การจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็น 6 กลุ่มสาระวิชา
โรงเรียน.ดังขานรับหลักสูตรใหม่
นายภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยความคืบหน้าการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะนำร่องในปีการศึกษา 2557 โดยแบ่งการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาออกเป็น 6 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่
1. กลุ่มภาษาและวรรณกรรม
2. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีสารสนเทศ
4. สังคมและความเป็นมนุษย์
5. โลก ภูมิภาคและอาเซียน และ
6. ชีวิตกับโลกของงาน
รวมทั้งปรับลดชั่วโมงเรียนในห้องเรียนเหลือ 600 ชั่วโมงต่อปี และเรียนนอกห้องเรียน 400 ชั่วโมงต่อปี จากเดิมเรียน 1,000-1,200 ชั่วโมงต่อปีว่า การประชุมคณะกรรมการปฏิรูป
หลักสูตรทั้ง 6 กลุ่มสาระวิชาในวันที่ 27 มิถุนายน นี้ เชื่อว่าจะเห็นความชัดเจนเกี่ยวกับโครงร่างหลักสูตรประมาณ 80% โดยมีเป้าหมายจะเริ่มนำร่องในโรงเรียนทั้ง 4 กลุ่ม คือ
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กลุ่มโรงเรียนสาธิตต่างๆ รวมประมาณ 3,000 โรงเรียน
โดยจะให้มหาวิทยาลัยประมาณ 30 แห่ง เป็นเครือข่ายในการสร้างความเข้าใจกับผู้บริหารโรงเรียนและครู คาดว่า หลักสูตรทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกันยายนนี้
นางจำนงค์ แจ่มจันทร์วงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา กล่าวว่า เห็นด้วยกับการปฏิรูปหลักสูตร เท่าที่ดูจะช่วยลดภาระงานให้เด็ก และเน้นให้เกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์มากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน ตนเห็นว่าทุกโรงเรียนจะต้องปฏิบัติตามหลักสูตรแกนกลางอยู่แล้ว และการปรับกระบวนการเรียนการสอนของครูก็ไม่ใช่เรื่องยาก
ที่มาของข้อมูล https://www.kroobannok.com/59245
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
การให้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning)
การให้เหตุผลแบบอุปนัย เป็นวิธีการสรุปผลมาจากการค้นหาความจริงจากการสังเกตหรือการทดลองหลายครั้งจากกรณีย่อยๆ แล้วนำมาสรุปเป็นความรู้แบบทั่วไป การหาข้อสรุปหรือความจริงโดยใช้วิธีการให้เหตุผลแบบอุปนัยนั้น ไม่จำเป็นต้องถูกต้องทุกครั้ง เนื่องจากการให้เหตุผลแบบอุปนัยเป็นการสรุปผลเกิดจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่ ดังนั้นข้อสรุปจะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล หลักฐานและข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างซึ่ง ได้แก่
ว่า ส้มตำนั้นทำให้ท้องเสีย การสรุปเหตุการณ์นั้นอาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ย่อมเชื่อถือได้น้อยกว่าการที่ไปรับประทานส้มตำบ่อยๆแล้วท้องเสียเกือบทุกครั้ง
1. จำนวนข้อมูล หลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่นำมาเป็นข้อสังเกตหรือข้ออ้างมีมากพอกับการสรุปความหรือไม่ เช่น ถ้าไปทานส้มตำที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งแล้วท้องเสีย แล้วสรุป
2. ข้อมูล หลักฐานหรือข้อเท็จจริง เป็นตัวแทนที่ดีในการให้ข้อสรุปหรือไม่ เช่น ถ้าอยากรู้ว่าคนไทยชอบกินข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวมากกว่ากัน ถ้าถามจากคนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือหรือภาค-อีสาน คำตอบที่ตอบว่าชอบกินข้าวเหนียวอาจจะมีมากกว่าชอบกินข้าวจ้าว แต่ถ้าถามคนที่อาศัยอยู่ในภาคกลางหรือภาคใต้ คำตอบอาจจะเป็นในลักษณะตรงกันข้าม
ตัวอย่างการให้เหตุผลแบบอุปนัย
ตัวอย่างที่ 1 จงหาว่า ผลคูณของจำนวนนับสองจำนวนที่เป็นจำนวนคี่ จะเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ โดยการให้เหตุผลแบบอุปนัย
วิธีทำ เราจะลองหาผลคูณของจำนวนนับที่เป็นจำนวนคี่หลาย ๆ จำนวน ดังนี้
1 × 3 = 3 3 × 5 = 15 5 × 7 = 35 7 × 9 = 63
1 × 5 = 5 3 × 7 = 21 5 × 9 = 45 7 × 11 = 77
1 × 7 = 7 3 × 9 = 27 5 × 11 = 55 7 × 13 = 91
1 × 9 = 9 3 × 11 = 33 5 × 13 = 65 7 × 15 = 105
จากการหาผลคูณดังกล่าว โดยการอุปนัย จะพบว่า ผลคูณที่ได้เป็นจำนวนคี่
สรุป ผลคูณของจำนวนนับสองจำนวนที่เป็นจำนวนคี่ จะเป็นจำนวนคี่ โดยการให้เหตุผลแบบอุปนัย
ตัวอย่างที่ 2 จงหาพจน์ที่อยู่ถัดไปอีก 3 พจน์
1) 1, 3, 5, 7, 9, ...
2) 2, 4, 8, 16, 32, ...
วิธีทำ
1) จากการสังเกต พบว่า แต่ละพจน์มีผลต่างอยู่ 2 (3 – 1 = 2, 5 – 3 = 2, 9 - 7 = 2) ดังนั้น อีก 3 จำนวน คือ 11, 13, 15
2) จากการสังเกต พบว่า แต่ละพจน์จะมีการไล่ลำดับขึ้นไป ถ้าลองสังเกตดู จะอยู่ในรูปแบบ 2×2n โดยที่ n เป็นจำนวนเต็มบวกที่เริ่มตั้งแต่ 0 ดังนั้น พจน์ที่ 6 คือ 2×25 =64,
พจน์ที่ 7 คือ 128 และพจน์ที่ 8 คือ 256 หรืออาจมองในอีกแง่หนึ่ง เราจะพบว่า จำนวนแต่ละจำนวนจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 2 เท่าก็ได้
ตัวอย่างที่ 3 ให้เลือกจำนวนนับมาหนึ่งจำนวน และปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. คูณจำนวนนับที่เลือกไว้ด้วย 4
2. บวกผลลัพธ์ ในข้อ 1. ด้วย 6
3. หารผลบวก ในข้อ 2.ด้วย 2
4. ลบผลหาร ในข้อ 3. ด้วย 3
เช่นถ้าเลือก 5
1. คูณจำนวนที่เลือกไว้ด้วย 4 จะได้ 5 x 4 = 20
2. บวกผลลัพธ์ใน ข้อ 1 ด้วย 6 จะได้ 20 + 6 = 26
3. หารผลบวกใน ข้อ 2. ด้วย 2 จะได้ = 13
4. ลบผลหารใน ข้อ 3. ด้วย 3 จะได้ 13 – 3 = 10
จะพบว่าจากจำนวนที่เลือก คือ 5 จะได้คำตอบสุดท้ายเท่ากับ 10 ซึ่งจะมีค่าเท่ากับสองเท่าของจำนวนที่เลือกไว้ครั้งแรกเสมอ
ที่มาของข้อมูล https://sites.google.com/site/jirapornsringam/kar-hi-hetuphl-baeb-xupnay-inductive-reasoning
คำถามในห้องเรียน
1. นักเรียนคิดว่า"การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำร่องในปีการศึกษา 2557 โดยแบ่งการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาออกเป็น 6 กลุ่มสาระวิชา" เป็นการให้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) หรือไม่เพราะเหตุใด อภิปราย
การบูรณาการกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
ข้อเสนอแนะ
การปรับลดชั่วโมงเรียนในห้องเรียนเหลือ 600 ชั่วโมงต่อปี และเรียนนอกห้องเรียน 400 ชั่วโมงต่อปี จากเดิมเรียน 1,000-1,200 ชั่วโมงต่อปี ควรมีการจัดอบรมหรือมีแนวทางในการเรียนนอกห้องเรียนที่ชัดเจนก่อนเริ่มมีการปรับเปลี่ยนเวลาเรียน
ที่มาของภาพ https://www.vcharkarn.com/vcafe/153137
ที่มาของภาพ https://www.thaigoodview.com/files/u40898/3_0.jpg
ที่มาของภาพ https://image.ohozaa.com/i/31c/arv35.png
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4877