"ปากเกร็ด" มหานครไม่ยอม "จม"


885 ผู้ชม


ชาวบ้านเสียสละ..."รักษาพื้นที่แห้ง"   

"ปากเกร็ด" มหานครไม่ยอม "จม" ชาวบ้านเสียสละ..."รักษาพื้นที่แห้ง" 

 พื้นที่ "ไข่แดง" คือพื้นที่สามารถป้องกันไม่ให้น้ำไหล เข้าท่วม โดยการบริหารจัดการของหมู่บ้านและชุมชนต่าง ๆ เพื่อให้รอดพ้นจากอุทกภัยที่รายล้อมอยู่รอบบริเวณ สภาพเหมือนเกาะกลางน้ำ แต่ก็
ยังโชคดีที่ ไม่ถูกน้ำเข้าโจมตี แม้จะลำบากอยู่บ้าง แต่ก็ยังถือว่าอยู่รอด  อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นที่หนึ่งเป็นมากกว่า "ไข่แดง" ขอเรียกว่าพื้นที่ "ไข่ดาว" เช่น เทศบาลนครนนทบุรีและ"ปากเกร็ด" มหานครไม่ยอม "จม"เทศบาลนครปากเกร็ด จ.นนทบุรี มีพื้นที่แห้งเกือบ 100% แม้จะถูกโอบล้อมด้วยน้ำ แต่พื้นที่ตรงนี้กลายเป็นแผ่นดินทองให้ผู้ประสบภัยได้พักพิง เทศบาลนครปากเกร็ด เป็นหนึ่งในพื้นที่ซึ่งรอดพ้นจากวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2554 อย่างไม่น่าเชื่อ แม้จะไม่รอดทั้งหมด แต่ก็ถือว่าเทศบาลแห่งนี้ปกป้องพื้นที่แห้งไว้ได้มากที่สุดถึง 97% ต้องยอมรับว่า เป็นฝีมือในการบริหารจัดการน้ำและจัดการคนได้อยู่หมัดของเทศบาลแห่งนี้ และการเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ของชุมชนริมน้ำที่ยอมให้สร้างคันดิน โดยที่ไม่มีใครมาพังให้เสียหายกันทั้งเมือง นครปากเกร็ดตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ครอบคลุม 5 ตำบล ของอำเภอปากเกร็ด คือ ตำบลปากเกร็ด บางพูด บ้านใหม่ คลองเกลือ และบางตลาด มีพื้นที่ 36.04 ตารางกิโลเมตร มีผู้ประสบภัยที่อาศัยอยู่ริมน้ำ ประมาณ 2 พันครัวเรือน จากทั้งหมด 8 หมื่นครัวเรือน หรือคิดเป็น 3% ของพื้นที่ประสบภัย ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเทศบาลนครปากเกร็ดใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดูจากย่านการค้าภายในตลาดสดปากเกร็ด มีผู้คนทั้งในและนอกพื้นที่มาจับจ่ายซื้อสินค้ากันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งชาวบ้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามซึ่งถูกน้ำท่วม ก็พายเรือ นั่งรถบรรทุกทหารมาซื้อของกินของใช้ได้อีกด้วยมีผู้ประสบภัยอีกกว่า 2 พันครัวเรือน ซึ่งถูกน้ำท่วมมานานนับเดือนอยู่หลังคันดินขนาดมหึมา ที่ทางเทศบาลสร้างเป็นกำแพงสูงบนถนนภายในซอยวัดกู้ เป็นแนวยาวป้องกันไม่ให้น้ำจากเจ้าพระยาทะลักเข้ามาสร้างความเดือดร้อนในพื้นที่ชั้นในอีก แม้ว่าการเสียสละของชาวบ้านที่อยู่หลังคันดินจะมีทั้งเต็มใจ ไม่เต็มใจ หรือไม่มีทางเลือก แต่ชาวบ้านที่นี้ ก็ไม่มีใครคิดจะพังคันดิน เพื่อจะได้มีเพื่อนร่วมชะตากรรมแบบที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ เพราะพวกเขาคิดว่า ถึงบ้านจะถูกน้ำท่วม แต่พวกเขาก็ยังพายเรือ หรืออาศัยสะพานไม้ ที่ทางเทศบาลสร้างไว้ให้ และที่สร้างกันเอง ออกมาหาของกินของใช้สะดวกกว่าต้องพายเรือหลายกิโลเมตร หรือกอดคอกันจมน้ำทั้งหมด 
          "ปากเกร็ด" มหานครไม่ยอม "จม"ชุมชนในย่านนี้จึงสามารถพักอาศัยอยู่ในบ้านเรือนของ ตัวเองได้โดยไม่ต้องอพยพ หรือย้ายหนีไปไหน ส่วนหนึ่ง เพราะคนที่นี่เป็นคนแม่น้ำ ถูกน้ำท่วมจนชิน แม้ว่าปีนี้น้ำจะมามากกว่าทุกครั้ง จนไม่
สามารถกอบกู้วัดวาอารามและโรงเรียนในชุมชนได้ ก็ต้องปล่อยให้จมน้ำไป  เช่นเดียวกับวัดกู้ ซึ่งถูกน้ำท่วมขังเต็มพื้นที่วัด แต่ถนน หน้าวัดยังสัญจรผ่านไปมาได้ 1 ช่องทาง เพราะมีคันดินสูงกว่า 3 เมตรกันน้ำไว้ พระครูสมิทธิ์ กตธรรมโม พระวัดกู้ สะพานไม้ทอดผ่านศาลาการเปรียญที่สร้างยังไม่เสร็จ เพื่อเดินไปดูคันดินหลังวัด ซึ่งได้ระดมกำลังกันกั้นน้ำไว้ แต่ไม่สามารถต้านทานน้ำไว้ได้ "ปีนี้น้ำมามากเหลือเกิน นี่ก็สร้างคันดินถึงสองชั้นแล้ว แต่ก็เอาไม่อยู่ กว่าจะเอาอยู่ ก็ชั้นที่ 3 อยู่นอกกำแพงวัดโน่น..ทุกปี วัดจะเป็นที่พักพิงให้คนเข้ามาจอดรถหนีน้ำได้ เพราะวัดถมที่ขึ้นมาสูง แต่ปีนี้ วัดก็ไม่รอดเหมือนกัน แต่ก็ยังดี ที่ถนนหน้าวัดไม่ท่วม ไม่เช่นนั้น ก็คงเดือดร้อนกันไปทั่ว" อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมของเทศบาลนครปากเกร็ด อาจจะไม่สามารถนำไปใช้ได้ในทุกแห่งที่มีภูมิประเทศที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะพื้นที่น้ำท่วมทุ่ง แบบไม่มีที่มาที่ไป จับต้นชนปลายไม่ถูก แต่วิธีการสร้างคันดินของเทศบาลแห่งนี้ ใช้หลักการไหลของน้ำเป็นตัวตั้ง แล้วเสริมคันคลองตามทางเดินของน้ำ พอน้ำทะเลลด น้ำก็ลดตาม ไม่ใช่ไปสร้างคันขวาง หรือกั้นทางน้ำ แทนที่จะเรียกว่าคันดินกั้นน้ำ อาจเรียกว่าคันเสริมคลองระบายน้ำ ขืนไปขวางทางน้ำ ก็มีแต่พังกับพัง

ที่มาของข้อมูล https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1321081089&grpid=&catid=12&subcatid

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
เส้นขนาน (//) คือ เส้นตรงสองเส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกัน ไม่ตัดกัน และมีระยะห่างระหว่างเส้นทั้งสองเท่ากันเสมอ เส้นขนานอาจเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้งก็ได้ เช่น รางรถไฟ ขอบยางในรถยนต์ เส้นตรงที่ตั้งฉาก
กับเส้นตรงเดียวกันย่อมขนานกัน และเส้นตรงที่ขนานกับเส้นตรงเดียวกันย่อมขนานกัน 
เส้นขนาน บทนิยาม: เส้นขนานคือเส้นตรงสองเส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกัน ขนานกันและไม่มีจุดใดที่เส้นทั้งสองจะมาตัดกัน 
เส้นตัดขวาง คือ เส้นตรงที่มาตัดกับเส้นตรงสองเส้นขึ้นไป โดยจุดตัดจะไม่ซ้ำกัน 
"ปากเกร็ด" มหานครไม่ยอม "จม"สมบัติของเส้นขนาน 
1. ผลบวกของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดมีค่า180º 
2. ระยะห่างระหว่างเส้นขนานสองเส้นจะเท่ากันเสมอ 
3. ถ้าขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันได้180º แล้วเส้นตรงสองเส้นนั้นจะขนานกัน
มุมภายใน คือ มุมที่อยู่ระหว่างเส้นขนาน และมุมภายในที่อยู่บนเส้นตรงเดียวกันจะรวมกันได้ 180º 
มุมภายนอก คือ มุมที่อยู่ภายนอกเส้นขนาน และมุมภายนอกที่อยู่บนเส้นตรงเดียวกันจะรวมกันได้ 180º 
มุมแย้ง คือ มุมที่มีขนาดเท่ากันซึ่งอยู่แย้งกัน โดยมุมภายในและภายนอกที่อยู่ข้างเดียวกันของเส้นตัดจะมีขนาดเท่ากัน
ที่มาของข้อมูล https://siamclassview.edu.chula.ac.th/cuds51132/view.php?Page=1259071590539151
นิยาม เส้นตรงสองเส้นที่บนระนาบเดียวกันขนานกันเมื่อเส้นทั้งสองนี้ไม่ตัดกัน
หลักการง่ายที่ใช้พิจารณาว่าเส้นตรงสองเส้นขนานกันหรือไม่
1. ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัดแล้วขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเป็น 180 องศา
2. ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำให้ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเป็น 180 องศาแล้ว เส้นตรงคู่นี้จะขนานกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างเส้นขนานและมุมแย้ง
1 . ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีเส้นตัดแล้วมุมแย้งจะมีขนาดเท่ากัน
2 . เส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ถ้ามุมแย้งที่เกิดขึ้นมีขนาดเท่ากันแล้วเส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน
สมบัติของรูปสามเหลี่ยม 
1. ขนาดของมุมทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมใดๆรวมกันได้ 180 องศา
2. ถ้าต่อด้านใดด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมออกไปมุมภายนอกที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเท่ากับผลบวกของขนาดของมุมภายในที่ไม่ใช่มุมประกอบของมุมภายนอกนั้น
3. ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปมีขนาดของมุมเท่ากันสองคู่และมีด้านที่อยู่ตรงข้ามกันมุมที่มีขนาดเท่ากันยาวเท่ากันคู่หนึ่งแล้ว รูปสามเหลี่ยมสองรูปนี้จะเท่ากันทุกประการ  สามเหลี่ยมสองรูปที่เกล่าวมีความสัมพันธ์
แบบ มุม-มุม-ด้าน (ม.ม.ด.)
4. สามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-มุม-ด้าน
ที่มาของข้อมูล https://k.domaindlx.com/mymath/math8.htm

คำถามในห้องเรียน
"ปากเกร็ด" มหานครไม่ยอม "จม""การบริหารจัดการน้ำและจัดการคนและการเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ของชุมชนริมน้ำที่ยอมให้สร้างคันดิน โดยที่ไม่มีใครมาพังให้เสียหายกันทั้งเมือง ทางเทศบาลสร้างเป็นกำแพงสูงบนถนนภายในซอย
วัดกู้ เป็นแนวยาวป้องกันไม่ให้น้ำจากเจ้าพระยาทะลักเข้ามาสร้างความเดือดร้อนในพื้นที่ชั้นใน" จากข้อความบางส่วนข้างต้นนักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับการสร้างคันดินขนานกับทางน้ำ
ข้อเสนอแนะ
ปริมาณน้ำที่ท่วมมากเท่าไร ก็ไม่ขนานกับน้ำใจของคน

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 5  ภูมิศาสตร์                                                            
มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ  และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ  ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูล
ภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ                                                                                                                         
มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม  มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์   ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1   การดำรงชีวิตและครอบครัว 
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน   และทักษะการแสวงหาความรู้    มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
 

ที่มาของภาพ https://siamclassview.edu.chula.ac.th/cuds51132/assets//1-3.jpg 
ที่มาของภาพ https://www.prachachat.net/online/2011/11/13210810891321160976l.jpg
ที่มาของภาพ https://www.prachachat.net/online/2011/11/13210810891321160959l.jpg
ที่มาของภาพ https://www.prachachat.net/online/2011/11/13210810891321160929l.jpg
ที่มาของภาพ https://www.prachachat.net/online/2011/11/13210810891321160921l.jpg

ที่มาของภาพ https://www.skoolbuz.com/content_images/201012/images/line2.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4462

อัพเดทล่าสุด