กทม.เปิดใช้ 'สนามหลวง' โฉมใหม่


786 ผู้ชม


จัดพิธีการเปิดใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงอย่างเป็นทางการ ภายหลัง กทม.ได้ดำเนินการเข้าปรับปรุงพื้นที่ตั้งแต่เดือน ก.ค.2553 ใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 180 ล้านบาท   

กทม.เปิดใช้'สนามหลวง'โฉมใหม่ 
กทม.ได้ดำเนินการเข้าปรับปรุงพื้นที่่ตั้งแต่ เดือน ก.ย. 53 งบประมาณ180 ล้านบาท

         กทม.เปิดใช้ วันที่ 9 ส.ค. กทม. ได้จัดพิธีการเปิดใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงอย่างเป็นทางการ ภายหลัง กทม.ได้ดำเนินการเข้าปรับปรุงพื้นที่ตั้งแต่เดือน ก.ค.2553 ใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 180 ล้านบาท โดยกำหนดการตั้งแต่เวลา 06.00 น. ได้นิมนต์พระสงฆ์ 1,985 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธานในพิธี จากนั้นในเวลา 08.09 น.จะมีพิธีพราหมณ์ บวงสรวงพระสยามเทวาธิราช และสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมและนิทรรศการที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของท้องสนามหลวง ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 
              ทั้งนี้ ช่วงเวลาการเปิดใช้สนามหลวงแต่ละวัน จะเปิดในเวลา 05.00-22.00 น. เมื่อถึงเวลาปิดเจ้าหน้าที่เทศกิจจะใช้รั้วเหล็กปิดล้อมโดยรอบเพื่อป้องกันการบุกรุก แต่พบการบุกรุกเจ้าหน้าที่จะเข้าจับกุม
และจะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดทันที โดยอาจจะมีโทษในการบุกรุกโบราณสถานแห่งชาติที่ขึ้นทะเบียนอย่างสนามหลวง มีโทษจำคุก 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม การใช้พื้นที่นั้นสามารถใช้ในการออกกำลังกาย เล่นว่าว พักผ่อน แต่มีห้ามใช้เป็นที่หลับนอน ห้ามปรุงอาหาร ห้ามค้าขาย ห้ามดื่มสุรา และห้ามใช้เป็นการชุมนุมกิจกรรมทางการเมือง
ที่มาของข้อมูล https://www.komchadluek.net/detail/20110809/105446/กทม.เปิดใช้สนามหลวงโฉมใหม่.html
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ระบบเลขฐานสิบ (Decimal Number System) 
ระบบเลขฐานสิบ เป็นระบบเลขที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะนำไปใช้คำนวณประเภทใด โดยจะมีสัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวเลขต่างๆ ของเลขฐานสิบ (Symbol) จำนวน 10 ตัว ตัวเลขหรือที่เรียกว่า Digit ที่ใช้
แทนระบบเลขฐานสิบ ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 
กทม.เปิดใช้ ตัวเลขแต่ละตัวจะมีค่าประจำตัว โดยกำหนดให้ค่าที่น้อยที่สุด คือ 0 (ศูนย์) และเพิ่มค่าทีละหนึ่ง จนครบจำนวน 10 ตัว ดังนั้นค่ามากที่สุด คือ 9 การนำตัวเลขเหล่านี้ มารวมกลุ่มกัน ทำให้เกิดความหมายเป็น "ค่า" 
นั้น อาศัยวิธีการกำหนด "หลัก" ของตัวเลข (Position Notation) กล่าวคือ ค่าของตัวเลขจำนวนหนึ่ง พิจารณาได้จากสองสิ่ง คือ ค่าประจำตัวของตัวเลขแต่ละตัว 
ค่าหลักในตำแหน่งที่ตัวเลขนั้นปรากฎอยู่ ในระบบที่ว่าด้วยตำแหน่งของตัวเลข ตำแหน่งที่อยู่ทางขวาสุด จะเป็นหลักที่มีค่าน้อยที่สุด เรียกว่า Least Sinificant Digit (L S D) และตัวเลขที่อยู่ในหลักซ้ายสุดจะมีค่า
มากที่สุด เรียกว่า Most Sinificant Digit (M S D)

นิยาม ค่าหลักของตัวเลขใดๆ คือ ค่าของฐานยกกำลังด้วยค่าประจำตำแหน่ง ของแต่ละหลัก โดยกำหนดให้ค่าประจำตำแหน่งของหลักของ LSD มีค่าเป็น 0 
ในระบบเลขฐานสิบ จะมีสัญลักษณ์อยู่ 10 อย่าง คือ 0 - 9 จำนวนขนาดของเลขฐานสิบ สามารถอธิบายได้ โดยใช้ตำแหน่งน้ำหนักของแต่ละหลัก (Postional Weight) โดยพิจารณาจากเลข ดังต่อไปนี้ 
3472 สามารถขยายได้ดังนี้ 
กทม.เปิดใช้ 3472  
= 3000 + 400 + 70 + 2 
= (3 x 103) + (4 x 102) + (7 x 101) + (2 x 100)

1257 
= (1 x 103) + (2 x 102) +( 5 x 101) + (7 x 100

เลขที่เป็นเศษส่วน หรือจำนวนผสมนั้น ก็สามารถจะเขียนในรูป Positional Notation ได้เช่นกัน โดยตัวเลขแต่ละหลัก จะอยู่ในตำแหน่งหลังจุดทศนิยม กำลังของหลัก จะมีค่าเป็นลบ เริ่มจากลบ 1 เป็นต้นไป นับจากน้อยไปหามาก ดังนั้นในระบบเลขฐานสิบ หลักแรกหลังจุดทศนิยม จะมีค่าเท่ากับ เลขจำนวนนั้นคูณด้วย 10-1 ตัวที่สองจะเป็น -2 ไปเรื่อยๆ

456.395 = 4 x 102 + 5 x 101 + 6 x 100 + 3 x 10-1 + 9 x 10-2+ 5 x 10-3  
กฎการแทนตัวเลขนั้น สามารถนำไปใช้กับระบบตัวเลขทั่วๆ ไปได้ โดยไม่คำนึงว่า เลขนั้นจะเป็นฐานอะไร 
ที่มาของข้อมูล https://www.snw.ac.th/courseware/www.nectec.or.th/courseware/computer/number-system/0002.html

ระบบเลขฐานสอง 
ระบบเลขฐานสอง มีสัญลักษณ์ที่ใช้เพียงสองตัว คือ 0 และ 1 ถ้าเปรียบเทียบเลขฐานสอง กับเลขฐานสิบแล้ว ค่าของหลักที่ถัดจากหลักที่น้อยที่สุด (LSD) ขึ้นไป จะมีค่าเท่ากับ ฐานสองยกกำลังหมายเลขหลัก 
แทนที่จะเป็น 10 ยกกำลัง ดังนี้ 
เลขฐานสิบ            เลขฐานสอง 
100 = 1 หน่วย      20 = 1 หนึ่ง 
101 = 10 สิบ        21 = 2 สอง 
102 = 100 ร้อย    22 = 4 สี่ 
103 = 1000 พัน   23 = 8 แปด

เพื่อตัดปัญหายุ่งยาก ในการแทนค่าของเลขระบบต่างๆ เรานิยมเขียน ตัวเลขอยู่ในวงเล็บ และเขียนค่าของฐานนั้น อยู่นอกวงเล็บ เช่น (101101)2 = (45)10 สำหรับเศษส่วน จะเขียนค่าของเศษส่วนอยู่หลังจุด (Binary Point) ยกกำลังเป็นลบ กทม.เปิดใช้ เพิ่มขึ้นตามลำดับ 
ตัวอย่าง 
(0.1011)2 = (1 x 2-1) + (0 x 2-2) + (1 x 2-3) + (1 x 2-4
ที่มาของข้อมูลhttps://www.snw.ac.th/courseware/www.nectec.or.th/courseware/computer/number-system/0003.html
การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ 
การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ มีหลายวิธี แต่ที่จะแนะนำคือ การกระจายค่าประจำหลัก จากนั้นนำมาบวกรวมกันอีกครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้จะเท่ากับค่าในเลขฐานสิบ 
ตัวอย่าง 10111 มีค่าเท่ากับเท่าไรในระบบเลขฐานสิบ 
วิธีทำ 
1 0 1 1 1 = 1 x 20 
1 0 1 1 1 = 1 x 21 
1 0 1 1 1 = 1 x 22 
1 0 1 1 1 = 0 x 23 
1 0 1 1 1 = 1 x 24 
ดังนั้น (10111)2 
=  1 x 24 + 0 x 23 + 1 x 22 + 1 x 21 + 1 x 2
= 16 + 0 + 4 + 2 + 1 
(10111)2 = 23 
ตัวอย่าง (110111)มีค่าเท่ากับเท่าไรในระบบเลขฐานสิบ 
วิธีทำ 
N = 1 x 25 + 1 x 24 + 0 x 23 + 1 x 22 + 1 x 21 + 1 x 20 
  = 32 + 16 + 0 +4 + 2 + 1 
1101112 = 5510 
ที่มาของข้อมูล https://www.snw.ac.th/courseware/www.nectec.or.th/courseware/computer/number-system/0004.html
การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ  
วิธีที่สอง
 คือ Dibble Dobble Method โดยการนำเอาเลขหลักซ้ายสุด มาวางไว้ แล้วคูณด้วย 2 จากนั้นบวกด้วยเลขบิทที่อยู่ ทางขวามือ จากนั้นนำผลลัพธ์ มาคูณด้วย 2 บอกด้วยเลขบิทต่อไป ดังนี้ 
เช่น ต้องการแปลง (110111)2 เป็นเลขฐานสิบ
บิทซ้ายสุด 1 
คูณด้วย 2 และบวกบิทถัดไป (2 x 1) + 1 = 3 
คูณด้วย 2 และบวกบิทถัดไป (2 x 3) + 0 = 6 
คูณด้วย 2 และบวกบิทถัดไป (2 x 6) + 1 = 13 
คูณด้วย 2 และบวกบิทถัดไป (2 x 13) + 1 = 27 
คูณด้วย 2 และบวกบิทถัดไป (2 x 27) + 1 = 55 
ดังนั้น (110111)2 = (55)10
ที่มาของข้อมูล https://www.snw.ac.th/courseware/www.nectec.or.th/courseware/computer/number-system/0005.html 
การแปลงเลขฐานสิบเป็นฐานสอง 
กทม.เปิดใช้ การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองก็มีหลายวิธี แต่ที่จะแนะนำคือ การหารด้วย 2 แล้วจดค่าเศษจากการหารไว้ จนกระทั่งหารไม่ได้อีกแล้ว จากนั้นนำเศษ จากการหารแต่ละครั้ง มาไล่ลำดับจากล่างขึ้นไปหาค่า
บนสุด ผลลัพธ์ที่ได้จะเท่ากับค่าในเลขฐานสอง 
ตัวอย่าง 2610 มีค่าเท่ากับเท่าไรในระบบเลขฐานสอง 
วิธีทำ 2 หาร 26 เท่ากับ 13 เศษ 0 
2 หาร 13 เท่ากับ 6 เศษ  1 
2 หาร 6 เท่ากับ 3 เศษ 0 
2 หาร 3 เท่ากับ 1 เศษ 1 
2 หาร 1 ไม่ได้   เศษ 1 
ดังแสดงตามวิธีหารสั้น 
เมื่อหารไม่ได้ ให้นำค่าเศษมาเรียงต่อกัน โดยเรียงจากค่าล่างสุด ไปหาค่าบนสุด เพราะฉะนั้นจะได้ค่าเท่ากับ 11010
ดังนั้น 26 (ในฐานสิบ) จึงมีค่าเท่ากับ 11010 2
ที่มาของข้อมูลhttps://www.snw.ac.th/courseware/www.nectec.or.th/courseware/computer/number-system/0006.html 
คำถามในห้องเรียน
1. จำนวนผู้ที่มาใช้พื้นที่สนามหลวงมีจำนวนมากน้อยเพียงใด  ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง ให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย
2. ข้อห้ามของการใช้พื้นที่สนามหลวง กทม.มีการประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบใด แล้วนักเรียนคิดว่าชาว กทม.และจังหวัดใกล้เคียง รับทราบข้อมูลนี้ได้จากสื่อใดมากที่สุด เพราะเหตุใด

ข้อเสนอแนะ
'สนามหลวง' โฉมใหม่ ใช้งบประมาณ 180 ล้านบาท เมื่อใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลดังนั้น ประชากรใน กทม. หรือจังหวัดใกล้เคียง ควรช่วยกันดูแล รักษา ให้คงสภาพแบบนี้ตลอดไปเพื่อเป็นหน้าตาของ
ประเทศไทยด้วย

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน  ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข                     
มาตรฐาน  ส 2.2  เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน  ยึดมั่น  ศรัทธา  และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
สาระที่ 1  ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ  และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร  ความคิดรวบยอด  และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
ที่มาของภาพ https://www.snw.ac.th/courseware/www.nectec.or.th/courseware/computer/number-system/convert10to2.gif
ที่มาของภาพ https://www.snw.ac.th/courseware/www.nectec.or.th/courseware/computer/number-system/convertfac10to2.gif
ที่มาของภาพ https://www.muslimthai.com/main/images/muslimthai-news/2011/08/06/sanamluang02.jpg
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRaufv0APAztqaPJ9jKw-g8IBygaGuEsaWcHVrrHInNIz3AnoyO
ที่มาของภาพ https://www4.csc.ku.ac.th/~b5240201897/images/pic1018.gif

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4266

อัพเดทล่าสุด