เช่น เสื้อชูชีพ รองเท้าบูท เรือ
สินค้ายอดนิยม เกาะกระแสน้ำท่วม ราคาไม่แพง
สินค้ายอดนิยมในช่วงวิกฤตน้ำท่วมบริเวณตลาดคลองถม ตลาดสำเพ็ง เป็นเสื้อชูชีพ รองเท้าบูท และเรือประเภทต่าง ๆ โดยมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน และประเทศเวียดนาม ส่งผลให้ราคาขายสินค้ามีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
เสื้อชูชีพ ราคาขายบริเวณตลาดคลองถมเริ่มตั้งแต่ 250-480 บาท
รองเท้าบูท ราคาขายตั้งแต่ 250-350 บาท แล้วแต่ความสูง วัสดุที่นำมาใช้ที่มีความหลากหลายในเชิงแฟชั่น มีสีต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย ทั้งแดง ฟ้า เขียว น้ำเงิน ม่วง เป็นต้น
เรือไฟเบอร์กลาส เรือที่ผลิตจากสังกะสี เรือที่ผลิตจากแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด เรือยางที่สามารถนำเครื่องยนต์มาติดตั้งได้ รวมถึงเรือยางขนาดเล็กที่ปกติเป็นของเล่นสำหรับเด็ก ราคาเริ่มตั้งแต่ 1,500-8,000 บาท มีการขายแบบเรือกับพายอย่างเดียว และการขายเป็นแพ็กเก็จครบวงจร มีทั้งขายครบชุดเรือ 1 ลำ พายยาง 2 อัน ที่สูบลม 1 อัน พร้อมเสื้อชูชีพ 2 ตัว เป็นต้น
พ่อค้า แม่ค้าขายส่ง ตลาดคลองถม และตลาดสำเพ็ง บอกว่า สินค้าพวกชูชีพ รองเท้าบูท เรือยังคงขายได้เรื่อย ๆ โดยมีพ่อค้าแม่ค้าจำนวนมากมาซื้อเพื่อนำไปขายต่อ รวมทั้งการขายปลีกให้ประชาชนรายย่อยทั่วไป
เหตุการณ์น้ำท่วมที่ทะลักเข้ากรุงเทพฯ ทำให้คนกรุงเทพตื่นกลัว และมาซื้อสินค้าดังกล่าวกันจำนวนมาก ขณะที่ผู้ถูกน้ำท่วมมานานตั้งแต่ช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เช่น บริเวณอยุธยา บางบัวทอง ปทุมธานีปริมาณน้ำหลายแห่งยังไม่ลดลง แต่กลับเริ่มเน่าเสีย ทำให้ประชาชนต้องการหาซื้อรองเท้าบูทไปสวมใส่ เพื่อนำไปใช้เดินลุยน้ำเข้า-ออกจากบ้าน ป้องกันเชื้อโรค
นอกจากนี้ ที่น่าสนใจคือ ตลาดขายสินค้ารับสถานการณ์น้ำท่วมดังกล่าว มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูงมาก มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก รวมถึงพัฒนาการของสินค้าที่หลากหลายรูปแบบจากการนำสินค้า
ที่ปกติใช้งานเฉพาะด้านมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อให้สามารถตอบโจทย์กับการใช้งานของผู้บริโภค ยกตัวอย่าง
1.ชุดเอี๊ยมหมีที่ใช้กันน้ำในการตกปลามาเสนอขายเป็นชุดป้องกันน้ำท่วม โดยชุดดังกล่าวผลิตจากวัสดุ PVC ตัดยาวเป็นเอี๊ยมทั้งตัว มีรองเท้าบูทติดกันทั้งชุดทำให้ผู้สวมใส่สามารถลุยลงไปในน้ำท่วมสูงระดับหน้าอกได้ โดยไม่เปียก รวมถึงป้องกันเชื้อโรคที่มากับน้ำ และสัตว์ที่มากับน้ำ เช่น ปลิง เป็นต้น โดยราคาขายประมาณ 1,400-1,600 บาทต่อชุด
2.กางเกงกันน้ำท่วม ผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ ลักษณะเหมือนกางเกงทั่วไปใส่ป้องกันได้ถึงเอว เป็นยางยืดมี 2 รูปแบบ
1) กางเกงยาวติดกับรองเท้าบูท
2) กางเกงยาวไม่มีรองเท้า แต่ผู้สวมใส่สามารถใส่รองเท้าปกติลงไปได้ ราคาขายเริ่มตั้งแต่ 300-600 บาท
3.ถุงพลาสติกสำหรับใส่รถยนต์ ผลิตจากวัสดุโพลิเมอร์เอสทีลิน ซึ่งเป็นพลาสติกหนาสามารถกันน้ำได้ มีการออกแบบและตัดเย็บได้ตามขนาดของรถแต่ละชนิด มีซิบกันน้ำ เปิดเป็นช่องเพื่อขับรถเข้าไปเก็บในถุง ถุงใส่รถมอเตอร์ไซด์ ใส่ตู้เย็น ใส่เครื่องซักผ้า ราคาขายตั้งแต่ 140-3,000 บาท
4.ถุงพลาสติกขนาดยาวขนาดประมาณ 50 เซนติเมตรที่นำมาประยุกต์ใช้สวมใส่ลุยน้ำ โดยออกแบบด้วยการเจาะรู 2 ด้าน และนำเชือกฟางมาผูกคล้องคอ เพื่อให้เวลาเดินจะได้ไม่หย่อนลงไปในน้ำ เป็นต้น
ที่มาของข้อมูล https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1320295195&grpid=09&catid=&subcatid=
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
การให้เหตุผล
1.ระบบทางคณิตศาสตร์
อนิยาม คือ ข้อความที่ไม่ต้องให้ความหมาย หรือ คำจำกัดความ
บทนิยาม คือ ข้อความที่ให้ความหมาย หรือคำจำกัดความไว้อย่างชัดเจน เพื่อทุกคนทราบความหมายที่ถูกต้องเข้าใจตรงกัน
สัจพจน์ คือ ข้อความที่ทุกคนยอมรับว่าข้อความนั้นเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์
ทฤษฎีบท คือ ข้อความที่ยอมรับว่าเป็นจริง ได้มีการพิสูจน์โดยอาศัย อนิยาม บทนิยาม สัจพจน์ และวิธีทางอย่างมีเหตุมีผล
2. การให้เหตุผล
มนุษย์เราให้เหตุผลสนับสนุนความเชื่อและเพื่อหาความจริงหรือข้ออสรุปในเรื่องที่ต้องการศึกษา
2.1 การให้เหตุผลแบบอุปนัย ( Inductive Reasoning ) เป็นการให้เหตุผลโดยยึดความจริงส่วนย่อยที่พบเห็นไปสู่ความจริงส่วนใหญ่
ตัวอย่าง มนุษย์สังเกตพบว่า : ทุก ๆวันดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตอ. และตกทางทิศตต.
จึงสรุปว่า : ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตอ. และตกทางทิศตต.เสมอ
การให้เหตุผลแบบอุปนัย หมายถึง วิธีการสรุปในการค้นคว้าความจริงจากการสังเกตหรือทดลองหลายครั้งจากกรณีย่อยๆแล้วนำมาสรุปเป็นความรู้แบบทั่วไป
อย่างไรก็ดีการหาข้อสรุปหรือความจริงโดยใช้วิธีการให้เหตุผลแบบอุปนัยนั้น ไม่จำเป็นต้องถูกต้องทุกครั้ง เนื่องจากเป็นการสรุปผลจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่
ดังนั้น ข้อสรุปจะเชื่อถือได้มากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล หลักฐานและข้อเท็จจริงที่นำมาอ้าง
1. จำนวนข้อมูล หลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่นำมาเป็นข้อสังเกตหรือข้ออ้างอิงมีมากพอกับการสรุปความหรือไม่
2. ข้อมูลหลักฐาน หรือข้อเท็จจริงเป็นตัวแทนที่ดีในการให้ข้อสรุปหรือไม่
3. ข้อสรุปที่ต้องการมีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด
2.2 การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning ) เป็นการนำความรู้พื้นฐาน ความเชื่อ ข้อตกลง กฏ บทนิยามซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับเป็นจริงเพื่อหาเหตุนำไปสู่ข้อสรุป
ตัวอย่าง
เหตุ 1. เด็กทุกคนชอบเล่นฟุตบอล
2. ฟุตบอลเป็นกีฬา
ผล เด็กทุกคนชอบเล่นกีฬา
สรุปว่า การให้เหตุผลแบบนิรนัยนั้น ผลหรือข้อสรุปถูกต้อง เมื่อ
1. ยอมรับเหตุเป็นจริงทุกข้อ
2. การสรุปผลสมเหตุสมผล
ความสมเหตุสมผลมี 2 ส่วน คือ
1. เหตุ – สิ่งที่เรากำหนด / สมมติฐาน
2. ผล – ผลสรุป / ข้อสรุป
*ผลสรุป จะถูกต้อง เมื่อมีความสมเหตุสมผล
การตรวจสอบการสมเหตุสมผล
การตรวจสอบว่าข้อสรุปสมเหตุสมผลหรือไม่นั้นสามารถตรวจสอบได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อความที่กำหนดมาให้ วิธีหนึ่งคือ การวาดแผนภาพตามสมมติฐานที่เป็นไปได้ แล้วจึงพิจารญาว่าแผนภาพแต่ละกรณีแสดงผลสรุปตามที่สรุปไว้หรือไม่
ถ้าแผนภาพ สอดคล้องกับ ผลที่สรุปไว้ กล่าวว่า การให้เหตุผลนั้น สมเหตุสมผล
ถ้าแผนภาพ ไม่สอดคล้องกับ ผลที่สรุปไว้ กล่าวว่า การให้เหตุผลนั้น ไม่สมเหตุสมผล
(ไม่สอดคล้องเพียง 1 กรณี ก็ถือว่าไม่สมเหตุสมผล) เรียกการตรวจสอบการสมเหตุสมผลแบบนี้ว่า การอ้างเหตุผลโดนการใช้ตรรกบทของตรรกศาสตร์
ตัวอย่าง
เหตุ 1. คนทุกคนที่กินปลาเป็นคนฉลาด
2. คนที่ฉลาดเรียนหนังสือเก่ง
ผล คนที่กินปลาเรียนหนังสือเก่ง
ตอบ จากแผนภาพ สอดคล้องกับผลสรุป ดังนั้น การให้เหตุผลนี้ สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง
เหตุ 1. คนจีนบางคนนับถือศาสนาพุทธ
2. เหมยเป็นคนจีน
ผล เหมยไม่นับถือศาสนาพุทธ
ตอบ จากแผนภาพพบว่า กรณี 2 ไม่สอดคล้องผลสรุป ดังนั้นไม่สมเหตุสมผล
หมายเหตุ ในการแสดงผลสรุปไม่สมเหตุสมผล เราไม่จำเป็นต้องเขียนแผนภาพทั้งหมดทุกกรณี โดยอาจจะยกเฉพาะกรณีที่ แผนภาพไม่สอดคล้องกับผลสรุปเพียงกรณีเดียวก็พอ
ตัวอย่าง
เหตุ 1. เรือทุกลำลอยน้ำ
2. ถังน้ำพลาสติกลอยน้ำได้
ผล ถังน้ำพลาสติกเป็นเรือ >> สังเกตว่า แม้ว่าข้ออ้างหรือเหตุทั้งสองข้อจะเป็นจริง แต่การที่เราทราบ ว่า เรือทุกลำลอยน้ำได้ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นๆ ที่ลอยน้ำได้จะต้องเป็นเรือเสมอไป ข้อสรุปในตัวอย่างข้างต้นจึงเป็นการสรุปที่ไม่สมเหตุสมผล
ตอบ สมเหตุมผล
ตัวอย่าง
เหตุ 1. แมวทุกตัวเป็นปลา
2. ต้นไม้ทุกต้นเป็นแมว
ผล ต้นไม้ทุกต้นเป็นปลา >> สังเกตว่า ผลสรุปที่กล่าวมาว่า ต้นไม้ทุกต้นเป็นปลา นั้นสมเหตุสมผล แต่ไม่เป็นความจริงทางโลก
หมายเหตุ เมื่อยอมรับเหตุเป็นจริงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แล้ว ต่อให้ผลสรุปขัดแย้งกับความเป็นจริงทางโลก แต่หากเป็นจริงตามการให้เหตุผลนั้นแล้ว ก็ถือว่า การให้เหตุผลนั้นสมเหตุสมผล
สรุป การให้เหตุผลแบบอุปนัย
- โดยอ้างจากตัวอย่างหรือประสบการณ์ย่อยหลายๆตัวอย่าง แล้วสรุปเป็นความรู้ทั่วไป
- จากเหตุกาณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นซ้ำๆหลายๆครั้ง
- โดนใช้การคาดคะเน
- จากประสบการณ์ของผู้สรุป
- สิ่งที่กำหนดให้ จะสนับสนุน ผลสรุป แต่จะไม่สามารถยืนยันข้อสรุปได้
- ย่อย >> ใหญ่ คือ การนำข้อค้นพบจากตัวอย่างหลาย ๆ ตัวอย่างมาสรุปเป็นความรู้ทั่วไป กฎ สูตร หรือหลักการ
สรุป การให้เหตุผลแบบนิรนัย
- โดยอ้างเหตุผลจากความรู้พื้นฐานชุดหนึ่งที่ยอมรับกันมาก่อน
- เมื่อเหตุ (ข้อสมมติ) เป็นจริง แล้วทำให้เกิดผลสรุป
- สิ่งที่กำหนดให้ (เหตุ) สามารถยืนยัน ผลสรุปได้
- ถ้าเหตุนั้นทำให้เกิดผลสรุปได้ = การให้เหตุผลดังกล่าวสมเหตุสมผล
- ถ้าเหตุทำให้เกิดผลสรุปไม่ได้ = การให้เหตุผลดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล
- ใหญ่ >> ย่อย คือการนำความรู้ทั่วไป กฎ สูตร หรือหลักการมาใช้ในการหาคำตอบหรืออธิบายหรือให้เหตุผลกับกรณีเฉพาะอันหนึ่ง
ที่มาของข้อมูล https://siamclassview.edu.chula.ac.th/cudsmaths47/view.php?Page=1248417307576477&msite=cudsmaths47
เหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ แต่ละบุคคลย่อมมีเหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการแตกต่างกันออกไป พอสรุปได้ดังนี้
1. ค่านิยม บางคนนิยมซื้อสินค้าราคาถูกในขณะที่บางคนนิยมซื้อสินค้าราคาแพง ผู้ที่นิยมซื้อสินค้าราคาแพงมักคิดว่าสินค้าราคาแพงคุณภาพดี นอกเหนือจากนั้นบางคนยังมีความรู้สึกภูมิใจที่ได้ใช้สินค้าราคาแพง บางคนต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้ที่มีฐานทางเศรษฐกิจดี
2. บุคลิกเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลกับการเลือกซื้อสินค้าบางชนิด เช่น รองเท้า บางคนมีขนาดเท้าหรือลักษณะของเท้าที่หาซื้อรองเท้ายาก เมื่อพบรองเท้าที่สวมใส่พอดีแม้ราคาค่อนข้างแพงก็ตัดสินใจซื้อ แต่บางคนรูปเท้าปกติสามารถใส่รองเท้าได้ทุกชนิด ซึ่งมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป ก็อาจจะซื้อรองเท้าได้ราคาถูกกว่า
3. สภาพของครอบครัว บางครอบครัวใช้ของแพงเป็นประจำ สมาชิกในครอบครัวก็จะติดนิสัยการใช้ของแพง บางครอบครัวประหยัดมีผลทำให้สมาชิกในครอบครัวพลอยประหยัดไปด้วย
4. วัยก็มีผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า วัยรุ่นชอบของที่มีสีสันสดใส แบบนำสมัยในขณะที่ผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนชอบของที่มีสีสุภาพ แบบเรียบ
5. ฐานะทางเศรษฐกิจ
ที่มาของข้อมูล https://school.obec.go.th/wichienmatu2/doc/business3.htm
คำถามในห้องเรียน
นักเรียนคิดว่าแต่ละครอบครัวมีเหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการขึ้นอยู่กับสิ่งใดบ้างอธิบาย พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบว่าสมเหตุสมผลหรือไม่
ข้อเสนอแนะ
สถานการณ์น้ำท่วมทำให้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้น หลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการกับจำนวนคนในปัจจุบัน
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 2.1 เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
ที่มาของภาพ https://www.matichon.co.th/gallery/fullimages/2011/11/1320235195.jpg
ที่มาของภาพ https://www.matichon.co.th/gallery/fullimages/2011/11/1320235182.jpg
ที่มาของภาพ https://www.matichon.co.th/gallery/fullimages/2011/11/1320235169.jpg
ที่มาของภาพ https://www.matichon.co.th/gallery/fullimages/2011/11/1320235808.jpg
ที่มาของภาพ https://www.rcthai.net/webboard/download/file.php?id=1771838
ที่มาของภาพ https://203.172.222.170/math/project51/610/reason610.files/image079.jpg
ที่มาของภาพ https://203.172.222.170/math/project51/610/reason610.files/image077.jpg
ที่มาของภาพ https://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/130854.gif
ที่มาของภาพ https://www.toptenthailand.com/images/pic_news/9519.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4438