เงินเดือนข้าราชการจบปริญญาตรี บรรจุใหม่อยู่ที่ 15,000 บาท เริ่มวันที่ 1 ม.ค. 2555
คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 20 ก.ย.2554 มีมติให้เงินเดือนข้าราชการจบปริญญาตรีบรรจุใหม่อยู่ที่ 15,000 บาท เริ่มวันที่ 1 ม.ค.2555 พร้อมสั่งให้ศึกษาการปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
ล่าสุดคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และกรมบัญชีกลาง มีข้อสรุปร่วมกันว่าจะเสนอให้ ครม.ดำเนินการช่วง 2 ปี เริ่มปรับขึ้นปีแรกในวันที่ 1 ม.ค.2555 และปรับขึ้นในปีที่ 2 ในปีงบประมาณ 2556 ในวันที่ 1 ต.ค.2556
ข้าราชการที่จบ ปวช. เงินเดือน
อายุงาน 1 ปี ต่ำสุด 6,410 บาท สูงสุด 8,300 บาท
อายุงาน 1-3 ปี ขึ้นปีแรก 1,210 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 1,380 บาท แต่ต้องไม่เกิน 10,690 บาท
อายุงาน 3-4 ปี ขึ้นปีแรก 1,000 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 1,000 บาท แต่ต้องไม่เกิน 12,710 บาท
อายุงาน 5-6 ปี ขึ้นปีแรก 800 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 700 บาท แต่ต้องไม่เกิน 13,710 บาท
อายุงาน 7-8 ปี ขึ้นปีแรก 600 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 400 บาท แต่ต้องไม่เกิน 15,310 บาท
อายุงาน 9-10 ปี ขึ้นปีแรก 400 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 100 บาท แต่ต้องไม่เกิน 17,110 บาท
อายุงาน 10 ปีต่ำสุด 14,010 บาท สูงสุด 15,700 บาท
กลุ่ม ปวส. เงินเดือน
อายุงาน 1 ปี ต่ำสุด 7,670 บาท สูงสุด 9,500 บาท
อายุงาน 1-2 ปี ขึ้นปีแรก 1,290 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 1,540 บาท แต่ต้องไม่เกิน 12,010 บาท
อายุงาน 3-4 ปี ขึ้นปีแรก 1,000 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 1,200 บาท แต่ต้องไม่เกิน 13,510 บาท
อายุงาน 5-6 ปี ขึ้นปีแรก 800 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 900 บาท แต่ต้องไม่เกิน 15,010 บาท
อายุงาน 7 ปี ขึ้นปีแรก 600 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 600 บาท แต่ต้องไม่เกิน 16,510 บาท
อายุงาน 8 ปี ขึ้นปีแรก 400 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 300 บาท แต่ต้องไม่เกิน 18,110 บาท
อายุงาน 9-10 ปี ขึ้นปีแรก 200 บาท ปีที่ 2 ปรับขึ้น 100 บาท แต่ต้องไม่เกิน 19,810 บาท
อายุงาน 10 ปีต่ำสุด 16,710 บาท สูงสุด 18,100 บาท
กลุ่ม ปริญญาตรี เงินเดือน
อายุงาน 1 ปีต่ำสุด 9,140 บาท สูงสุด 10,900 บาท
อายุงาน 1 ปี ขึ้นปีแรก 2,540 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 3,320 บาท แต่ต้องไม่เกิน 16,310 บาท
อายุงาน 2-3 ปี ขึ้นปีแรก 2,100 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 2,800 บาท แต่ต้องไม่เกิน 17,610 บาท
อายุงาน 4 ปี ขึ้นปีแรก 1,700 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 2,300 บาท แต่ต้องไม่เกิน 18,910 บาท
อายุงาน 5-6 ปี ขึ้นปีแรก 1,300 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 1,800 บาท แต่ต้องไม่เกิน 20,210 บาท
อายุงาน 7-8 ปี ขึ้นปีแรก 900 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 1,300 บาท แต่ต้องไม่เกิน 21,510 บาท
อายุงาน 9 ปี ขึ้นปีแรก 500 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 800 บาท แต่ต้องไม่เกิน 22,810 บาท
อายุงาน 10 ปี ขึ้นปีแรก 100 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 300 บาท แต่ต้องไม่เกิน 23,810 บาท
อายุงาน 10 ปีต่ำสุด 19,910 บาท สูงสุด 21,100 บาท
กลุ่ม ปริญญาโท เงินเดือน
อายุงาน 1 ปี ต่ำสุด 12,600 บาท สูงสุด 14,100 บาท
อายุงาน 1 ปี ขึ้นปีแรก 2,700 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 2,300 บาท แต่ต้องไม่เกิน 18,710 บาท
อายุงาน 2 ปี ขึ้นปีแรก 1,800 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 2,000 บาท แต่ต้องไม่เกิน 19,910 บาท
อายุงาน 3-4 ปี ขึ้นปีแรก 1,500 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 1,700 บาท แต่ต้องไม่เกิน 21,110 บาท
อายุงาน 5 ปี ขึ้นปีแรก 1,200 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 1,400 บาท แต่ต้องไม่เกิน 22,310 บาท
อายุงาน 6 ปี ขึ้นปีแรก 900 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 1,100 บาท แต่ต้องไม่เกิน 23,610 บาท
อายุงาน 7 ปี ขึ้นปีแรก 600 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 900 บาท แต่ต้องไม่เกิน 24,810 บาท
อายุงาน 8 ปี ขึ้นปีแรก 300 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 600 บาท แต่ต้องไม่เกิน 26,010 บาท
อายุงาน 9-10 ปี ขึ้นปีแรก 100 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 300 บาท แต่ต้องไม่เกิน 26,610 บาท
อายุงาน 10 ปีต่ำสุด 23,110 บาท สูงสุด 24,300 บาท
กลุ่ม ปริญญาเอก เงินเดือน
อายุงาน 1 ปี ต่ำสุด 17,010 บาท สุงสุด 20,700 บาท
อายุงาน 1-2 ปี ขึ้นปีแรก 1,690 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 1,800 บาท แต่ต้องไม่เกิน 24,810 บาท
อายุงาน 3-5 ปี ขึ้นปีแรก 1,200 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 1,200 บาท แต่ต้อง ไม่เกิน 29,110 บาท
อายุงาน 6-8 ปี ขึ้นปีแรก 800 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 600 บาท แต่ต้องไม่เกิน 33,210 บาท
อายุงาน 9-10 ปี ขึ้น ปีแรก 400 บาท ปีที่ 2 ขึ้น 600 บาท แต่ต้องไม่เกิน 33,210 บาท
อายุงาน 10 ปีต่ำสุด 28,110 บาท สูงสุด 31,600 บาท
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREV4TVRBMU5BPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHhNQzB4TVE9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง พิสัย (Range)
พิสัย คือ ค่าความแตกต่างระหว่างคะแนนสูงสุดกับคะแนนต่ำสุดในข้อมูลชุดหนึ่งๆ ซึ่งใช้วัดการกระจายของข้อมูลได้ไม่ละเอียด อาจจะทำให้เข้าใจลักษณะของข้อมูลคลาดเคลื่อนไปเพราะพิสัยจะใช้เฉพาะคะแนนสูงสุดเท่านั้น
พิสัย = ค่าสูงสุด – ค่าต่ำสุด
ตัวอย่าง จงหาพิสัยของข้อมูลต่อไปนี้ 5, 8, 9, 11, 13, 14, 18, 19, 20
1. ข้อมูล 5, 8, 9, 11, 13, 14, 18, 19, 20
พิสัย = 20 – 5
= 15
ค่าพิสัย คือ 15 แสดงว่าข้อมูลชุดนี้มีการกระจาย
2. ข้อมูล 10, 10, 10,10, 10, 10, 10,10
พิสัย = 10 – 10
= 0
ค่าพิสัย คือ 0 แสดงได้ว่าข้อมูลชุดนี้ไม่มีการกระจาย (ข้อมูลเท่ากันหมด)
3. ข้อมูล 2, 4, 8, 16, 32, 64, 128
พิสัย = 128 – 2 = 126
ค่าพิสัย คือ 126 แสดงว่าข้อมูลนี้มีการกระจายมาก
ตัวอย่าง จงหาพิสัยของข้อมูลต่อไปนี้
1. ข้อมูล 30, 52, 53, 54, 55, 56, 57, 58, 59, 60
ค่าพิสัย = 60 –30 = 30
ค่าพิสัย คือ 30
2. ข้อมูล 51, 52, 53, 54, 55, 56, 57, 58, 59, 60
ค่าพิสัย = 60 –51 = 9
ค่าพิสัย คือ 9
สังเกตที่ข้อมูลทั้ง 2 ชุด มีลักษณะคล้ายคลึงกันจะแตกต่างกันที่ข้อมูลตัวแรกเท่านั้นแต่ว่าค่าพิสัยจะมีความแตกต่างกันมาก ซึ่งค่าพิสัยนี้ไม่สามารถที่จะอธิบายลักษณะของข้อมูลได้อย่างชัดเจน
ข้อสังเกต
1. ค่าพิสัยที่ได้เป็น 0 แสดงว่าข้อมูลไม่มีการกระจาย (ค่าเท่ากันหมด)
2. ถ้าคำนวณได้ค่าพิสัยน้อย แสดงว่าข้อมูลมีการกระจายน้อย
3. ถ้าคำนวณได้ค่าพิสัยมาก แสดงว่าข้อมูลมีการกระจายมาก
4. ข้อมูลที่คล้ายคลึงกันอาจมีค่าพิสัยแตกต่างกันมากก็ได้ เพราะคำนวณจากตัวเลขเพียง 2 ค่า โดยเฉพาะถ้ามีข้อมูลมาก หรือ ค่าของข้อมูลค่าใดค่าหนึ่งมากหรือน้อยมากกว่าค่าของข้อมูลทั้งกลุ่มมาก
5. ค่าพิสัยเหมาะสำหรับใช้วัดการกระจายของข้อมูลที่มีจำนวนน้อย
6. ใช้เปรียบเทียบการกระจายของข้อมูลหลายๆ ชุด อย่างคร่าวๆ
ที่มาของข้อมูล https://reg.ksu.ac.th/Teacher/kanlaya/3.6.html
พิสัย (Range : R)
พิสัย หมายถึง การหาการกระจายของข้อมูลโดยนำข้อมูลที่มีค่าสูงที่สุด ลบกับข้อมูลที่มีค่าต่ำที่สุด เพื่อให้ได้ค่าที่เป็นช่วงของการกระจาย ซึ่งสามารถบอกถึงความกว้างของข้อมูลชุดนั้นๆ สำหรับสูตรที่ใช้ในการ
หาพิสัยคือ พิสัย (R) = Xmax – Xmin
ตัวอย่าง จงหาพิสัยจากข้อมูลชุดนี้ 25,19,32,29,19,21,22,31,19,20,15,22,23,20
วิธีทำ สูตร พิสัย (R) = Xmax – Xmin
= 32 – 15
= 17
ข้อมูลชุดนี้มีพิสัย(R) เท่ากับ 17
ที่มาของข้อมูล https://pibul2.psru.ac.th/~buncha/Chp1_6.htm
แบบทดสอบก่อนเรียน
คำชี้แจง ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดต่อไปนี้เป็นข้อมูลสถิติ
ก. สเต็ฟฟี่ กร๊าฟ เป็นนักเทนนิสมือหนึ่งของโลก ชาวเยอรมันตะวันตก
ข. สถิติการป้องกันตำแหน่งของเขาทรายกาแล็คซี่ชนะติดต่อกัน 15 ครั้ง
ค. ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลแห่งหนึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย และเป็นข้าราชการ 7 %
ง. นายโกมล มีอายุ 20 ปี สูง 172 เซนติเมตร น้ำหนัก 60 กิโลกรัม ยังโสด
2. กำหนดข้อมูลให้ดังนี้ 52,42,57,53,44,39,33,35 ควอร์ไทล์ที่ 1 มีค่าเท่าใด
ก. 35
ข. 36
ค. 42
ง. 45.75
3. ในงานก่อสร้างตึกใหญ่แห่งหนึ่งมีคนงานจำนวน 100 คน โดยเฉลี่ยแล้วได้ค่าจ้างคนละ 75 บาท ถ้าผลรวมของกำลังสองของค่าจ้างรายวันของคนงานแต่ละคนมีค่าเท่ากับ 575000 (บาท) ค่าความแปรปรวนของค่าจ้างรายวันของคนงานกลุ่มนี้เป็นเท่าไร
ก. 11.18 บาท
ข. 111.8 บาท
ค. 125 บาท
ง. 12,500 บาท
4. ข้อมูลชุดที่ 1 คือ 4,7,10,13,...,601
ข้อมูลชุดที่ 2 คือ9,13,17,21,...,1205
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวมมีค่าเท่าไร
ก. 385.2
ข. 485.2
ค. 585.2
ง. หาไม่ได้เพราะข้อมูลไม่เพียงพอ
5. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบวิชาตณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องหนึ่งเป็น 43 คะแนน ถ้าคิดค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบของนักเรียนชายและหญิงแยกจากกัน จะได้เป็น 45 และ 40 คะแนน ตามลำดับแล้ว อัตราส่วนระหว่งจำนวนนักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีค่าเท่าใด
ก. 3 : 2
ข. 2 : 3
ค. 2 : 5
ง. 3 : 5
6. ผลสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ม.5 จำนวน 2 ห้อง ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวม 70 ห้อง ก มีนักเรียน 30 คน ได้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบเท่ากับ 65 ถ้าห้อง ข มีนักเรียน 32 คน จะได้ค่าเฉลี่ยเลขตณิตของคะแนนสอบเท่าไร
ก 67.5
ข. 74.69
ค. 75.33
ง. 75
7. ในการสอบคราวหนึ่งนักเรียน 30 คน ได้คะแนนสอบรวมกัน 570 คะแนน ต่อมานาย ก ได้ลาออกพ้นสภาพการเป็นนักเรียน ซึ่งเมื่อคิดค่าเฉลี่ยคะแนนของนักเรียนเฉพาะที่เหลืออยู่พบว่ามีค่าลดลงไป 1 คะแนน จงหาว่านาย ก สอบได้กี่คะแนน
ก. 32
ข. 36
ค. 40
ง. 48
8. มัธยฐานของคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ คือ 70 คะแนน ภายหลังพบว่าได้กรอกคะแนนของนักเรียนผิดไปสองคน คือคนแรกกรอกมากไปกว่าความจริง 5 คะแนน คนที่สองกรอกน้อยกว่าความจริงไป 3 คะแนน ถ้าคะแนนจริงของนักเรียนทั้งสองเป็น 60 และ 89 คะแนน จงหามัธยฐานที่ถูกต้อง
ก. 68
ข. 73
ค 70
ง. ข้อมูลไม่เพียงพอ
9. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
ก. ค่าเฉลี่ยเลขคณิต หาได้เสมอจากตารางแจกแจงความถี่
ข. มัธยฐาน ค่าเฉลี่ยเลขคริตและฐานนิยม สามารถหาจากกราฟของข้อมูลได้เสมอา
ค. เราสามารถหามัธยฐานจากข้อมูลคนไข้ที่แยกตามโรคที่ป่วย
ง. ถ้าข้อมูลบางค่ามีค่าสูงกว่าข้อมูลอื่นมากๆจะมีผลกระทบต่อการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
10. ถ้าค่าใดค่าหนึ่งของข้อมูลชุดหนึ่งเปลี่ยนไป ค่ากลางใดจะเปลี่ยนแปลงตามด้วยอย่างแน่นอน
ก. ค่าเฉลี่ยเลขตณิต
ข. ค่ามัธยฐาน
ค. ค่าฐานนิยม
ง. ทั้งค่าเฉลี่ยเลขคณิตและมัธยฐาน
ที่มาของข้อมูล https://www.snr.ac.th/m5html/kontawan/work/Pre-test.htm
คำถามในห้องเรียน
ให้นักเรียนเรียงลำดับจากน้อยไปมากของหาพิสัยเงินเดือนข้าราชการจบ ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
ข้อเสนอแนะ
การปรับขึ้นปีแรกในวันที่ 1 ม.ค.2555 และปรับขึ้นในปีที่ 2 ในปีงบประมาณ 2556 ในวันที่ 1 ต.ค.2556 ถ้าทำได้ก็จะลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจ
หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
มาตรฐาน ส 3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ที่มาของภาพ https://www.promma.ac.th/group_director/wp-content/uploads/2011/04/p23406920009.jpg
ที่มาของภาพ https://i.ethailand.com/upload/news/large/11/01/Bbb_630.jpg
ที่มาของภาพ https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/633/491/large_aa10.jpg?1287415732
ที่มาของภาพ https://www.eschool.su.ac.th/school12/M4_2546/4-1/1_008/f2-1.jpg
ที่มาของภาพ https://www.isnhotnews.com/wp-content/uploads/2011/08/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1.%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4402