โรงเรียนต้นแบบ ... ไม่มีห้องเรียน เน้นการเรียนรู้


1,342 ผู้ชม


โรงเรียนในสวีเดน   

โรงเรียนต้นแบบในสวีเดน ไม่มีห้องเรียน เน้นการเรียนรู้

          ประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษา เช่น ปรับลดการบ้าน ลดสอบ และหันไปเน้นการทำกิจกรรมเพื่อการโรงเรียนต้นแบบ ... ไม่มีห้องเรียน เน้นการเรียนรู้เรียนรู้มากขึ้น รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่น่าสนใจ ในประเทศที่ขึ้นชื่อว่าติด 1 ใน 10 ประเทศน่าอยู่และอาชญากรรมน้อยที่สุดในโลกอย่างสวีเดน รูปแบบการศึกษาแบบใหม่ ไม่มีห้องเรียน แต่แบ่งพื้นที่เป็นโซนต่าง ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ ให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์อย่างที่สุด 
          โดยรูปแบบการเรียนการสอนแบบไม่มีห้องเรียน เป็นความคิดริเริ่มของ Vittra องค์กรการศึกษาในสวีเดนที่มีโรงเรียนในเครือถึง 30 แห่ง ได้นำรูปแบบการเรียนการสอนมาใช้ในโรงเรียนเทเลโฟนแพลน (Telefonplan) ในกรุงสต็อกโฮล์มเป็นแห่งแรก เมื่อ 2 ปีก่อน หลังจากเห็นว่า ห้องเรียนที่มีการจัดโต๊ะให้เด็ก ๆ นั่งเรียนเป็นแถว ๆ นั้นไม่ได้ช่วยให้เด็กได้คิดสร้างสรรค์ และทำอะไรร่วมกันได้มากพอ  
          ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ เป็นที่หนึ่งทาง Vittra จึงได้มีการสร้างโรงเรียนเทเลโฟนแพลนให้มีบรรยากาศแปลกตาด้วยฝีมือการออกแบบของบริษัทโรซาน บอสช์ จากโคเปนฮาเกน ที่ได้ออกแบบและจัดวางเฟอร์นิเจอร์เป็นโซน ๆ ทั้งโซนสำหรับการเรียนรู้ด้วยตัวเอง โซนสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่ม โดยแต่ละโซนจะไม่มีกำแพงกั้น เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ ส่งเสริมการทำงานอย่างอิสระ และการทำงานเป็นกลุ่มได้เป็นอย่างดี 
          ส่วนกิจกรรมกีฬา หรือกิจกรรมที่เด็ก ๆ อาจส่งเสียงดัง ทางโรงเรียนได้สร้างห้องแยกออกไป และเป็นห้องเก็บเสียงด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เสียงของเด็ก ๆ ที่กำลังเรียนกีฬา หรือกิจกรรมที่มีการใช้เสียง ไม่เล็ดลอดออกมารบกวนเด็กที่กำลังเรียนรู้อย่างเงียบ ๆ ภายนอก 
          ไม่มีห้องเรียนที่จำกัดขอบเขตเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ โรงเรียนแห่งนี้ยังแบ่งชั้นเรียนของเด็ก ๆ ตามเกณฑ์อายุ ไม่มีการประเมินเกรด แต่จะแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นระดับสติปัญญา เพื่อให้สามารถเรียนรู้ร่วมกันตามความเหมาะสม 
          นับว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่น่าสนใจ และอาจทำให้เด็ก ๆ อยากไปโรงเรียน และรักการเรียนรู้มากขึ้น

โรงเรียนต้นแบบ ... ไม่มีห้องเรียน เน้นการเรียนรู้ที่มาของข้อมูล https://education.kapook.com/view55703.html
ที่มาของภาพhttps://img.kapook.com/u/thitima/education/Vittra-Telefonplan-Interior-by-Rosan-Bosch-6.jpg
ที่มาของภาพhttps://img.kapook.com/u/thitima/education/Vittra-Telefonplan-Interior-by-Rosan-Bosch-8.jpg
ที่มาของภาพhttps://img.kapook.com/u/thitima/education/Vittra-Telefonplan-Interior-by-Rosan-Bosch-10.jpg
ที่มาของภาพhttps://img.kapook.com/u/thitima/education/Vittra-Telefonplan-Interior-by-Rosan-Bosch-16.jpg
ที่มาของภาพhttps://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/model_math7.gif
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ฝึกทักษะการคิดและลักษณะการคิดต่าง ๆ 

ทักษะการคิด คือ ความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานของการคิดระดับสูง ทักษะของการคิดมีหลายทักษะ เช่น การจำแนก การแยกแยะ การขยายความ การสรุป การคิดริเริ่ม เป็นต้น ลักษณะการคิดคือ รูปแบบของการคิดที่ประกอบด้วยทักษะการคิดหลาย ๆ ทักษะที่แตกต่างกัน ซึ่งการแก้ปัญหาหนึ่งๆได้นั้น อาจต้องใช้ทักษะการคิดหลายแบบประกอบกัน ทักษะการคิดและลักษณะการคิดที่สำคัญ ที่มักใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน มีแบบต่าง ๆ ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้
1 การคิดคล่องและคิดหลากหลาย การคิดคล่องและคิดหลากหลาย เป็นความสามารถที่จะคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ได้ผลการคิดจำนวนมาก รวดเร็ว ตรงประเด็น และมีความหลากหลาย สามารถแตกแยกเป็นหลายแขนง หลายกลุ่ม หลายลักษณะ หลายประเภท หรือหลายรูปแบบ ซึ่งเราสามารถพัฒนาได้ โดยการตั้งปัญหา หรือสถานการณ์ที่เป็นปัญหา แล้วฝึกตอบให้ได้คำตอบมากที่สุดในเวลาที่จำกัด และคำตอบนั้นต้องอยู่ในประเด็นของคำถาม 
ตัวอย่าง 1 ถ้านักศึกษามีเข็มหมุดจำนวนหนึ่ง นักศึกษาจะนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง ให้คิดออกมาให้มากที่สุด ภายในเวลา 4 นาทีแนวคิดคำตอบ 
โรงเรียนต้นแบบ ... ไม่มีห้องเรียน เน้นการเรียนรู้1.สะกิดเสี้ยนที่ตำมือ ตำเท้า 
2.ใช้เป็นอาวุธ 
3.สำหรับติดกระดาษกับผนัง หรือบอร์ด 
4.ไว้จิ้มแขนสำหรับปลุกให้ตื่น 
5.ใช้ทำเบ็ดตกปลา 
6.เอาไว้เปิดซองจดหมาย ซองเอกสาร 
7.สำหรับเขี่ยด้ายที่พันกันยุ่ง 
8.สำหรับกลัดผ้าที่หุ่นโชว์ 
9.กลัดผ้าเป็นแบบก่อนตัดเย็บเสื้อ กระโปรง 
10.ทำความสะอาดหวี 
11.สำหรับเจาะรูกระดาษ 
12.สำหรับทดลองเรื่องแม่เหล็ก 
การคิดวิเคราะห์และคิดผสมผสาน การคิดวิเคราะห์เป็นการแบ่งหรือแยกแยะสิ่งที่สนใจ หรือสิ่งที่เราต้องการศึกษาออกเป็นส่วนย่อย ๆ หรือออกเป็นแง่มุมต่าง ๆ แล้วทำการศึกษาส่วนย่อย ๆ นั้นอย่างละเอียด ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจหรือมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่สนใจหรือสิ่งที่ต้องการศึกษาได้มากขึ้น การคิดผสมผสาน เป็นการรวมความรู้ย่อย หรือผลจากการวิเคราะห์ให้เป็นข้อมูลใหม่ ข้อสรุปใหม่ กระบวนการใหม่ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ได้มากยิ่งขึ้น

การฝึกการคิดวิเคราะห์มี 2 ขั้นตอน คือ 
ขั้นที่ 1. ฝึกหัดแบ่งหรือแยกแยะสิ่งที่สนใจ หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา 
ขั้นที่ 2. ทำการศึกษาส่วนย่อยที่แบ่งหรือแยกแยะออกมาอย่างลึกซึ้ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่าง 2 แดงต้องการซื้อรถยนต์ จึงแยกแยะรถยนต์อย่างละเอียด ดังนี้ 
ขั้นที่ 1. แยกแยะส่วนต่างๆของรถยนต์ เช่น ตามสภาพที่มองเห็นได้ ดังนี้ ตัวถัง ประตู เครื่องยนต์ หม้อน้ำ พวงมาลัย เบาะ ล้อ โคม ไฟหน้ากระโปรงหน้ากระโปรงหลังเครื่องปรับอากาศเป็นต้น ตามสภาพความรู้สึก ดังนี้ ความสวยงาม ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย ความเร็ว ความแข็งแรง เป็นต้น 
ขั้นที่ 2. ศึกษาส่วนย่อย ๆ ที่แบ่งหรือแยกแยะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง หรือเพื่อเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ของส่วนย่อยต่าง ๆ ในที่นี้แดงศึกษาเกี่ยวกับส่วนย่อยต่าง ๆ เช่น ศึกษาเกี่ยวกับตัวถัง เครื่องปรับอากาศ ล้อ พวงมาลัย ความปลอดภัย ความสวยงาม ซึ่งส่งผลให้แดงมีความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ลึกซึ้งขึ้น จากนั้นนำรถยนต์ที่สนใจมาเปรียบเทียบกันในส่วนย่อยที่ได้ศึกษาไปแล้ว เพื่อเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจซื้อรถ

ตัวอย่าง 3 เราสามารถฝึกการคิดผสมผสานได้ในลักษณะหนึ่งคือ การนำความรู้ย่อย ๆ มาผสมผสาน เพื่อให้ได้แนวคิดใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ หรือกระบวนการใหม่ โดยในขั้นแรกนี้อาจพิจารณาจากสิ่งที่พบเห็นได้จริงก่อนว่าเกิดจากความรู้ย่อย ๆ ใดมาผสมผสานกัน เช่น 
1) โทรศัพท์ + เครื่องถ่ายเอกสาร ผลที่ได้คือ เครื่องโทรสาร 
2) ขนมแพนเค้ก + รูปหัวใจ ผลที่ได้คือ แพนเค้กรูปหัวใจ 
3) วงล้อ + เก้าอี้ ผลที่ได้คือ เก้าอี้เลื่อน 
4) ดินสอ + ยางลบ ผลที่ได้คือ ดินสอทั่วไปที่มียางลบด้านบน

ที่มาของข้อมูล https://www.bsru.ac.th/study/decision/ex2/a2.htm
คำถามในห้องเรียน
โรงเรียนต้นแบบ ... ไม่มีห้องเรียน เน้นการเรียนรู้จากข้อความ ข้างบน "โรงเรียนต้นแบบในสวีเดน ไม่มีห้องเรียน เน้นการเรียนรู้" จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ให้นักเรียนตั้ง คำถามที่สนใจ จากข้อความข้างบนมาอย่างน้อย 2 คำถาม
2. จากคำถามที่ตั้งขึ้นในข้อ 1 นักเรียนคิดว่า การที่นักเรียน ใฝ่ใจสืบค้นความรู้ นั้นสืบค้นจากอะไรได้บ้าง พร้อมทั้งบอกวิธีการหรือบอกที่มาของ www. ที่เกี่ยวข้อง
3. เมื่อนักเรียนได้ข้อคำถามในข้อ 1 และ สืบค้นความรู้ใน ข้อ 2 แล้ว ให้นักเรียน สรุปและบอกคุณค่าของสิ่งที่นักเรียนสนใจในข้อ 1 และบอกวิธีการในข้อ 2 แล้วสรุปบอกเป็นข้อๆ ในข้อ 3
ข้อเสนอแนะ
ให้นักเรียนใช้กระบวนการคิดอย่างหลากหลาย 
การบูรณาการกับกลุ่มสาระฯต่างๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1  เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
สาระที่ 4  ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และ   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4849

อัพเดทล่าสุด