ผลงาน มทร. ธัญบุรี
รถสับ-ย่อยใบไม้
ผลงาน มทร. ธัญบุรี
เกริ่นนำ ปัจจุบันการตัดหญ้าในสนามหน้าบ้าน ในสนามฟุตบอลของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ยุ่งยากพอสมควรแลัวยังใช้ระยะเวลามากพอสมควร และเมื่อตัดเสร็จสิ้นก็ต้องนำหญ้าหรือใบไม้ในบริเวณนั้นๆไปหาแหล่งที่ทิ้งหรือทำลายอีก ปัญหานี้จะหมดไปถ้าได้ใช้รถสับ-ย่อยใบไม้ซึ่งเป็นผลงานของ มทร. ธัญบุรี
นายนรากร คะระนันท์ และ นายวศิน ยาสุข นักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ได้พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการ ย่อย-สับ ภายในตัวรถได้จนสำเร็จทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกและลดเวลาในการเก็บรวบรวมใบไม้ โดยที่รถเก็บใบไม้ที่สร้างขึ้นมีขนาด 90เซนติเมตร x 130 เซนติเมตร x 80 เซนติเมตร ซึ่งประกอบไปด้วย
1. ตะกร้าเก็บใบไม้
2. หัวแปรงลวดเคเบิลปัดใบไม้
3. สายพานลำเลียง
4. ชุดสับย่อย
โดยทุกส่วนจะใช้โซ่และเฟืองในการส่งกำลัง ส่วนวิธีการทำงานเริ่มจากเข็นให้รถเคลื่อนที่ ล้อหลังฝั่งซ้ายที่ยึดติดเฟืองขนาด 60 ฟัน จะหมุนและส่งกำลังผ่านโซ่มายังเฟืองขนาด 14 ฟัน ที่ยึดติดอยู่กับชุดหัวแปรงลวดเคเบิล ทำให้ชุดแปรงลวดเคเบิลหมุนปัดใบไม้ขึ้นมายังชุดสายพาน ลำเลียง ในขณะเดียวกันล้อหลังฝั่งขวาที่ยึดติดเฟืองขนาด 60 ฟัน จะหมุนและส่งกำลังผ่านโซ่มายังเฟือง 14 ฟัน ที่ยึดติดอยู่กับชุดเพลา สายพานลำเลียง ทำให้สายพานลำเลียงเคลื่อนที่ขึ้น และโซ่เส้นเดียวกัน ยังส่งกำลังมายังเฟือง 14 ฟัน อีกตัวที่ยึดติดอยู่กับชุดสับย่อย ทำให้หมุนตัดเฉือนใบไม้ และตกลงไปสู่ตะกร้าทดสอบ ผลของการทดสอบพื้นที่ขนาด 10 ตารางเมตร พบว่าช่วงความหนาแน่นของใบไม้ ที่ 0.3 กิโลกรัม/10 ตารางเมตร เป็นช่วงที่รถเก็บและสับย่อยใบไม้มีประสิทธิภาพดีที่สุดที่ 90 เปอร์เซ็นต์ และเก็บใบไม้ได้มากถึง 27 กิโลกรัม/ชั่วโมง ถ้าสนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ ดร.กระวี ตรีอำนรรค ที่ปรึกษาโครงการ โทร. 08-6515-7035
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?==
newsi=TURObFpIVXdNekl6TURnMU5RPT0=§ionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB5TXc9PQ
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
สูตรพื้นที่และปริมาตร รูปทรงเรขาคณิต
สามเหลี่ยม
พื้นที่สามเหลี่ยมใดๆ สูตร = 1/2 x ฐาน x สูง
พื้นที่สามเหลี่ยม "รู้ความยาว3ด้าน" สูตร = รากที่สอง(s x (s-a) x (s-b) x (s-c))
โดย s = (a + b + c)/2
a = ความยาวด้านที่ 1
b = ความยาวด้านที่ 2
c = ความยาวด้านที่ 3
สี่เหลี่ยม
พื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส สูตร = ด้าน x ด้าน
พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า/มุมฉาก สูตร = กว้าง x ยาว
พื้นที่สี่เหลี่ยมด้านขนาน สูตร = ฐาน x สูง
พื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู สูตร = 1/2 x (ด้านขนาน 1 + ด้านขนาน 2) x สูง
พื้นที่สี่เหลี่ยมรูปว่าว/ขนมเปียกปูน สูตร = 1/2 x เส้นทะแยงมุม1 x เส้นทะแยงมุม 2
พื้นที่สี่เหลี่ยมใดๆ สูตร = 1/2 x เส้นทะแยงมุม x (เส้นกิ่ง1+เส้นกิ่ง2)
พื้นที่หลายเหลี่ยม
พื้นที่รูปทรงหลายเหลี่ยม(ด้านเท่า&มุมเท่า) สูตร = 1/2 x ด้าน x สูง x จำนวนเหลี่ยม
พีระมิด
พื้นผิวพีระมิดใดๆ/กรวยใดๆ สูตร = พื้นที่ฐาน + 1/3 x เส้นรอบฐาน x สูงเอียง
ปริมาตรของพีระมิดใดๆ/กรวยใดๆ สูตร = 1/3 x พื้นที่ฐาน x สูง
ปริซึม/ทรงกระบอก
พื้นผิวทรงกระบอก/ปริซึมใดๆ สูตร = 2 x พื้นที่ฐาน + เส้นรอบฐาน x สูง
ปริมาตรทรงกระบอก/ปริซึมใดๆ สูตร = พื้นที่ฐาน x สูง
วงกลม/ทรงกลม
หาความยาวเส้นรอบวง สูตร = 2 x 22 / 7 x รัศมี
พื้นที่วงกลม สูตร = 22 / 7 x r2
พื้นผิวทรงกลม สูตร = 4 x 22/7 x r2
ปริมาตรทรงกลม สูตร = 4/3 x 22/7 x r3
ที่มาของข้อมูล https://www.plvc.ac.th/~krueka/areacapa.htm
พื้นที่ผิวและปริมาตร
1. พิระมิด (Pyramid) คือ ทรงสามเหลี่ยมที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใด ๆ มียอดแหลมซึ่งไม่อยู่บนระนาบเดียวกัน และทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น
พื้นที่ผิวเอียง = (1/2) x เส้นรอบฐาน x สูงเอียง
พื้นที่ผิวทั้งหมด = พื้นที่ผิวเอียง + พื้นที่ฐาน
ปริมาตร = (1/3) x พื้นที่ฐาน x สูง
2. ปริซึม เป็นรูปทรงที่มีหน้าตัด(ฐาน) ทั้งสองข้างเป็นรูปหลายเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ มีหน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก การเรียกชื่อปริซึมจะเรียกตามรูปหน้าตัดของปริซึม
พื้นที่ผิวข้าง = เส้นรอบฐาน x สูง
พื้นที่ผิวทั้งหมด = พื้นที่ผิวข้าง + 2 พื้นที่หน้าตัด
ปริมาตร = พื้นที่ฐาน x สูง
แบบทดสอบ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร
ข้อ 1https://www.kr.ac.th/ebook2/warisara/test.gif
ข้อ 2
https://www.kr.ac.th/ebook2/warisara/test1.gif
ข้อ 3
https://www.kr.ac.th/ebook2/warisara/test2.gif
ข้อ 4
https://www.kr.ac.th/ebook2/warisara/test3.gif
ข้อ 5
https://www.kr.ac.th/ebook2/warisara/test4.gif
ที่มาของข้อมูล https://www.kr.ac.th/ebook/arisara/b1.htm
แบบฝึกหัด
คำสั่ง จงเขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง เขียนเครื่องหมาย x หน้าข้อความที่ผิด
1. ผิวข้างของพีระมิดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากเสมอ
2. ปริมาตรของปริซึมเป็นสามเท่าของพีระมิดที่มีฐานและความสูงเท่ากัน
3. สันทุกเส้นของพีระมิดตรงย่อมยาวเท่ากัน
4. สูงเอียงทุกเส้นของพีระมิดฐานสี่เหลี่ยมมุมฉากยาวเท่ากัน
5. พื้นที่ผิวของพีระมิด n เหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า มีค่าเป็น (n+1) เท่า ของพื้นที่ผิวข้าง
6. สูงเอียงของพีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสเท่ากับผลรวมของกำลังสองของความยาวด้านฐานกับกำลังสองของสูงตรง
7. ถ้าตัดรูปทรงพีระมิดตามแนวขนานกับฐาน ยอดพีระมิดที่ถูกตัดออกจะมีฐานเป็นรูปเหลี่ยมคล้ายกับฐานเดิม
8. ความยาวของสันย่อมมีค่าน้อยกว่าสูงตรงและสูงเอียงเสมอ
9. ถ้านำพีระมิดกลวงไปตักน้ำตาลใส่ในปริซึมที่มีฐานและความสูงเท่ากันจะได้ระดับน้ำตาลเป็น 1 ใน 3 ของความสูงปริซึม
10. พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวฐานด้านละ a หน่วย ความสูง b หน่วย ดังนั้น สูงเอียงเท่ากับ a2 + b2
แบบทดสอบครั้งที่ 1
เรื่อง ปริมาตรของพีระมิด
คำสั่ง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย x ลงบนตัวเลือกของแต่ละข้อที่ถูกต้องที่สุด
1. ถ้าพีระมิดและปริซึมมีฐานอย่างเดียวกันและสูงเท่ากัน คำกล่าวใดถูกต้อง
ก. ปริมาตรของพีระมิดเท่ากับ 1/2 ของปริมาตรของปริซึม
ข. ปริมาตรของพีระมิดเท่ากับ 1/3 ของปริมาตรของปริซึม
ค. ปริมาตรของพีระมิดเท่ากับ 1/4 ของปริมาตรของปริซึม
ง. ปริมาตรของพีระมิดเท่ากับ 1/5 ของปริมาตรของปริซึม
2. พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งมีความยาวของฐานด้านละ 15 เซนติเมตร ความยาวของสูงตรงเป็น 45 เซนติเมตร จะมีปริมาตรเท่าใด
ก. 3,225 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ข. 3,325 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ค. 3,357 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ง. 3,375 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3. จงหาปริมาตรของพีระมิดที่มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 10 เมตร สูงตรง ยาว 18 เมตร
ก. 330 ลูกบาศก์เมตร
ข. 550 ลูกบาศก์เมตร
ค. 580 ลูกบาศก์เมตร
ง. 600 ลูกบาศก์เมตร
4. พีระมิดแท่งหนึ่งมีพื้นที่ฐาน 807 ตารางเมตร สูง 10 เมตร จะมีปริมาตรเท่าใด
ก. 2,490 ลูกบาศก์เมตร
ข. 2,860 ลูกบาศก์เมตร
ค. 2,690 ลูกบาศก์เมตร
ง. 2,960 ลูกบาศก์เมตร
5. พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 4 เซนติเมตร สูง 15 เซนติเมตร มีปริมาตรเท่าใด
ก. 80 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ข. 106 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ค. 120 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ง. 180 ลูกบาศก์เซนติเมตร
6. พีระมิดฐานสามเหลี่ยมมีพื้นที่ฐาน 20 ตารางเซนติเมตร สูง 18 เซนติเมตร มีปริมาตรเท่าใด
ก. 80 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ข. 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ค. 120 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ง. 160 ลูกบาศก์เซนติเมตร
7. พีระมิดแท่งหนึ่งมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วัดความยาวรอบฐานยาว 880 เมตร พีระมิดสูง 162 เมตร ปริมาตรของพีระมิดนี้เป็นเท่าใด
ก. 2,602,400 ลูกบาศก์เมตร
ข. 2,613,600 ลูกบาศก์เมตร
ค. 2,723,200 ลูกบาศก์เมตร
ง. 2,723,400 ลูกบาศก์เมตร
8. พีระมิดตรงฐานสามเหลี่ยมมุมฉากมีด้านประกอบมุมฉากเท่ากับ 4 เซนติเมตร และ 6 เซนติเมตร ถ้าพีระมิดตรงสูง 10 เซนติเมตร พีระมิดจะมีปริมาตรกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
ก. 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ข. 80 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ค. 120 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ง. 240 ลูกบาศก์เซนติเมตร
9. จงหาความสูงของพีระมิดตรงฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวฐานยาวด้านละ 10 นิ้ว และมีปริมาตร 300 ลูกบาศก์นิ้ว
ก. 9 นิ้ว
ข. 7 นิ้ว
ค. 5 นิ้ว
ง. 3 นิ้ว
10. ถ้าขี้ผึ้ง 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร หนัก 100 กรัม จะต้องใช้ขี้ผึ้งหนักเท่าใดในการหล่อพีระมิด ฐานยาว 5 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตร สูง 9 เซนติเมตร
ก. 6.6 กิโลกรัม
ข. 6.0 กิโลกรัม
ค. 6.5 กิโลกรัม
ง. 5.6 กิโลกรัม
กิจกรรม การประกอบรูปทรงกระบอก กระป๋องออมสินแสนสวย
จงเขียน / หน้าข้อความที่ถูกต้องและเขียนเครื่องหมาย x หน้าข้อความที่ผิด
1) ถ้าตัดทรงกระบอกในแนวนอนกับฐาน ส่วนที่ตัดออกยังคงเป็นรูปทรงกระบอก
2) หน้าตัดทั้งสองหน้าของทรงกระบอกต้องเป็นวงกลม แต่อาจมีขนาดต่างกันได้
3) ท่อน้ำประปามีลักษณะเหมือนทรงกระบอกเล็กสวมอยู่ในทรงกระบอกใหญ่ โดยใช้จุดศูนย์กลางร่วมกัน
4) ลำไม้ไผ่ ที่ใช้ใส่ข้าวหลาม คือ วัสดุธรรมชาติที่เป็นทรงกระบอก
5) พื้นที่หน้าตัดของทรงกระบอกจะเปลี่ยนไปตามความสูงของทรงกระบอกนั้นเปลี่ยนไป
ที่มาของข้อมูล https://blog.eduzones.com/surasit/26591
คำถามในห้องเรียน
รถสับ-ย่อยใบไม้จะตัดหญ้าที่มีความหนาแน่นของใบไม้ และสามารถสับ เก็บย่อยใบไม้ ได้ดีมากน้อยเพียงใดและใช้เวลาในการตัดขึ้นอยู่กับสิ่งใดบ้างให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันอภิปรายและหาเหตุผลประกอบ
ข้อเสนอแนะ
ถ้า รถสับ-ย่อยใบไม้ อำนวยความสะดวกและลดเวลาในการดำเนินการแล้ว ผลงานของนักศึกษา มทร. ธัญบุรี จะเป็๋นที่รู้จักและสามารถสร้างอาชีพที่เกี่ยวข้องรถสับ-ย่อยใบไม้ กันมากขึ้น
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 2.1 เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน
สาระที่ 4 การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สรุป รถสับ-ย่อยใบไม้ นี้สามารถสร้างรายได้ให้กับนักศึกษา มทร. ธัญบุรี ได้อีกทางหนึ่ง เมื่อนักศึกษามีกำลังใจและกำลังทรัพย์แล้วหวังว่าจะคิดค้นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและลดเวลาได้อีกในโอกาสต่อไป
ที่มาของภาพ https://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2012/08/edu03230855p1.jpg&width=360&height=360
ที่มาของภาพ https://www.enn.co.th/uploads/contents/2011082292210.jpg
ที่มาของภาพ https://www.thailandmower.com/images/sub_1268119157/DSC01158.JPG
ที่มาของข้อมูล https://www.lks.ac.th/teacher_jeed/algebra%20pics/krauypaint2.jpg
ที่มาของข้อมูล https://4.bp.blogspot.com/_c9mOgtv_pVg/TIT2hNXFmYI/AAAAAAAAATs/WKRgnl-Sok0/s400/volume.gif
ที่มาของข้อมูล https://www.skoolbuz.com/content_images/200912/images/mixshape.gif
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4733