ค่าไฟฟ้า..น่าคิด


800 ผู้ชม


เป็นการคำนวณค่าไฟฟ้าด้วยตนเองของนักเรียนหรือผู้ที่สนใจ   

ค่าไฟฟ้า..น่าคิด
      
          จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน ส่งผลทำให้หลายบ้านต้องสำรวจและควบคุมค่าใช้จ่าย ในการครองชีพของตัวเองไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการกินอยู่ตลอดจนค่าใช้จ่ายในด้านสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าน้ำมันรถ เพื่อให้เพียงพอกับเงินรายได้ที่ตนได้รับ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าไฟฟ้านั้น เรามีวิธีตรวจสอบค่าใช้จ่ายว่า เราใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วย จะต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นจำนวนเงินเท่าไร อีกทั้งยังสามารถหาแนวทางการประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย
         ก่อนที่เราจะทราบอัตราค่าไฟฟ้านั้น เราควรจะทราบว่า เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ใช้ไฟฟ้าหรือกินไฟเท่าไหร่เสียก่อน โดยสังเกตคู่มือการใช้งานหรือแถบป้ายที่ติดอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เขียนว่า กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีจำนวนวัตต์มาก ก็กินไฟมากตามไปด้วย                                                                                         

          ดังนั้นท่านสามารถคำนวณดูจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านท่านว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้ากี่ชนิดแต่ละชนิดกินไฟกี่วัตต์ และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง หลังจากนั้นท่านก็นำมาคิดคำนวณ ท่านจะทราบว่าในแแต่ละเดือนท่านใช้ไฟฟ้าไปประมาณกี่หน่วยเพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้าได้
          สำหรับการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิตคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ที่ใช้งานใน 1 ชั่วโมง หรือใช้สูตรการคำนวณดังนี้

       กำลังไฟฟ้า (วัตต์)ชนิดนั้นๆ  x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน = จำนวนหน่วยหรือยูนิต

ตัวอย่างวิธีการคิดค่าไฟฟ้า
สมมุติว่าเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2 ใช้ไฟฟ้าไป 990 หน่วย

35 หน่วยแรก                                                                                85.21    บาท 
 
115 หน่วยต่อไป                                      (115x1.1236 บาท)    129.21   บาท 
 
250 หน่วยต่อไป                                       (250x2.1329 บาท)    533.22   บาท 
 
ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย    (990-400 = 590 x 2.4226 บาท)   1,429.33   บาท 
 
                                                                              รวมเป็นเงิน   2,176.97  บาท 
 
คำนวณค่า Ft โดยดูได้จากใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน หรือสอบถามจากการไฟฟ้านครหลวง
ตัวอย่าง   ค่า Ft มิถุนายน 2541 หน่วยละ 5.45 สตางค์
หน่วย x 0.05045 บาท                                 499.46   บาท 
  
รวมเงิน                      2,176.97+499.46     =2,676.43 บาท 
 
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%      = 2,676.43 x 7/ 100  =187.35    บาท 
 
                                                      รวมเป็นเงิน 2,863.78 บาท

 ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ                                         2,863.75 บาท 
 
https://www.student.chula.ac.th/~49718863/elec.htm

ค่าไฟฟ้า..น่าคิด


https://www.mea.or.th/images/bill.jpg

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เรื่องทศนิยมและเศษส่วน
สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1   เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
             ตัวชี้วัด 1 ระบุหรือยกตัวอย่าง และเปรียบเทียบจำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ  ศูนย์  เศษส่วนและทศนิยม
มาตรฐาน ค 1.2    เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา 
             ตัวชี้วัด 2 บวก  ลบ  คูณ  หารเศษส่วนและทศนิยม  และนำไปใช้แก้ปัญหา  ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ  อธิบายผลที่เกิดขึ้นจากการบวก  การลบ  การคูณ การหาร   และบอกความสัมพันธ์ของการบวกกับการลบ  การคูณกับการหารของเศษส่วนและทศนิยม

คำถามชวนคิด
       คุณแม่กำลังกำลังคำนวณค่าไฟฟ้าในเดือนตุลาคม 2554 โดยใช้ไฟฟ้าไป 520 หน่วยหน่วยละ 7.75 สตางค์ เราจะช่วยคุณแม่คิดคำนวณได้อย่างไร  จงอธิบาย

กิจกรรมเสนอแนะ
       กิจกรรมคำนวณค่าไฟฟ้า ให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มๆละ 4 – 5  คน โดยให้นักเรียนนำไปเสร็จค่าไฟฟ้าที่มีในแต่ละบ้านมาคิดคำนวณหาค่าไฟฟ้า ว่าในแต่ละเดือนได้จ่ายค่าไฟฟ้าไปเท่าไร เพื่อเป็นการช่วยประหยัดพลังงาน

บูรณาการสู่ความเป็นเลิศ
        - สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี


อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ
https://www.student.chula.ac.th/~49718863/elec.htm

https://www.mea.or.th/images/bill.jpg

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4460

อัพเดทล่าสุด