ทึ่ง ประเทศไทยเสี่ยงติดอันดับหนึ่ง ก่อการร้ายในอาเซียน


631 ผู้ชม


ไทยรั้งที่ 1 ประเทศเสี่ยงก่อการร้ายมากสุดในอาเซียน   

หลังจากที่มีการชุมนุมทางการเมือง ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างความเสียหายให้กับประเทศทั้งนั้น เพราะเนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมของทั้ง 2 ฝ่าย ทำให้คนทั่วโลกต่างพากันมองว่าประเทศไทยนั่นติด 1 ในประเทศที่มีความเสี่ยงในก่อการร้ายมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน วันนี้ Horoworld นำเรื่องนี้มาให้เพื่อนๆได้ลองอ่านว่าเพราะอะไร ไทยถึงถูกจัดให้เป็นที่ 1 ในการเสี่ยงที่ถูกก่อร้ายมากที่สุด

     เมเปิลครอฟต์ บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงที่มีสำนักงานในอังกฤษ  เปิดเผยผลการจัดอันดับประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการก่อการร้าย (ดัชนีความเสี่ยงก่อการร้าย) ประจำปี 2554 ระบุว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงเป็นอันดับ 12 ของโลกและอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะถูกโจมตีจากภัยก่อการร้าย และฟิลิปปินส์เป็นอีกชาติในกลุ่มอาเซียนที่ติดอยู่ใน อันดับ 13 ของโลกรองจากไทย

      ขณะที่ประเทศในโลกตะวันตกที่ถูกระบุว่า มีความเสี่ยงต่อภัยก่อการร้ายมากที่สุดในปีนี้ คือ กรีซ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 27 ของโลก ตามมาด้วยสหราชอาณาจักรในอันดับที่ 38, และสหรัฐอเมริกาในอันดับที่ 61  ขณะที่นอร์เวย์ซึ่งเพิ่งเกิดเหตุระเบิดในกรุงออสโลและการยิงสังหารหมู่บน เกาะอูโทย่าที่มีผู้เสียชีวิตรวม 76 ศพเมื่อเดือนที่แล้ว ถูกจัดอยู่อันดับที่ 112 เป็นเพราะการจัดอันดับครั้งนี้จะรวบรวมข้อมูลนาน 12 เดือนตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้วจนถึงสิ้นเดือนมีนาคมปีนี้ 
      การจัดอันดับของเมเปิลครอฟต์เป็นการวัดจากจำนวนครั้งของความถี่และ ระดับความรุนแรงของการก่อการร้าย รวมถึงแนวโน้มจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ โดยประเมินจากข้อมูลในอดีตเพื่อประเมินแนวโน้มอนาคต และโซมาเลีย ดินแดนแห่งสงคราม ในทวีปแอฟริกา เป็นประเทศที่เสี่ยงถูกโจมตีจากกลุ่มก่อการร้ายมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก ตามด้วยปากีสถาน อิรัก อัฟกานิสถาน ซูดานใต้ เยเมน ปาเลสไตน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และโคลัมเบีย

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก  หนังสือพิมพ์มติชน

เนื้อหาสอดคล้องกับการเรียนคณิตศาสตร์

  สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
   มาตรฐาน ค 5.2   ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้             
                                  อย่างสมเหตุสมผล

 เนื้อหาเรื่องความน่าจะเป็น

          ความน่าจะเป็น (Probability)

1. ความน่าจะเป็น คือ จำนวนที่แสดงให้ทราบว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง มี 
โอกาสเกิดขึ้นมากหรือน้อยเพียงใด   สิ่งที่จำเป็นต้องทราบและทำความเข้าใจคือ  1.  แซมเปิลสเปซ (Sample Space ) 
  2.  แซมเปิลพ้อยท์ (Sample Point)
  3. เหตุการณ์ (event)
  4. การทดลองสุ่ม (Random Experiment)
2. แซมเปิลสเปซ (Sample Space ) เป็นเซตที่มีสมาชิกประกอบด้วยสิ่งที่ต้องการ ทั้งหมด จากการทดลองอย่างใดอย่างหนึ่ง บางครั้งเรียกว่า Universal Set 
เขียนแทนด้วย S   เช่น ในการโยนลูกเต๋าถ้าต้องการดูว่าหน้าอะไรจะขึ้นมาจะได้  S =  1, 2, 3, 4, 5, 6 
3. แซมเปิลพ้อยท์ (Sample Point)   คือ สมาชิกของแซมเปิลสเปซ (Sample Space )   เช่น S = H , T   ค่า Sample Point  คือ  H  หรือ  T
4. เหตุการณ์ (event)  คือ เซตที่เป็นสับเซตของ Sample Space  หรือเหตุการณ์ที่เราสนใจ จากการทดลองสุ่ม
5. การทดลองสุ่ม (Random Experiment)  คือ การกระทำที่เราทราบว่าผลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง  แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่าจะเกิดผลอะไรจากผลทั้งหมดที่เป็นไปได้เหล่านั้น
6. ความน่าจะเป็น   =           จำนวนผลของเหตุการณ์ที่สนใจ
จำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม
     P(E) =    n(E)
                     n(S)

 ข้อควรจำ  
1. เหตุการณ์ที่แน่นอน คือ เหตุการณ์ที่มีความน่าจะเป็น = 1 เสมอ
2. เหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ คือ เหตุการณ์ที่มีความน่าจะเป็น = 0
3. ความน่าจะเป็นใด ๆ จะมีค่าไม่ต่ำกว่า 0 และ ไม่เกิน 1 เสมอ
4. ในการทดลองหนึ่งสามารถทำให้เกิดผลที่ต้องการอย่างมีโอกาสเท่ากันและมีโอกาสเกิดได้ N สิ่ง และเหตุการณ์ A มีจำนวนสมาชิกเป็น n  ดังนั้นความน่าจะเป็นของ A คือ  P(A) =   n
                                                                                                         N
7. คุณสมบัติของความน่าจะเป็น
ให้ A เป็นเหตุการณ์ใด ๆ  และ S เป็นแซมเปิลสเปซ  โดยที่  A เป็นสับเซตของ  S
1. 0  P(A)  1
2. ถ้า A = 0  แล้ว P(A) = 0
3. ถ้า A = S  แล้ว P(A) = 1
4. P(A) = 1 - P(A/)     เมื่อ A/ คือ นอกจาก A

8. คุณสมบัติของความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์
ให้   A   และ  B  เป็นเหตุการณ์  2   เหตุการณ์
1. P(AB)  =  P(A) + P(B) - P(AB)
2. P(AB)  =  P(A) + P(B)   เมื่อ AB = 0
ในกรณีนี้เรียก A และ B ว่า เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เกิดร่วมกัน 
(Mutually exclusive  events)

ตัวอย่าง    ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย  โอกาสที่นายชิงชัยจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เท่ากับ  0.7  โอกาสที่นายขยันดีสอบเข้ามหาวิทยาลันได้  เท่ากับ  0.6  โอกาสที่อย่างน้อย 1 คนใน 2 คนนี้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ เท่ากับ 0.8  จงหาความน่าจะเป็นที่คนทั้งสองเข้ามหาวิทยาลัยได้ทั้งคู่
 วิธีทำ ให้ A เป็นเหตุการณ์ที่นายชิงชัยสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้
      B  เป็นเหตุการณ์ที่นายขยันดีสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้
  สิ่งที่โจทย์กำหนดให้คือ  P(A) = 0.7 ,  P(B) = 0.6  และ 
P(AB) = 0.8
 หมายเหตุ   คำว่าอย่างน้อย 1 คนใน 2 คน คือ เหตุการณ์ AB นั่นเอง

  P(AB)  =  P(A) + P(B) - P(A B)
    0.8 = 0.7 + 0.6 - P(A B)
    P(A B)  =  1.3 - 0.8  =  0.5

คำถาม

1.จงเขียนเหตุการณ์ของ 10 ประเทศในทวีปแอฟริกาที่เป็นประเทศเสี่ยงต่อการถูกก่อการร้ายมากที่สุด

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4318

อัพเดทล่าสุด