สอบ GAT-PAT สทศ. ไม่ชนรับตรง


1,219 ผู้ชม


สทศ.จะนำตารางสอบและวันรับสมัครทั้งหมดประกาศขึ้นเว็บไซต์ของ สทศ. www.niets.or.th ในวันที่ 30 ก.ย.   

สอบ GAT-PAT สทศ. ไม่ชนรับตรง
สทศ.จะนำตารางสอบและวันรับสมัครทั้งหมดประกาศขึ้นเว็บไซต์ของ สทศ. www.niets.or.th ในวันที่ 30 ก.ย.

 

การทดสอบวัดความถนัดทั่วไป (GAT) และทดสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) เป็นวันที่ 5-6 พ.ย. และ 12-13 พ.ย.2554 
ตารางสอบ GAT-PAT มีดังนี้สอบ GAT-PAT สทศ. ไม่ชนรับตรง 
วันเสาร์ที่ 19 พ.ย. 
08.30-11.30 น. สอบ GAT 
13.00-16.00 น. วิชาความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT1)
วันอาทิตย์ที่ 20 พ.ย
08.30-11.30 น. วิชาความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT2) 
13.00-16.00 น. วิชาความถนัดทางวิชาชีพครู (PAT5)
วันเสาร์ที่ 26 พ.ย. 
08.30-11.30 น. วิชาความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ (PAT3) 
13.00-16.00 น. วิชาความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ (PAT4)
วันอาทิตย์ที่ 27 พ.ย. 
08.30-11.30 น. วิชาความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ (PAT6) 
13.00-16.00 น. วิชาความถนัดทางภาษา (PAT7) 
ประกาศผลสอบวันที่ 23 ธ.ค.2554
   นายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า หลังจากที่ สทศ.ได้หารือร่วมกับศูนย์สอบทั้ง 19 แห่งของ สทศ. และศูนย์สอบ 18 แห่งของมหาวิทยาลัย  ศูนย์และสนามสอบ พร้อมพิมพ์บัตรแสดงข้อมูลเลขที่นั่งสอบและสถานที่สอบ และวันที่ 10 เม.ย.2555 ประกาศผลสอบ 
ที่มาของข้อมูล https://www.thaipost.net/news/300911/45803
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data) 
สอบ GAT-PAT สทศ. ไม่ชนรับตรง          เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูล เราอาจดำเนินการเก็บรวบรวมด้วยตนเองหรืออาจนำเอาข้อมูลจากแหล่งที่มีผู้รวบรวมไว้แล้วมาใช้ก็ได้ ที่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมเองอาจเป็นเพราะข้อมูลที่เราต้องการใช้

ไม่สามารถหาได้เลยไม่ว่าจากแหล่งใด หรือข้อมูลดังกล่าวพอหาได้แต่ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อถือได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจว่าจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองหรือไม่  คือเวลาและค่าใช้

จ่ายในการดำเนินงาน  โดยทั่วไปการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้มักจะต้องใช้คนดำเนินงานเป็นจำนวนมากด้วย ดังนั้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่

สำคัญๆ และมีขอบเขตกว้างขวาง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร การเกษตร อุตสาหกรรม คมนาคม เป็นต้น  หน่วยงานของรัฐบาลจึงเป็นผู้เก็บรวบรวมและพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว

การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data)
          ผู้ที่มีความจำเป็นต้องการใช้ข้อมูลอาจดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง หรือเลือกใช้ข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้วก็ได้ เอกชนหรือองค์การของรัฐบาลซึ่งเป็นผู้เก็บรวบข้อมูล เมื่อพิมพ์ข้อมูลเหล่านั้นขึ้นเพื่อเอาไว้ใช้เอง หรือเพื่อเผยแพร่ก็ตาม จะได้รับการอ้างอิงว่าเป็นแหล่งปฐมภูมิ (Primary source) แต่ถ้าเอกชนหรือหน่วยงานใดจัดพิมพ์เอกสารโดยมีข้อมูลซึ่งได้นำมาจากเอกสารอื่นที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว เอกสารที่จัดพิมพ์นั้นได้ชื่อว่าเป็นแหล่งทุติยภูมิ (Secondary source) ของข้อมูลดังกล่าว ตัวอย่างเช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประชากรและเคหะในปีพ.ศ. 2523 และได้พิมพ์รายงานมีชื่อว่ารายงานสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2523 เช่นนี้ รายงานดังกล่าวได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปฐมภูมิ  ในเวลาต่อมาธนาคารแห่งหนึ่งได้นำข้อมูลแสดงจำนวนประชากรเป็นรายภาคจากรายงานสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2523 ไปพิมพ์ลงในวารสารรายเดือนของธนาคาร เช่นนี้ วารสารของธนาคารได้ชื่อว่าเป็นแหล่งทุติยภูมิของข้อมูลที่นำลงพิมพ์นั้น
         อย่างไรก็ตาม แหล่งปฐมภูมิมักแสดงรายละเอียดของข้อมูลไว้มากกว่าเพราะเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมาเอง ย่อมจะแสดงไว้ทั้งหมดทุกประเภทที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ส่วนแหล่งทุติยภูมิมักจะแสดงรายละเอียด
ไว้น้อยกว่า เพราะเลือกเอาแต่ข้อมูลชนิดที่เกี่ยวข้องกับงาน หรือที่สนใจเท่านั้นไปพิมพ์ไว้
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
        สอบ GAT-PAT สทศ. ไม่ชนรับตรง  ในการดำเนินงานเก็บรวบรวมข้อมูล อาจแบ่งได้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ โดยการสังเกตและโดยการสอบถาม
          1. การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้เรียกว่าเป็นการดำเนินงานข้างเดียว เช่น การนับจำนวนผู้โดยสารรถประจำทางในช่วงเวลาหนึ่งตามสถานที่ต่างๆ ของกรุงเทพมหา
นคร การนับจำนวนรถที่ผ่านด่านตรวจรถในช่วงเวลาต่างๆ เป็นต้น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อทราบข้อมูลบางอย่างก็ถือว่าเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต เช่น นักวิทยาศาสตร์คิดค้นหลอดไฟฟ้าชนิดใหม่แล้วนำหลอดไฟฟ้าเหล่านี้จำนวนหนึ่ง มาทดลองเปิดให้กระแสไฟฟ้าผ่านเพื่อทราบว่าจะให้แสงสว่างนานเท่าไร อายุการใช้งานของแต่ละหลอดไฟฟ้า คือข้อมูลที่เก็บรวบรวม
          2. การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้อาจแบ่งได้เป็น 3 ข้อย่อยด้วยกัน คือ
          2.1 โดยการสัมภาษณ์เป็นส่วนตัว วิธีนี้ได้แก่การซักถามโต้ตอบสนทนากัน จะเป็นโดยการพูดจาเห็นหน้ากัน หรือพูดจากันทางโทรศัพท์ก็ได้ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เป็นส่วนตัวนี้ เป็นวิธีที่
ใช้กับการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญๆ โดยทั่วไป เช่น การทำสำมะโนประชากรและเคหะ การทำสำมะโนการเกษตร การสำรวจแรงงาน การสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร เป็นต้น ทั้งนี้เพราะผู้สัมภาษณ์ย่อมมีโอกาสอธิบายข้อถามให้ผู้ตอบสัมภาษณ์ได้เข้าใจแจ่มแจ้งและมีโอกาสซักถามเมื่อผู้ตอบตอบข้อความคลุมเครือ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้มีส่วนช่วยให้การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ข้อจริงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยลดข้อเท็จที่เกิดขึ้นจากการเข้าใจข้อถามผิด หรือเกิดขึ้นโดยมิได้เจตนาลงได้มาก
          2.2 โดยการส่งแบบข้อถามทางไปรษณีย์ วิธีนี้แม้จะมีข้อดีในแง่ที่เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานน้อย แต่ก็มีข้อเสียอยู่มากในด้านที่ผู้ตอบอาจเข้าใจคำถามไม่ถูกต้อง แล้วบันทึกข้อมูลที่ผิดวัตถุประสงค์
ของข้อถามนั้น อนึ่งผู้ตอบบางคนก็ไม่สนใจกับข้อถาม ดังนั้นจึงปรากฏอยู่เสมอว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้มักได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาไม่ครบถ้วนเป็นจำนวนมาก และแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืน บางรายการก็ไม่ได้รับการบันทึก นอกจากนั้นข้อเสียของวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่สามารถใช้ได้กับชนทุกชั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่อ่านเขียนไม่ได้  ดังนั้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการส่งแบบข้อถามทางไปรษณีย์ จึงมีที่ใช้ค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ด้อยหรือกำลังพัฒนา ซึ่งประชากรของประเทศที่ยังอ่านเขียนไม่ได้มีอยู่เป็นจำนวนมาก
         2.3 โดยการลงทะเบียน วิธีนี้โดยมากประชาชนเป็นผู้ให้ข้อมูลตามกฎหมายโดยการบันทึกข้อมูลลงในทะเบียน  เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ได้จากหลักฐานการจดทะเบียนที่กองทะเบียนกรมตำรวจ ข้อมูล
เกี่ยวกับการเกิด การตาย การสมรส การหย่าร้าง ได้จากสำนักงานทะเบียนส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data)
         สอบ GAT-PAT สทศ. ไม่ชนรับตรง เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว ระเบียบวิธีสถิติขั้นต่อไปก็คือการนำเสนอข้อมูล การนำเสนอที่ดีมิได้หมายความว่าเป็นการเสร็จสิ้นของการดำเนินงานทางสถิติ แต่การนำเสนอที่ดีจะช่วยปูพื้นฐานในการ
วิเคราะห์ข้อมูล เพราะข้อความจริงต่างๆ ตลอดจนการเปรียบเทียบข้อมูลจะได้รับการนำเสนอให้แลเห็นเด่นชัด ความเข้าใจของผู้ใช้สถิติในเรื่องการนำเสนอข้อมูล จะช่วยให้สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างฉลาดและถูกต้อง
         ในการนำเสนอข้อมูลอาจทำได้ทั้งอย่างไม่มีแบบแผนและอย่างมีแบบแผน การนำเสนออย่างไม่มีแบบแผน หมายถึงการนำเสนอที่ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรที่จะต้องถือเป็นหลักมากนัก  การนำเสนอแบบนี้ได้แก่
การแทรกข้อมูลลงในบทความและข้อเขียนต่างๆ ส่วนการนำเสนออย่างมีแบบแผนนั้น เป็นการนำเสนอที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน ตัวอย่างการนำเสนอแบบนี้ได้แก่ การนำเสนอในรูปตาราง รูปกราฟ และรูปแผนภูมิ เป็นต้น
         1. การนำเสนอในรูปตาราง (Tabular presentation) ข้อมูลต่างๆ ที่เก็บรวบรวมมาได้เมื่อทำการประมวลผลแล้วจะอยู่ในรูปตาราง ส่วนการนำเสนออย่างอื่นเป็นการนำเสนอโดยใช้ข้อมูลจากตาราง
         2. การนำเสนอด้วยกราฟเส้น (Line graph) เป็นแบบที่รู้จักกันดีและใช้กันมากที่สุดแบบหนึ่ง เหมาะสำหรับข้อมูลที่อยู่ในรูปของอนุกรมเวลา เช่น ราคาข้าวเปลือกในเดือนต่างๆ ปริมาณสินค้าส่งออกรายปี 
เป็นต้น
         3. การนำเสนอด้วยแผนภูมิแท่ง (Bar chart) ประกอบด้วยรูปแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งแต่ละแท่งมีความหนาเท่าๆ  กัน โดยจะวางตามแนวตั้งหรือแนวนอนของแกนพิกัดฉากก็ได้
        4. การนำเสนอด้วยรูปแผนภูมิวงกลม  (Pie chart) เป็นการแบ่งวงกลมออกเป็นส่วนต่างๆ ตามจำนวนชนิดของข้อมูลที่จะนำเสนอ
ที่มาของข้อมูล https://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?select=1&q=%A1%D2%C3%B9%D3%E0%CA%B9%CD%A2%E9%CD%C1%D9%C5+(Presentation+of+Data)
การนำเสนอข้อมูลสถิติ
การนำเสนอข้อมูลสถิติแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
1) การนำเสนอข้อมูลสถิติโดยปราศจากแบบแผน (Informal Presentation) 
     1.1 การนำเสนอข้อมูลสถิติเป็นบทความ  
     1.2 การนำเสนอข้อมูลสถิติเป็นบทความกึ่งตาราง
2) การนำเสนอข้อมูลสถิติโดยมีแบบแผน (Formal Presentation)  
       2.1  การเสนอข้อมูลสถิติด้วยตาราง  
       2.2 การเสนอข้อมูลสถิติด้วยกราฟและรูป 
 1.2.1 การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยตาราง (Tabular Presentation)         
 1.2.2  การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยกราฟและรูป (Graphic Presentation)

เทคนิคการนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยกราฟและรูป
สอบ GAT-PAT สทศ. ไม่ชนรับตรง1. เมื่อต้องการเสนอข้อมูลสถิติโดยข้อมูลที่จะนำเสนอนั้นมีเพียงชุดเดียว  
        1.1  แผนภูมิแท่งเชิงเดียว (Simple Bar Chart)
        1.2  ฮิสโตแกรม (Histogram)  
2.  เมื่อต้องการนำเสนอข้อมูลสถิติในเชิงเปรียบเทียบ  เมื่อต้องการนำเสนอในเชิงเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป  ควรนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟ
        2.1แผนภูมิแท่งเชิงซ้อน (Multiple Bar Chart) ข้อมูลสถิติที่จะนำเสนอด้วยแผนภูมิแท่งต้องเป็นข้อมูลประเภทเดียวกันหน่วยของตัวเลขเป็นหน่วยเดียวกันและควรใช้เปรียบเทียบข้อมูลเพียง 2 ชุดเท่านั้น  
ซึ่งอาจเป็นแผนภูมิในแนวตั้งหรือแนวนอน ก็ได้สิ่งที่สำคัญต้องมีกุญแจ (Key) อธิบายว่าแท่งใดหมายถึงข้อมูลชุดใดไว้ที่กรอบล่างของกราฟ 
        2.2  แผนภูมิเส้นหลายเส้น (Multiple Line Chart)  ถ้าต้องการเปรียบเทียบข้อมูลสถิติหลายประเภทพร้อมๆกันควรจะนำเสนอด้วยแผนภูมิเส้นซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูลที่มีหน่วยเหมือนกันหรือมีหน่วยต่างกัน
3.เมื่อต้องการนำเสนอข้อมูลสถิติในเชิงส่วนประกอบ การนำเสนอข้อมูลในเชิงส่วนประกอบมีวิธีเสนอได้ 2 แบบ คือ  
         3.1 แผนภูมิวงกลม (Pie Chart)
         3.2 แผนภูมิแท่งเชิงประกอบ(Component Bar Chart) 
แผนภูมิแท่งเชิง ประกอบเหมาะจะนำไปใช้เสนอข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ วิธีทำคือเมื่อคิดองค์ประกอบต่างๆเป็นร้อยละของทั้งหมดแล้วจะให้ความสูงของ แผนภูมิแท่ง แทนองค์ประกอบทั้งหมดความสูงขององค์
ประกอบแต่ละส่วนเป็นไปตามสัดส่วนขององค์ ประกอบนั้นๆจะเรียงลำดับองค์ประกอบที่มีความสำคัญมากให้อยู่ข้างล่าง  
4.การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยแผนภูมิภาพ (Pictograph) การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยวิธีนี้จึงเป็นการเสนอสถิติที่เข้าใจง่ายที่สุด    
5.การเสนอข้อมูลสถิติด้วยแผนที่สถิติ  เป็นการนำ เสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิศาสตร์หรือสถานที่ เช่นสถิติเกี่ยวกับความหนาแน่นของประชากรตามภูมิภาคต่างๆ  สถิติจำนวนผู้ป่วยเป็นไข้ทรพิษที่ระบาด
ในประเทศบังกลาเทศ เป็นต้น
ที่มาของข้อมูล https://www.siam1.net/article-8830.html

คำถามในห้องเรียน

การสอบ GAT-PAT สทศ. ไม่ชนรับตรง และการสอบ การสอบ PAT1 PAT2 PAT5 PAT3 PAT4 PAT6 PAT7 ในวันและเวลาที่ สทศ. กำหนดนักเรียนคิดว่านำเสนอบน www.niets.or.th ช่องทางเดียวเพียง
พอกับความต้องการของนักเรียนหรือไม่เพราะเหตุใด

ข้อเสนอแนะ
สอบ GAT-PAT สทศ.ไม่ชนรับตรง ทำได้ดีมากนักเรียนจะได้มีกำลังใจในการเตรียมสอบมากขึ้น
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1  การดำรงชีวิตและครอบครัว 
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน   และทักษะการแสวงหาความรู้    มีคุณธรรม    และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
สาระที่ 4  การอาชีพ 
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่  4 การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ

ที่มาของภาพ https://learners.in.th/file/lun_sabaydoor/3g1.jpg
ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQhXZ0Tq36Lobn4POmAuAgZUUKjsYMtWeY7R5MJI-25eFU74aHSeLKsFhar
ที่มาของภาพ https://www.studychannels.com/wp-content/uploads/2011/07/2-300X1.jpg
ที่มาของภาพ https://uexpo.eduzones.com/home/wp-content/uploads/2011/03/2481.jpg
ที่มาของภาพ https://www.news.kku.ac.th/kkunews/images/stories/manager/edpr/sp2.jpg
ที่มาของภาพ https://images.thaibbclub.com/images/00188962564202440209.jpg
ที่มาของภาพ https://kunnatee.athittaya.com/wp-content/uploads/2011/07/21075401.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4393

อัพเดทล่าสุด