กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม 4 อำเภอ บางเลน นครชัยศรี สามพรานและพุทธมณฑล
รมว.ศธ.สั่งเลื่อนการเปิดเรียน ภาคเรียนที่ 2 ใน 4 จังหวัด เป็น 21 พ.ย.
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แถลงว่า ได้มีคำสั่งให้เลื่อนการเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2/2554 ใน 4 จังหวัด ประกอบด้วย
1. กรุงเทพมหานคร
2. นนทบุรี
3. ปทุมธานี
4. นครปฐม 4 อำเภอ ได้แก่ บางเลน นครชัยศรี สามพรานและพุทธมณฑล
จากเดิมที่เคยประกาศให้เปิดเรียนในวันที่ 15 พ.ย.54 เป็นวันที่ 21 พ.ย. 54
ที่มาของข้อมูล https://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=461356&ch=gn1
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ดอกเบี้ย (อังกฤษ: Interest) คือเงินที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการลงทุนโดยการคำนวณเป็นอัตราร้อยละต่อปี ในทางเศรษฐศาสตร์ ดอกเบี้ยเป็นเครื่องควบคุมอัตราเงินเฟ้ออีกด้วย คือ เมื่อใดที่เกิดอัตราเงินเฟ้อขึ้น แสดงว่า มีปริมาณเงินในตลาด(หมายถึงเงินในมือประชาชน)จำนวนมาก และสินค้าจะราคาแพงขึ้น การขึ้นดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ ทำให้เงินได้ออกจากตลาดไป ปริมาณเงินจะลดลง เงินเฟ้อก็จะลดลง
ที่มาของข้อมูลhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2
ความหมายของคำว่าอัตราดอกเบี้ย
ดอกเบี้ย หมายถึง ค่าตอบแทนปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งซึ่งจัดได้ว่าเป็นค่าตอบแทนปัจจัยการผลิตประเภททุน แต่สำหรับในด้านของการเงินแล้วดอกเบี้ยจะหมายถึง จำนวนเงินที่ผู้กู้ต้องจ่ายชำระแก่ผู้ให้กู้ เนื่องจากได้นำเงิน หรือของมีค่าของผู้กู้ไปใช้ประโยชน์ โดยสัญญาว่าจะชำระคืนเต็มมูลค่าในวันกำหนด ในอนาคต โดยทั่วไปดอกเบี้ยคิดเป็นร้อยละของ เงินต้นเรียกว่า “อัตราดอกเบี้ย”
ความแตกต่างในอัตราดอกเบี้ย
จากสภาพของความเป็นจริงแล้วนั้นจะเห็นได้ว่าในแต่ละพื้นที่นั้นจะมีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน หรือในพื้นที่เดียวกันอาจจะมีอัตราดอกเบี้ยหลายอัตรา ซึ่งถ้าจะถามถึงคำตอบเราเองนั้นก็สามารถที่พอสรุปได้ว่าสาเหตุที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยนั้นแตกต่างกัน มีอยู่ 2 ประการ คือ
1. ความไม่สมบูรณ์ในตลาดเงินกู้ ทั้งนี้เพราะผู้กู้ และผู้ให้กู้ ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นไปในแหล่งของเงินทุน กฎหมาย และอำนาจการผูกขาดของผู้ให้กู้ และแหล่งเงินกู้
2. ความแตกต่างในลักษณะของหนี้แต่ละราย ในกรณีนี้มีสาเหตุที่สำคัญมาจาก
2.1 ค่าใช้จ่ายในการบริหารเงินกู้ เช่นค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบฐานะของลูกหนี้
2.2 การเสี่ยง เช่น เสี่ยงต่อการไม่จ่ายหนี้คืน เป็นต้น
2.3 สภาพคล่องของเครื่องมือเครดิต เพราะเครดิตแต่ละชนิดมีความสามารถที่
จะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้แตกต่างกัน
ที่มาของข้อมูล https://www.nkc.kku.ac.th/personal/bodeeput/Academics_Data/Mo...
วิธีคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้
งวดที่ เงินกู้คงเหลือ เดือนที่ จำนวนวัน ดอกเบี้ย เงินต้น รวมชำระ
1 5,000 1 31 46.75 1,000 1,046.75
2 4,000 2 30 36.25 1,000 1,036.25
3 3,000 3 31 28.00 1,000 1,028.00
4 2,000 4 31 18.75 1,000 1,018.75
5 1,000 5 30 9.00 1,000 1,009.00
138.75 5,000 5,138.75
เงินกู้ 5,000 บาท ชำระ 5 งวด (เดือน) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 11 ต่อปี
สูตร การคำนวณ
ดอกเบี้ย ณ วันชำระ = เงินกู้คงเหลือ ณ วันชำระ x อัตราดอกเบี้ย x จำนวนวันจากวันชำระก่อนหน้าจนถึงวันชำระงวดนี้ต่อ 365 วัน
ดังนั้น
งวดที่ 1 จากตัวอย่าง เงินกู้คงเหลือ 5,000 บาท และมาชำระในวันสิ้นเดือน (สำหรับเดือนที่มี 31 วัน)
ดอกเบี้ย ณ วันสิ้นเดือน = 5,000 x (11/100) x (31/365) จะได้ประมาณ 46.71 บาท ปัดหน่วยเป็น 46.75 บาท
งวดที่ 3 เงินกู้คงเหลือ 3,000 บาท จำนวนวันในเดือน 31 วัน (จำนวนวันนับจากวันที่ชำระเงินกู้ครั้งที่แล้วถึงวันที่ชำระครั้งนี้)
ดอกเบี้ย ที่ต้องชำระสำหรับงวดที่ 3 = 3,000 x (11/100) x (31/365) จะได้ประมาณ 28.02 บาท ปัดหน่วยเป็น 28 บาท
* 11/100 หมายถึง 11 หารด้วย 100 (ร้อยละ 11) และ 31/365 หมายถึง 31 หารด้วย 365 (31 วันใน 365 วัน)
กู้ 5,000 บาท จ่ายคืนใน 5 เดือน ดอกเบี้ยต้องจ่ายทั้งสิ้น 138.75 บาท ประชุมใหญ่มีเงินเฉลี่ยคืนประมาณ 7 บาท (กรณีมีมติเฉลี่ยคืน 5%) สรุปจ่ายดอกเบี้ยจริง 131.75 บาท
ที่มาของข้อมูล https://www.sena2.org/main/index.php?option=com_content&view=article&id=111:2009-08-07-01-41-06&catid=25:2009-04-02-04-59-25&Itemid=27
คำถามในห้องเรียน
1. การเลื่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2/2554 มีผลกระทบกับการจัดการเรียนการสอนหรือไม่อย่างไร
2. ปํญหาของผู้ปกครองเมื่อมีแต่รายจ่ายแต่ไม่มีรายได้
ข้อเสนอแนะ
ในปัจจุบันถ้าผู้ประสบภัยน้ำท่วมไม่ได้ทำงานขาดรายได้ จะทำให้มีปัญหาทางเศษรฐกิจตามมา (เช่น แขกปล่อยกู้ในชุมชนเดือนละ 1,000 บาท เก็บคืนวันละ 40 บาท เป็นเวลา 30 วัน รวมแล้ว 1,200 บาท)
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิด
การสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ที่มาของภาพ https://sorndee.com/sites/default/files/styles/medium/public/field/image/DSCF9831.jpg
ที่มาของภาพ https://www.enn.co.th/uploads/contents/20110921142431.jpg
ที่มาของภาพ https://www.krobkruakao.com/store/news/43131/1313977501.jpg
ที่มาของภาพ https://www.thairath.co.th/media/content/2009/11/30/50131/hr1667/300.jpg
ที่มาของภาพ https://www.tcijthai.com/sites/default/files/users/user-3/original/phyphnamthwm.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4446