"ล้มเหลว"ผลงานรัฐบาล 1 ปี


815 ผู้ชม


มาร์คซัตผลงานรัฐบาล1ปี "ล้มเหลว" คณะรัฐมนตรีเงา ของพรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะนายกฯ เงา   
        คณะรัฐมนตรีเงา ของพรรคประชาธิปัตย์จัดงานแถลงผลการประเมินรัฐบาล ของพรรคเพื่อไทย ในวาระครบรอบ 1 ปี ภายใต้หัวข้อ 1 ปีรัฐบาลเพื่อไทย ทุกข์ที่คนไทยต้องทน รายงานว่าประสบความล้มเหลวราคาสินค้าสูงขึ้น ค่าครองชีพไม่พอกับค่าใช้จ่าย ปรับขึ้นค่ารถโดยสาร น้ำมัน ค่าแก๊ส สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน พืชผลทางการเกษตร มีราคามีราคาต่ำแต่สินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆสูงขึ้น เช่น ยางพารา ที่รับปากว่าจะขายกิโลกรัมละ120 บาท แต่ราคายางที่ขายในวันนี้ คือยางแผ่นดิบชั้น 3 ขายที่กิโลกรัมละ 76 บาท หนี้สินของเกษตรกร ก็เพิ่มขึ้นรวม 1.1 แสนบาทต่อครัวเรือน ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เดิมหนี้ในระบบลดลง ปรากฏว่า เพิ่มขึ้นและหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้นถึง 40% ทั้งนี้มีสิ่งที่น่ากังวลคือ เกษตรกรมีแนวโน้มที่จะขายที่ดินทำกินเพิ่มมากขึ้น “สรุปผลงานของรัฐบาลที่ผ่านมา คือ เกษตรกรโดนหลอก โดนโกง รายได้ไม่เพิ่ม แต่หนี้เพิ่มทั้งแผ่นดิน โดยนโยบายของรัฐบาลทั้งหมดพบว่ามีการเอื้อต่อนายทุน” 
ขอบคุณที่มา : ข่าวที่นี่ดอทคอม https://tnews.teenee.com/politic/84353.html

การประมาณค่า สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 
        ในชีวิตประจำวันของเรา บ่อยครั้งที่ต้องอาศัยข้อมูลจากการคำนวณมาประกอบการตัดสินใจ และการคำนวณนั้นเป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆ ค่าที่ได้ไม่ใช่ค่าที่แท้จริง แต่มีความใกล้เคียงพอที่จะใช้ตอบปัญหาหรือตัดสินใจได้ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขัน หรือต้องมีการตัดสินใจโดยเร็ว เราจะใช้เพียงการคำนวณอย่างรวดเร็วด้วยค่าประมาณ นอกจากนี้การคำนวณประมาณยังสามารถช่วยให้เราพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของค่าที่ได้จากการคำนวณ เพราะถึงแม้ว่าจะมีการใช้เครื่องมือในการคำนวณ แต่ความผิดพลาดในการใช้เครื่องมือก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน การปัดเศษเป็นอีกวิธีหนึ่งในการหาค่าประมาณและมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน สามารถช่วยให้เราคำนวณหาผลลัพธ์ของค่าต่างๆได้อย่างรวดเร็ว แต่ในการนำไปใช้จะต้องดูสถานการณ์ด้วยว่าสถานการณ์ใดควรใช้การปัดเศษและสถานการณ์ใดไม่ควรใช้การปัดเศษ 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 
        1. อธิบายการปัดเศษเมื่อปริมาณเป็นจำนวนเต็มได้ 
        2. อธิบายการปัดเศษเมื่อปริมาณเป็นทศนิยมได้ 
ความหมายการประมาณ
        การประมาณ คือ การบอกขนาด จำนวน หรือปริมาณที่ไม่ต้องการละเอียดถี่ถ้วน เป็นเพียงการคาดคะเนจำนวนหรือปริมาณด้วยสายตา เราสามารถหาคำตอบที่ใกล้เคียงกับคำตอบจริงได้ โดยการใช้การประมาณค่าซึ่งต้องประมาณค่าของจำนวนที่โจทย์กำหนดให้ก่อนที่จะ นำไปหาผลลัพธ์ 
        เราใช้การประมาณค่าในชีวิตประจำวันเสมอๆ การบอกจำนวนใดๆด้วยวิธีการปะมาณค่านั้น เรานิยมบอกเป็นจำนวนเต็ม เต็มสิบ เต็มร้อย เป็นต้น 1.ค่าประมาณ ในทางคณิตศาสตร์จะเรียก การหาค่า ซึ่งไม่ใช่ค่าที่แท้จริง แต่มีความละเอียดเพียงพอกับการนำไปใช้ว่า การประมาณ และจะเรียก การคำนวณ ที่ต้องการหาคำตอบอย่างรวดเร็ว ใกล้เคียง และเหมาะกับการนำไปใช้ว่า การประมาณค่า 
        การประมาณค่าทำได้โดยประมาณจำนวนต่างๆที่เกี่ยวข้อง แล้วนำค่าที่ได้มาคำนวณหาผลลัพธ์ ค่าที่ได้จากการประมาณและการประมาณค่า เรียกว่า ค่าประมาณ 
การปัดเศษ 
        การปัดเศษเมื่อปริมาณเป็นจำนวนเต็ม การปัดเศษจำนวนเต็มใดๆให้เป็นจำนวนเต็มสิบ จำนวนเต็มร้อย จำนวนเต็มพัน หรือ จำนวนเต็มหมื่น ฯลฯ ที่ใกล้เคียงที่สุด โดยการอาศัยเส้นจำนวน ทำโดยอาศัยหลักว่า จำนวนที่ต้องการปัดเศษอยู่ระหว่างสองจำนวนที่เป็นจำนวนเต็มสิบ จำนวนเต็มร้อย จำนวนเต็มพัน หรือจำนวนเต็มหมื่น ฯลฯ มีค่าใกล้จำนวนใดมากกว่า ก็ให้ปัดเป็นจำนวนนั้น 
        ตัวอย่าง 1). การปัดเศษ 32 เป็นจำนวนเต็มสิบ 
                         เนื่องจาก 32 อยู่ใกล้จำนวนเต็ม 30 มากกว่า 40 
                         ดังนั้น ปัดเศษ 32 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบได้ 30 
                    2). การปัดเศษ 183 เป็นจำนวนเต็มร้อย 
                         เนื่องจาก 183 อยู่ใกล้จำนวนเต็ม 200 มากกว่า 100 
                        ดังนั้น ปัดเศษ 183 ให้เป็นจำนวนเต็มร้อยได้ 200 
                    3). การปัดเศษ 7,500 เป็นจำนวนเต็มพัน 
                         เนื่องจาก 7,500 อยู่กึ่งกลางระหว่าง 7,000 กับ 8,000 
                     * ในกรณีเช่นนี้ มีข้อตกลงว่า ให้ปัดเศษเป็นจำนวนที่มากกว่า 
                        ดังนั้น ปัดเศษ 7,500 ให้เป็นจำนวนเต็มพันได้ 8,000 
โดยอาศัยหลักที่กล่าวมาข้างต้นนี้ สามารถสรุปวิธีปัดเศษจำนวนเต็มใดๆได้ดังนี้ ในการปัดเศษจำนวนเต็มใดๆให้เป็นจำนวนเต็มสิบ จำนวนเต็มร้อย จำนวนเต็มพัน จำนวนเต็มหมื่น ฯลฯ ที่ใกล้เคียงที่สุด ให้พิจารณาปัดเศษจำนวนในหลักถัดไปทางขวามือ ถ้าต่ำกว่า 5 ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 5 ขึ้นไป ปัดขึ้น 
        การปัดเศษเมื่อปริมาณเป็นทศนิยม ใช้หลักการทำนองเดียวกันกับการปัดเศษจำนวนเต็มดังนี้ 
        1.การปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็ม ให้พิจารณาทศนิยมตำแหน่งที่ 1 ว่าจะปัดขึ้นหรือตัดทิ้ง      ตัวอย่าง  
           1). 18.785 ประมาณเป็นจำนวนเต็มได้เท่าใด 
                ทศนิยมตำแหน่งที่ 1 คือ 7  เนื่องจาก 7 มากกว่า 5 ปัดขึ้นไป 1 
                ดังนั้น 18.785 ประมาณเป็นจำนวนเต็มได้ 19 
           2). 18.519 ประมาณเป็นจำนวนเต็มได้เท่าใด 
                ทศนิยมตำแหน่งที่ 1 คือ 5 เนื่องจาก 5 เท่ากับ 5 พอดี ปัดขึ้นไป 1 
                ดังนั้น 18.519 ประมาณเป็นจำนวนเต็มได้ 19 
           3). 18.452 ประมาณเป็นจำนวนเต็มได้เท่าใด 
                ทศนิยมตำแหน่งที่ 1 คือ 4 เนื่องจาก 4 น้อยกว่า 5 ตัดทิ้ง 
                ดังนั้น 18.452 ประมาณเป็นจำนวนเต็มได้ 18 
        2. การปัดเศษให้เป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง ให้พิจารณาทศนิยมตำแหน่งที่ 2 ว่าจะปัดขึ้นหรือตัดทิ้ง   ตัวอย่าง
            1). 14.785 ประมาณเป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่งได้เท่าใด 
                 ทศนิยมตำแหน่งที่ 2 คือ 8 พิจารณาได้ว่า 8 มากกว่า 5 ปัดขึ้นไป 1 
                 ดังนั้น 14.785 ประมาณเป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่งได้ 14.8
            2). 14.752 ประมาณเป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่งได้เท่าใด 
                 ทศนิยมตำแหน่งที่ 2 คือ 5 พิจารณาได้ว่า 5 เท่ากับ 5 พอดี ปัดขึ้นไป 1 
                 ดังนั้น 14.752 ประมาณเป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่งได้ 14.8
            3). 14.735 ประมาณเป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่งได้เท่าใด 
                 ทศนิยมตำแหน่งที่ 2 คือ 3 พิจารณาได้ว่า 3 น้อยกว่า 5 ตัดทิ้ง 
                 ดังนั้น 14.735 ประมาณเป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่งได้ 14.7
         3. การปัดเศษให้เป็นทศนิยมสองตำแหน่ง ให้พิจารณาทศนิยมตำแหน่งที่ 3 ว่าจะปัดขึ้นหรือตัดทิ้ง   ตัวอย่าง  
            1). 14.789 ประมาณเป็นทศนิยมสองตำแหน่งได้เท่าใด 
                 ทศนิยมตำแหน่งที่ 3 คือ 9 พิจารณาได้ว่า 9 มากกว่า 5 ปัดขึ้นไป 1 
                 ดังนั้น 14.789 ประมาณเป็นทศนิยมสองตำแหน่งได้ 14.79
            2). 14.725 ประมาณเป็นทศนิยมสองตำแหน่งได้เท่าใด 
                 ทศนิยมตำแหน่งที่ 3 คือ 5 พิจารณาได้ว่า 5 เท่ากับ 5 พอดี ปัดขึ้นไป 1 
                 ดังนั้น 14.725 ประมาณเป็นทศนิยมสองตำแหน่งได้ 14.73
            3). 14.763 ประมาณเป็นทศนิยมสองตำแหน่งได้เท่าใด 
                 ทศนิยมตำแหน่งที่ 3 คือ 3 พิจารณาได้ว่า 3 น้อยกว่า 5 ตัดทิ้ง 
                 ดังนั้น 14.763 ประมาณเป็นทศนิยมสองตำแหน่งได้ 14.76
หมายเหตุ 1.เราไม่ใช้การปัดเศษตัวเลขที่ไม่ได้แสดงปริมาณ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ บ้านเลขที่ หรือเลขประจำตัวนักเรียน 
               2.เราไม่ใช้การปัดเศษมากกว่าหนึ่งครั้งกับจำนวนเดียวกัน เช่น 18.87 ปัดเป็น 18.9 และปัดเป็น 19.00 
แบบฝึกหัด จงหาจำนวนที่ใกล้เคียงที่สุดของ 3,361,573.652 ตามข้อกำหนดแต่ละข้อ 
                1) จำนวนเต็มร้อยที่ใกล้เคียงที่สุด 
                2) จำนวนเต็มพันที่ใกล้เคียงที่สุด 
                3) จำนวนเต็มหมื่นที่ใกล้เคียงที่สุด 
               4) จำนวนเต็มแสนที่ใกล้เคียงที่สุด 
               5) ทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่ง ุ
               6) ทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่ง 
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
- กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา การทดสอบสมรรถภาพทางกายโดยการกระโดดไกล 
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การวิเคราะห์ข่าว 
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม การเมืองการปกครองของประเทศ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องเช่น รัฐบาล รัฐบาลเงา แถลง เป็นต้น 
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ศึกษาการประมาณค่าในวิชาวิทยาศาสตร์ 
เวปไซดที่เกี่ยวข้อง 
- https://www.skoolbuz.com/library/content/6 
- https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=78990 
- https://www.teenee.com/ 
https://www.damrong.ac.th/dslib/PDF/m1/m1_2-2.pdf
https://www.slideshare.net/JiraprapaSuwannajak/ss-8618590
https://www.math.rwb.ac.th/sopa1/index6.htm
 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4738

อัพเดทล่าสุด