จับสลากบรรจุ "ครูมืออาชีพ"


1,152 ผู้ชม


จับสลากวันที่ 17-19 ต.ค. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต   

กลาง ต.ค.จับสลากบรรจุ"ครูมืออาชีพ"   
 

ท.พญ.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ เลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกจับสลากบรรจุ "ครูมืออาชีพ"สถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมืออาชีพ เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในวันที่ 24 ก.ย.
ประกาศรายชื่อนิสิต นักศึกษาที่สมัครเข้าร่วมโครงการผลิตครูมืออาชีพ และมีสิทธิ์จับสลาก ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานคณะ
กรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) www.mua.go.th ซึ่งมีผู้สมัครทั้งสิ้น 2,323 คน จาก 89 สถาบันอุดมศึกษา โดยคาดว่าจะจัดให้มีการจับสลากในช่วงวันที่ 17-19 ต.ค. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ทั้งนี้การจับสลากจะคัดเลือกให้เหลือเพียง 829 คน ตามอัตราว่างที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอชีวศึกษา (สอศ.) จัดสรรมาให้สำหรับการบรรจุนิสิต นักศึกษากลุ่มนี้ แบ่งเป็น สพฐ. 750 อัตรา และ สอศ. 79 อัตรา
      นิสิต นักศึกษาทุกคนได้เลือกแล้วว่า ต้องการบรรจุในสาขา และพื้นที่ใด ซึ่งหากสาขาใดมีผู้สมัครเกินกว่าอัตราว่างที่
จัดสรรให้ ต้องจับสลากเพราะวิธีนี้จะเป็นวิธีการที่โปร่งใสที่สุด และเป็นธรรมกับนิสิต นักศึกษาทุกคน โดยมั่นใจว่าวิธีนี้ไม่มีการร้องเรียนอย่างแน่นอน การจับสลากจะทำให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียว และจะมีการตั้งโต๊ะรับร้องเรียนหากคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาให้เสร็จสิ้น เพราะได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะทำให้โครงการผลิตครูมืออาชีพมีการร้องเรียนเป็นศูนย์" ท.พญ.ศรีญาดา กล่าว

ที่มาของข้อมูล https://www.kruthai.info/view.php?article_id=2287
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ในชีวิตประจำวันเราอยู่กับเหตุการณ์ต่าง ๆ และมีคำถามอยู่ในใจตลอดเวลา เช่น
- พรุ่งนี้ฝนจะตกหรือไม่
- บางทีเราต้องไปทำงานวันนี้
- นายกอาจลาออกและยุปสภาเร็ว ๆ นี้
- ทีมฟุตบอลทีมใดจะได้เป็นแชมป์โลก
- ใครชนะเลือกตั้งในสมัยหน้า
คำว่า "ความน่าจะเป็น" หรือ "probability" เป็นวิธีการวัดความไม่แน่นอนในรูปแบบคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อโยนเหรียญ ความน่าจะ
เป็นของเหรียญที่จะออกหัวหรือก้อยเท่ากับ 0.5 ดังนั้นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอาณาคตเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดาได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ นักอุตุนิยมวิทยาจึงใช้หลักการของความน่าจะเป็นเข้ามาทำนาย เช่น ความน่าจะเป็นของการเกิดฝนตกใน กรุงเทพมหานคร ในวันพรุ่งนี้มีค่าเท่ากับ 0.7 ความน่าจะเป็น เป็นค่าที่อาจมีความหมายที่หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก ความน่าจะเป็น เป็นศาสตร์ที่มีความละเอียดอ่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ความน่าจะเป็นมีการกำหนดค่าเป็นเศษส่วนหรือเป็นเปอร์เซนต์หรือให้มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 เช่น ถ้านำลูกเต๋า ทอยลงบนพื้น โอกาสที่จะปรากฎหน้า 1 มีค่าเท่ากับ 1/6 หรือ 16.6 เปอร์เซนต์ ถ้าโยนเหรียญหนึ่งเหรียญ และให้ตกบนพื้น (โยนแบบยุติธรรม) โอกาสที่จะปรากฏหัวเท่ากับ 1/2 หรือ 0.5 
ที่มาของข้อมูล https://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/prob_even.htm
ความน่าจะเป็น
การทดลองสุ่ม ( random experiment ) คือการทดลองที่ไม่สามารถทำนายผลลัพธ์ได้อย่างถูกต้อง
ตัวอย่าง การโยนเหรียญขึ้นไปในอากาศ ถือว่าเป็นการทดลองสุ่ม เพราะยังไม่ทราบว่าเหรียญจะหงายหัวหรือก้อย 
การทอดลูกเต๋า 1 ลูก ถือว่าเป็นการทดลองสุ่ม เพราะยังไม่ทราบว่าลูกเต๋าจะขึ้นแต้ม 1 , 2 , 3 , 4 , 5 หรือ 6 
แซมเปิลสเปซ ( sample space ) คือเซตของผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม 
ตัวอย่าง เช่น ในการโยนเหรียญ 2 อัน 1 ครั้ง ถ้ามีผลลัพธ์ที่เราสนใจคือ การขึ้นหัวหรือก้อย
จะได้แซมเปิลสเปซ คือ {(H,H), (H,T), (T,H), (T,T)} เมื่อ (H,T) หมายถึงเหรียญอันที่ 1 ขึ้นหัว และเหรียญอันที่ 2 ขึ้นก้อย 
ในการโยนเหรียญ 2 อัน 1 ครั้ง ถ้ามีผลลัพธ์ที่เราสนใจคือ จำนวนก้อยที่ขึ้น จะได้แซมเปิลสเปซ คือ { 0 , 1 , 2 } 
เมื่อ 0 หมายถึงไม่ขึ้นก้อยทั้ง 2 อัน (นั่นคือขึ้นหัวทั้งสองอัน)
1 หมายถึงขึ้นก้อยเพียง 1 อัน (ขึ้นหัว 1 อัน)     
2 หมายถึงขึ้นก้อยทั้ง 2 อัน 
เหตุการณ์ ( event ) คือ สับเซตของแซมเปิลสเปซ 
ความน่าจะเป็น ของเหตุการณ์ 
คือ โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่สนใจเท่ากับเท่าใด 
หลักการหาความน่าจะเป็น
ให้ S เป็นแซมเปิลสเปซ ซึ่งแต่ละผลลัพธ์ใน S มีโอกาสเกิดขึ้นเท่าๆกัน       E เป็นสับเซตของ S 
ให้ P(E) เป็นสัญลักษณ์แทน ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ E เราสามารถหา P(E) 
ตัวอย่าง กล่องใบหนึ่งมีลูกแก้วสีขาว 3 ลูก สีแดง 2 ลูก หยิบลูกแก้วจากกล่อง 2 ลูก 
จงหาเหตุการณ์ที่จะได้ลูกแก้วสีขาว 1 ลูก สีแดง 1 ลูก 
เนื่องจากเราสนใจแซมเปิลสเปซของลูกแก้วแต่ละลูกที่ถูกหยิบขึ้นมา 
ดังนั้นเราให้ ข, ข2 , ข3 เป็นลูกแก้วสีขาว 3 ลูก และ ด1 , ด2 เป็นลูกแก้วสีแดง 2 ลูก 
แซมเปิลสเปซ S = { ข12 ,ข1, ข1,ข12, ข2ข , ข2ด , ข2ด 2 , ข31 , ข32 , ด12 } 
ให้ A เป็นเหตุการณ์ที่ผลลัพธ์เป็นลูกแก้วสีขาว 1 ลูก และสีแดง 1 ลูก 
เหตุการณ์ A = { ข1, ข1, ข2, ข22 , ข31, ข32 } 
จับสลากบรรจุ "ครูมืออาชีพ"ตัวอย่าง ความน่าจะเป็นที่ A เรียงเป็นตัวแรก จากการเรียงตัวอักษร 2 ตัวจากอักษร 3 ตัว คือ A , B และ C 
S = { AB , BA , AC , CA , BC , CB } 
E = { AB , AC } 
P(E) = 2/6
นั่นคือ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ A เรียงเป็นตัวแรก =  
ตัวอย่าง หยิบลูกบอล 2 ลูกจากกล่องซึ่งมีหมายเลข 1 ถึง 5 
จะได้แซมเปิลสเปซ คือ S = { (1,2),(1,3),(1,4),(1,5),(2,3) ,(2,4),(2,5),(3,4),(3,5),(4,5) } 
E1 แทนเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลที่มีหมายเลขเป็นจำนวนคู่ทั้ง 2 ลูก 
E1 = { (2,4) } 
E2 แทนเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลซึ่งผลบวกของหมายเลขเป็นจำนวนคู่ 
E2 = { (1,3) , (1,5) , (2,4) , (3,5) } 
E3 แทนเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลซึ่งผลบวกของหมายเลขเป็นจำนวนคี่ 
E3 = { (1,2) , (1,4) , (2,3) , (2,5) , (3,4) , (4,5) } 
E4 แทนเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลซึ่งหมายเลขเรียงกัน 
E4 = { (1,2), (2,3) , (3,4) , (4,5) } 
E1 U E2 = { (1,3) , (1,5) , (2,4) , (3,5) } 
P(E1 U E2) = 4/10
E1  E2 = { (2,4) } 
P(E1  E2) = 1/10
E3 U E4 = { (1,2) , (1,4) , (2,3) , (2,5) , (3,4) , (4,5) } 
P( E3 U E4) =6/10
E3  E4 = { (1,2), (2,3) , (3,4) , (4,5) } 
P( E3  E4) =4/10
E1 - E2 = { } 
P(E1 - E2) = 0 
E2 - E1 = { (1,3) , (1,5) , (3,5) } 
P(E2 - E1 ) = 3/10
E4 ' = {(1,3),(1,4),(1,5),(2,4),(2,5),(3,5)} 
P(E4' ) =6/10
E1'  E3' = ( E1U E3 )' 
E1U E 3 = { (1,2) , (1,4) , (2,3) , (2,4) , (2,5) , (3,4) , (4,5) } 
(E1U E3)'= { (1,3) , (1,5) , (3,5) } 
ดังนั้น E1'  E3' = { (1,3) , (1,5) , (3,5) } 
P(E1' E3') =3/10 
แบบฝึกทักษะ จงเลือกข้อความที่ถูกต้องที่สุด
1. ในการโยนเหรียญ 2 เหรียญ 1 ครั้ง ความน่าจะเป็นที่ขึ้นหัวหรือก้อยต่างกันเท่ากับเท่าไร 
ก. 1/2 
ข. 3/4
ค. 2/3
ง. 1/4
2. ครอบครัวหนึ่งต้องการมีบุตร 2 คน จงหาความน่าจะเป็นที่จะเกิดบุตรหญิงอย่างน้อย 1 คน
ก. 1/3
ข. 2/3
ค. 3/4
ง. 1/4
3. หยิบลูกบอล 2 ลูกจากกล่องซึ่งมีลูกบอล 5 ลูก ลักษณะเหมือนกันทุกลูก เป็นสีแดง 2 ลูก สีดำ 2 ลูก และสีขาว 1 ลูก จงหา 
P(A U B) มีค่าเท่ากับข้อใด 5 ถ้าให้ A แทนเหตุการณ์ที่หยิบได้สีแดงทั้ง 2 ลูก B แทนเหตุการณ์ที่หยิบได้สีดำทั้ง 2 ลูก C แทนเหตุการณ์ที่หยิบได้สีขาวทั้ง 2 ลูก และ D แทนเหตุการณ์ที่หยิบได้สีแดงอย่างน้อย 1 ลูก 
ก. 0
ข. 1/5
ค. 2/5
ง. 3/5
4. กำหนดให้ A และ B เป็นเหตุการณ์ใดๆ โดยที่ P(A) = 0.5 , P(A U B) = 0.75 , P(B') = 0.625 จงหา P(B U A')
ก. 0.5
ข. 0.75
ค. 0.625
ง. 0.25
5. โรงเรียนแห่งหนึ่งสำรวจพบว่า มีนักเรียนป่วยเป็นโรคหืดหรือหอบ 60 % ป่วยเป็นโรคหืด 41 % ป่วยเป็นโรคหอบ 28 % ถ้าเรา
เลือกคนไข้มา 1 คนอย่างสุ่ม จงหาความน่าจะเป็นที่นักเรียนป่วยรายนี้ป่วยเป็นโรคหืดเพียงอย่างเดียว 
ก. 0.09
ข.  0.32
ค.  0.50
ง.  0.90
6. กล่องใบหนึ่งมีลูกบอลสีขาว 5 ลูก สีดำ 4 ลูก และสีแดง 3 ลูก สุ่มหยิบลูกบอลจากกล่องใบนี้ 2 ลูก ความน่าจะเป็นที่จะได้ลูก
บอลซึ่งไม่ใช่สีขาวอย่างน้อย 1 ลูก มีค่าเท่ากับเท่าใด
ก. 5/33
ข. 10/33
ค. 28/33
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/yala/ampornpan/mathonline/learn/seventh.html
คำถามในห้องเรียน
จับสลากบรรจุ "ครูมืออาชีพ"นักเรียนคิดว่าความน่าจะเป็นของสิต นักศึกษาจากผู้สมัครทั้งสิ้น 2,323 คน จับสลากจะคัดเลือกให้เหลือเพียง 829 คน 
จงหาความน่าจะเป็นตามอัตราว่าง สพฐ. 750 อัตรา และ สอศ. 79 อัตรา

ข้อเสนอแนะ
การจับสลาก เป็นวิธีการที่โปร่งใสที่สุด และเป็นธรรม จริงหรือไม่ มองต่างมุม

การบูรณาการกับกลุ่มสาระฯอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

สาระที่  1   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว  1.1  เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของ
ระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรง
ชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 3   เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส 3.1  เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ 
มาตรฐาน ส 3.2   เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกัน
ทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการ
อ่าน     
ที่มาของภาพ
https://api.ning.com/files/Z53ujEVFJzXa2tRFVftuZ96J0vmI9e4FPY6d6fyBnfeR*sWxGL28DkO6pRLqG96SlOG7L9pxSiE
ที่มาของภาพ
https://www.tcdcconnect.com/content/blog/wp-content/uploads/2010/10/teacher.jpg
ที่มาของภาพ
https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRc3R1ed-CttwhYqiMi4I2xDkfmlHAT96Mp-fx9lxmiePUZamc0btJGQzuZ6g
ที่มาของภาพ
https://www.thaigoodview.com/files/u40898/6_0.jpg
ที่มาของภาพ https://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/prob_even_files/image008.jpg
KOot*fp1dz1NGB-nN9Zol/logo.jpg?crop=1%3A1&width=171 
ฝากทบทวน เรื่อง การหาลิมิตของฟังก์ชัน
ความต่อเนื่องของฟังก์ชัน 
https://www.youtube.com/watch?v=Llp_Q6ZsW_4
การหาลิมิตของฟังก์ชัน
https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/yala/ampornpan/calculus/1-limit-2.htm
ตัวอย่างการหาค่าลิมิตของฟังก์ชัน กรณีเป็นเศษส่วน 
https://www.bs.ac.th/2548/e_bs/g2/chintana1/ex1.html


ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4782

อัพเดทล่าสุด