แนะ ศธ.เร่งปรับตัว สู่อาเซียน


930 ผู้ชม


นโยบายพัฒนาการศึกษา เพื่อรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเนื้อหาหลักมี 4 หมวด คือ   

แนะ ศธ.เร่งปรับตัว สู่อาเซียน

แนะ ศธ.เร่งปรับตัว สู่อาเซียนนายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายพัฒนาการศึกษา เพื่อรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเนื้อหาหลักมี 4 หมวด คือ  การศึกษาข้ามพรมแดน  การแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ การข้ามพรมแดนไปตั้งสถาบันการศึกษา 
การแลกเปลี่ยนบุคลากร

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประเทศที่พร้อมที่สุด คือ ลาว และพม่า เปิดประเทศแล้วไม่ได้ประโยชน์ คือ เวียดนามและอินโดนีเซีย ประเทศที่ไปไกลที่สุด คือ สิงคโปร์ ขณะที่ประเทศไทยอยู่ระหว่างความพร้อมและไม่พร้อม แต่เมื่อมองภาพรวมแล้ว ไทยยังไม่พร้อมเท่าที่ควร เพราะไทยตื่นตัวเฉพาะเรื่องภาษา ส่วนเรื่องอื่นๆ ยังไม่ได้ดำเนินการ

นายสมพงษ์กล่าวต่อว่า สิ่งที่เราจะปรับ คือ หลักสูตร หรือเปิดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ คือ ทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน ต่างเรียนรู้ประเทศไทยเป็นอย่างดี แต่ไทยเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านน้อยมาก ตนแนะนำว่าในช่วง 2-3 ปีหน้า ศธ.ควรปรับแผนยุทธศาสตร์ให้ตรงกับงานวิจัยของตน ก็น่าจะได้เปรียบ การเปิดอาเซียน แต่หากไม่ทำไทยจะเสียเปรียบมากขึ้น "อาเซียนขณะนี้ไม่ใช่เรื่องมหาวิทยาลัย แต่เป็นเรื่องของอาชีวะ เพราะถ้าเราไม่มาเรียนสายอาชีพ คนข้างนอกจะเข้ามาแย่งงานคนไทยทำ แต่ขณะนี้ตัวโครงสร้าง ปวส. ปวช.เดินช้ามาก เพราะการเปลี่ยนตัว รมว.ศธ.และบุคลากรของอาชีวะ" นายสมพงษ์กล่าว
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNakUxTURJMU5RPT0=&sectionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1pMHdNaTB4TlE9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ระบบเลขฐานสิบ (Decimal Number System) 
ระบบเลขฐานสิบ เป็นระบบเลขที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะนำไปใช้คำนวณประเภทใด โดยจะมีสัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวเลขต่างๆ ของเลขฐานสิบ (Symbol) จำนวน 10 ตัว ตัวเลขหรือที่เรียกว่า Digit ที่ใช้แทนระบบเลขฐานสิบ ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 
เลขฐาน 10 มี 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 
ตัวเลขแต่ละตัวจะมีค่าประจำตัว โดยกำหนดให้ค่าที่น้อยที่สุด คือ 0 (ศูนย์) และเพิ่มค่าทีละหนึ่ง จนครบจำนวน 10 ตัว ดังนั้นค่ามากที่สุด คือ 9 การนำตัวเลขเหล่านี้ มารวมกลุ่มกัน ทำให้เกิดความหมายเป็น "ค่า" นั้น อาศัยวิธีการกำหนด "หลัก" ของตัวเลข (Position Notation) กล่าวคือ ค่าของตัวเลขจำนวนหนึ่ง พิจารณาได้จากสองสิ่ง คือ ค่าประจำตัวของตัวเลขแต่ละตัว ค่าหลักในตำแหน่งที่ตัวเลขนั้นปรากฎอยู่ 
ในระบบที่ว่าด้วยตำแหน่งของตัวเลข ตำแหน่งที่อยู่ทางขวาสุด จะเป็นหลักที่มีค่าน้อยที่สุด เรียกว่า Least Sinificant Digit (L S D) และตัวเลขที่อยู่ในหลักซ้ายสุดจะมีค่ามากที่สุด เรียกว่า Most Sinificant Digit (M S D) 
นิยาม ค่าหลักของตัวเลขใดๆ คือ ค่าของฐานยกกำลังด้วยค่าประจำตำแหน่ง ของแต่ละหลัก โดยกำหนดให้ค่าประจำตำแหน่งของหลักของ LSD มีค่าเป็น 0

แนะ ศธ.เร่งปรับตัว สู่อาเซียน

ในระบบเลขฐานสิบ จะมีสัญลักษณ์อยู่ 10 อย่าง คือ 0 - 9 จำนวนขนาดของเลขฐานสิบ สามารถอธิบายได้ โดยใช้ตำแหน่งน้ำหนักของแต่ละหลัก (Postional Weight) โดยพิจารณาจากเลข ดังต่อไปนี้

3472 สามารถขยายได้ดังนี้

3472  = 3000 + 400 + 70 + 2 
= (3 x 10 3) + (4 x 10 2) + (7 x 10 1) + (2 x 10 0
1257 = 1 x 103 + 2 x 102 + 5 x 101 + 7 x 10

เลขที่เป็นเศษส่วน หรือจำนวนผสมนั้น ก็สามารถจะเขียนในรูป Positional Notation ได้เช่นกัน โดยตัวเลขแต่ละหลัก จะอยู่ในตำแหน่งหลังจุดทศนิยม กำลังของหลัก จะมีค่าเป็นลบ เริ่มจากลบ 1 เป็นต้นไป นับจากน้อยไปหามาก ดังนั้นในระบบเลขฐานสิบ หลักแรกหลังจุดทศนิยม จะมีค่าเท่ากับ เลขจำนวนนั้นคูณด้วย 10-1 ตัวที่สองจะเป็น -2 ไปเรื่อยๆ 456.395 = 4 x 102 + 5 x 101+ 6 x 100 + 3 x 10-1 + 9 x 10-2 + 5 x 10-3 

ที่มาของข้อมูล https://www.snw.ac.th/courseware/www.nectec.or.th/courseware/computer/number-system/0002.html
ระบบตัวเลขฐานสิบ (System of Base Ten Numeral) 
แนะ ศธ.เร่งปรับตัว สู่อาเซียนเป็นระบบที่ใช้ ตัวเลขโดด (degits) 10 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ในการเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวน โดยอาศัยค่าประจำตำแหน่ง ซึ่งแตกต่างกันในการกำหนดค่าของตัวเลขโดดนั้น ๆ

ข้อสังเกต 
1. ในระบบตัวเลขฐานสิบ ค่าประจำตำแหน่งของหลักทางซ้ายมือ จะเป็นสิบเท่าของหลักทางขวามือเสมอ 
2. ในระบบตัวเลขฐานสิบ ค่าของตัวเลขแต่ละตัวของจำนวนใด ๆ จะเท่ากับตัวเลขโดด คูณกับค่าประจำตำแหน่งของตัวเลขโดดนั้น

ตัวอย่าง  การเขียนตัวเลขแทนจำนวนในรูปการกระจาย เช่น

5,432 = (5x1000)+(4x100)+(3x10)+(2x1)

789 = (7x100)+(8x10)+(9x1)

33 = (3x10)+(3x1)

ถ้าการเขียนตัวเลขแทนจำนวนใด ๆ ในรูปการกระจายไม่กะทัดรัด ก็อาจใช้วิธีเขียนค่าประจำตำแหน่งให้สั้นลงโดยใช้เลขยกกำลัง เช่น 
857,425 = (8x105)+(5x104)+(7x103)+(4x102)+(2x10)+(5x1) 
8,763 = (8x103)+(7x102)+(6x10)+(3x1) 
ที่มาของข้อมูล https://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-5539.html
คำถามในห้องเรียน
จงหาแปลงเป็นตัวเลขฐานสองและหาผลต่างระหว่าง ตัวเลขแทนจำนวน 2555 กับ 2558

ข้อเสนอแนะ
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558  ประเทศไทยจะพร้อมหรือไม่อย่างไรขึ้นอยู่กับใครบ้าง โดยเฉพาะรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ควรอยู่ในวาระ นานๆ เพื่อสานงานพร้อมทั้งดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
แนะ ศธ.เร่งปรับตัว สู่อาเซียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
มาตรฐาน ต 1.2     มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ต 1.3     นำเสนอข้อมูลข่าวสาร  ความคิดรวบยอด  และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 3    เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
มาตรฐาน ง 3.1    เข้าใจ   เห็นคุณค่า    และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้    การสื่อสาร  การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล   และมีคุณธรรม  
สาระที่ 4    การอาชีพ 
มาตรฐาน ง 4.1    เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

ที่มาของภาพ https://region2.prd.go.th/images/article/news16584/n20110804195813_167055.jpg
ที่มาของภาพ https://server.thaigoodview.com/files/u55125/asean-logo-banner.jpg
ที่มาของภาพ https://1.bp.blogspot.com/_u-Wd358y7eM/TDGCm5xCOQI/AAAAAAAAAIo/m6P-J2N0ka8/s1600/10000.gif
ที่มาของภาพ https://www.bpsthai.org/BPS_Images/PhotoTechnic/DigitalImaging/Digital_06_1.gif
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4607

อัพเดทล่าสุด