ไทย ติดอันดับโลก


763 ผู้ชม


ถิ่นฮันนีมูนยอดฮิต ด้วยคะแนนโหวต ร้อยละ 29.6   

ไทยติดโผโลกถิ่นฮันนีมูนยอดฮิต

นางจุฑาพร เริงรณอาษา รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลางและอเมริกา การท่องเที่ยวแห่งไทย ติดอันดับโลกประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า นิตยสารรายเดือน Bridal Guide นำเสนอเนื้อหาสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องการแต่งงานและฮันนีมูน รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา จัดอันดับให้ประเทศไทยติดอันดับ 3 ของแหล่งท่องเที่ยวสำหรับการฮันนีมูนยอดนิยมในทวีปเอเชียและแปซิฟิกใต้ ด้วยคะแนนโหวตร้อยละ 29.6
ส่วนอันดับ 1 และ 2 ได้แก่ หมู่เกาะตาเฮติ ร้อยละ 49.6 และหมู่เกาะฟิจิ ร้อยละ 46.1 จากสมาชิก 3,481 ราย ที่โหวตผ่านอีเมล์และออนไลน์ Bridalguide.com วันที่ 28 มิ.ย.-9 ก.ย.2554

ผลการจัดอันดับครั้งนี้คาดว่า จะเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยไปสู่กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันในการตัดสินใจเดินทางมาไทยมากขึ้น โดย ททท.สำนักงานนิวยอร์ก และสำนักงานลอสแองเจลิส รุกแผนการตลาด เช่น ร่วมเทรดโชว์และโรดโชว์ เชิญบริษัทนำเที่ยว สื่อมวลชนจากสหรัฐอเมริกามาสำรวจความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย เพื่อให้รับรู้ความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการที่เป็นจุดขาย รวมทั้งภาพลักษณ์เชิงบวกของประเทศไทยไปยังชาวอเมริกันในการตัดสินใจมาเที่ยวไทยมากขึ้น

ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMGIzVXdNekk0TURFMU5RPT0=&sectionid=TURNeE9RPT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB5T0E9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ฐานนิยม (Mode) 
ไทย ติดอันดับโลกฐานนิยม คือ ค่าของคะแนนที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือ ค่าคะแนนที่มีความถี่สูงที่สุดในข้อมูลชุดนั้น 
การหาฐานนิยมของข้อมูลที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่ ( Ungrouped Data ) พิจารณาค่าของข้อมูลที่ซ้ำกันมากที่สุด คือฐานนิยม 
ตัวอย่าง จงหาฐานนิยมของข้อมูลต่อไปนี้ 3, 2, 4, 5, 6, 4, 8, 4, 7, 10
ข้อมูลที่ซ้ำกันมากที่สุดคือ 4
ฐานนิยมคือ 4

ข้อมูลบางชุดอาจมีฐานนิยม 2 ค่า เช่น 10, 14, 12, 10, 11, 13, 12, 14, 12, 10
ข้อมูลที่ซ้ำกันมากที่สุดคือ 10 กับ 12
ฐานนิยม คือ 10 กับ 12

ข้อมูลบางชุดอาจจะไม่มีฐานนิยมซึ่ง ได้แก่ ข้อมูลที่มีรายการซ้ำจำนวนเท่ากันหลายชุด เช่น 5, 2, 3, 4, 7, 8, 2, 3, 5, 9, 10, 2, 3, 5, 7, 9, 8, 7, 8
ข้อมูลที่ไม่มีรายการซ้ำกันเลย เช่น 8, 9, 10, 11, 13, 15 
ที่มาของข้อมูล https://reg.ksu.ac.th/Teacher/kanlaya/3.4.html
ค่าฐานนิยม (Mode : Mo)
ไทย ติดอันดับโลกค่าฐานนิยมเป็นค่ากลางซึ่งจะนำมาใช้ในกรณีที่ข้อมูลมีการซ้ำกันมากๆจนผิดปกติ ซึ่งค่าฐานนิยมจะเป็นค่ากลางหรือตัวแทนของข้อมูลที่สามารถอธิบายลักษณะที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่ามัธยฐาน นอกจากนี้ค่าฐานนิยมยังมีข้อพิเศษมากกว่าค่าเฉลี่ยและมัธยฐาน ตรงที่สามารถใช้ได้กับข้อมูลที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ(Qualitative) และข้อมูลเชิงปริมาณ(Quantitative) และค่าฐานนิยมยังสามารถมีค่าได้มากกว่า 1 ค่าอีกด้วย

การหาค่าฐานนิยม(Mo) เมื่อข้อมูลไม่ได้มีการแจกแจงความถี่
ในกรณีที่ข้อมูลไม่ได้มีการแจกแจงความถี่ วิธีการหาค่าฐานนิยม(Mo) สามารถทำได้โดยการนับจำนวนข้อมูล ซึ่งข้อมูลชุดใดมีจำนวนซ้ำกันมากที่สุดก็จะเป็นค่าฐานนิยม 
ตัวอย่าง จงหาค่าฐานนิยมจากข้อมูลชุดนี้ 25,19,32,29,19,21,22,21,19,20,19,22,23,20
วิธีทำ ฐานนิยม(Mo) = ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุด = 19
ฐานนิยม (Mo) ของข้อมูลชุดนี้มีค่าเท่ากับ 19
ที่มาของข้อมูล https://pibul2.psru.ac.th/~buncha/Chp1_5.htm
สมบัติที่สำคัญของฐานนิยม
1.   ฐานนิยมสามารถหาได้จากเส้นโค้งของความถี่  และฮิสโทแกรม
2.   ในข้อมูลแต่ละชุด  อาจจะมีฐานนิยมหรือไม่มีก็ได้  ถ้ามี  อาจจะมีเพียงค่าเดียว  หรือหลายค่าก็ได้
3.   ให้   X1,   X2,   X3,  …..,  XN   เป็นข้อมูลชุดหนึ่งที่มีฐานนิยมเท่ากับ  Mo
      ถ้า  k  เป็นค่าคงตัว  จะได้ว่า    X1+k,   X2+k,   X3+k,  ….,  XN+k    เป็นข้อมูลที่มีฐานนิยมเท่ากับ   Mo + k
4.  ให้   X1,   X2,   X3,  ….,   XN   เป็นข้อมูลชุดหนึ่งที่มีฐานนิยมเท่ากับ   Mo
      ถ้า   k   เป็นค่าคงตัว  ซึ่ง  k   =/=  0   จะได้ว่า   kX1,   kX2,   kX3,  …,  kXN  จะเป็นข้อมูลที่มีฐานนิยมเท่ากับ   kMo
สมบัติข้อที่  3  และ  4  ก็เช่นเดียวกับค่าเฉลี่ยเลขคณิต  และมัธยฐาน  กล่าวคือ  ถ้านำค่าคงตัวไปบวก  หรือคูณกับค่าจากการสังเกตทุกตัวในข้อมูลชุดหนึ่ง  ฐานนิยมของข้อมูลชุดใหม่นี้  จะเท่ากับ  ฐานนิยมของข้อมูลชุดเดิม  บวกหรือคูณกับค่าคงตัวดังกล่าว  ตามลำดับ  (อย่าลืม !  ถ้าเป็นการคูณ  ค่าคงตัวที่นำไปคูณไม่เท่ากับศูนย์)
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/sec04p04.html
การหาฐานนิยมของข้อมูลที่มีการแจกแจงเป็นอันตรภาคชั้นการประมาณอย่างคร่าวๆ
ฐานนิยม    คือ    จุดกึ่งกลางชั้นที่มีความถี่สูงสุด
ตัวอย่าง    จากตารางแจกแจงความถี่ต่อไปนี้  จงหาฐานนิยมโดยประมาณอย่างคร่าวๆ
คะแนน       ความถี่
20-29           2

30-39          10

40-49         15

50-59         13

60-69         5

อันตรภาคชั้นที่มีความถี่สูงสุด  คือ  40-49
จุดกลางชั้น  คือ       (40+49) /2
ดังนั้น  ฐานนิยมโดยประมาณ  คือ  44.5

ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pisamorn_s/sec04p03.html
ไทย ติดอันดับโลกคำถามในห้องเรียน
จากการสำรวจ แหล่งท่องเที่ยวสำหรับการฮันนีมูนยอดนิยมในทวีปเอเชียและแปซิฟิกใต้ ได้แก่
อันดับ 1 หมู่เกาะตาเฮติ ร้อยละ 49.6
อันดับ 2 หมู่เกาะฟิจิ ร้อยละ 46.1 
อันดับ 3 ร้อยละ 29.6
นักเรียนคิดว่า จำนวนคนโหวต 3,481 คน เพียงพอกับ ค่าฐานนิยมของประชากรที่เป็นสมาชิกหรือไม่เพราะเหตุใด อธิบาย
ข้อเสนอแนะ
แหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย มีหลายสถานที่ ควรประชาสัมพันธ์ให้รับรู้ความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการที่เป็นจุดขาย รวมทั้งภาพลักษณ์เชิงบวกของประเทศไทยไปยังชาวอเมริกันในการตัดสินใจมาเที่ยวไทยมากขึ้น

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 3   เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส.3.1  เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ 
มาตรฐาน ส.3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 4    การอาชีพ 
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

ที่มาของภาพhttps://thai.tourismthailand.org/fileadmin/thumbnail/6/68ff2100ffa4aaaad41e4a4d3ed3e91_180_175_1282718301.JPG
ที่มาของภาพ https://www.thai-tour.com/thai-tour/central/nonthaburi/images/wat_poramanyikawas/buddha.jpg
ที่มาของภาพ https://www.thairath.co.th/media/content/2011/02/01/145858/hr1667/630.jpg
ที่มาของภาพ https://anglebest.files.wordpress.com/2011/02/e0b8aae0b896e0b8b4e0b895e0b8b4.gif
ที่มาของภาพ https://www.thaigoodview.com/files/u31942/Case3.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4581

อัพเดทล่าสุด