่อนเช่น
ทดสอบความเข้าใจ 
ข้อ 1. 0.75 ไม่เท่ากับจำนวนใด
ก. 3/4 ข. 15/20  ค. 20/25  ง. 75/100
ข้อ 2. 8 บาท 75 สตางค์ เท่ากับกี่บาท
ก. 8.75 ข. 8.57  ค. 87.5  ง. 875
ข้อ 3. น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม 3 ขีด เท่ากับกี่กิโลกรัม
ก. 2.03 ข. 2.3  ค. 3.2  ง. 5 
เฉลย ข้อ 1.ตอบ ค.  ข้อ 2. ตอบ ก. ข้อ 3. ตอบ ข.

ประเด็นคำถาม     1. คนไทยใช้มือถือ 38.2 ล้าน อ่านว่าอย่างไร?
                              2. ให้นักเรียนฝึกแต่งโจทย์ปัญหาการบวกทศนิยมโดยใช้โจทย์ที่มีในเนื้อหาของข่าว
                              

กิจกรรมเสนอแนะ    1. ให้นักเรียนฝึกแปลงเศษส่วนให้เป็นทศนิยม
                              

การบูรณาการ           1. กลุ่มสาระภาษาไทย
                                       2. กลุ่มสาระการงานและเทคโนโลยี

ที่มาของภาพ https://www.whatphone.net/images-upload/images/96874246391.jpg
                        https://spm.thaigov.go.th/multimedia/prasert.l/public/casio.jpg

ที่มาของข่าว  https://www.tutormaths.com/pratom8.html

ที่มาของสาระการเรียนรู้  https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1312711699&grpid=&catid=05&subcatid=0500
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4249

อัพเดทล่าสุด