สองสายใยไทยพุทธ-มุสลิม


666 ผู้ชม


‘‘สามัคคี คือ พลัง ’’ เป็นแนวคิดที่ได้รับปลูกฝังมาพร้อมกับสังคมไทย ที่สะท้อนให้เห็นอยู่เสมอในงานบุญงานกุศลต่าง ๆ ว่าคนไทยไม่เคยทิ้งกัน ผู้ใหญ่ก็ช่วยเหลือผู้น้อยผู้มีมากก็คอยเกื้อกูลผู้ขัดสน สังคมจึงอยู่ได้อย่างยืนยงมานับนาน วันนี้เราจะกลับไปฟ   

 

‘‘สามัคคี คือ พลัง ’’ เป็นแนวคิดที่ได้รับปลูกฝังมาพร้อมกับสังคมไทย ที่สะท้อนให้เห็นอยู่เสมอในงานบุญงานกุศลต่าง ๆ ว่าคนไทยไม่เคยทิ้งกัน ผู้ใหญ่ก็ช่วยเหลือผู้น้อยผู้มีมากก็คอยเกื้อกูลผู้ขัดสน สังคมจึงอยู่ได้อย่างยืนยงมานับนาน   วันนี้เราจะกลับไปฟื้นฟูความสมานสามัคคีที่มีค่าเหล่านั้น   เพื่อผนึกกำลังกันสร้างสังคมให้กลับแข็งแกร่งเป็นปึกแผ่นอีกครั้งภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร

                                                                     

            สถานการณ์ที่ผ่านมา ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดทางภาคใต้เป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ และร่วมมือกันแก้ไข ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ทางจังหวัดนราธิวาสได้จัดพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุระหว่างไทยพุทธ และไทยมุสลิม เพื่อเป็นการส่งเสริมความสมานฉันท์ในการดำรงชีวิตของการอยู่ร่วมกันให้แน่นแฟ้น ก่อให้เกิดความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อกันระหว่างไทยพุทธกับมุสลิม ซึ่งพิธีดังกล่าว  สะท้อนให้เห็นถึงความรักใคร่ สามัคคี ของคนในชุมชน 

การที่คนเราสามารถดำรงชีวิตในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขนั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยความสามัคคีของคนในชุมชน หากเรารู้จักเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และรู้จักการให้อภัยกันอยู่ตลอดเวลา สังคมที่เราอยู่ในปัจจุบันนี้คงจะมีความสงบสุขและน่าอยู่มากกว่านี้ยิ่งนัก ถ้าหากว่าสมาชิกในสังคมแต่ละคนได้นำ หลักธรรมที่สร้างเสริมความสามัคคี มาใช้ในชีวิตของเรา ความสามัคคีจึงเป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จทั้งปวง ความสามัคคีจึงเป็นแหล่งพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงให้เกิดขึ้นได้ และเป็นสิ่งที่สมาชิกในสังคมทุกๆคนควรที่จะตระหนัก เอาใจใส่ และสร้างสรรค์ขึ้นให้มากที่สุด 

 

           ‘‘สามัคคี คือ พลัง ’’ เป็นแนวคิดที่ได้รับปลูกฝังมาพร้อมกับสังคมไทย ที่สะท้อนให้เห็นอยู่เสมอ
ในงานบุญงานกุศลต่าง ๆ ว่าคนไทยไม่เคยทิ้งกัน ผู้ใหญ่ก็ช่วยเหลือผู้น้อยผู้มีมากก็คอยเกื้อกูลผู้ขัดสน สังคมจึงอยู่ได้อย่างยืนยงมานับนาน   วันนี้เราจะกลับไปฟื้นฟูความสมานสามัคคีที่มีค่าเหล่านั้น   เพื่อผนึกกำลังกันสร้างสังคมให้กลับแข็งแกร่งเป็นปึกแผ่นอีกครั้งภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาi
       
      สถานการณ์ที่ผ่านมา ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดทางภาคใต้เป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ และร่วมมือกันแก้ไข ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ทางจังหวัดนราธิวาสได้จัดพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุระหว่างไทยพุทธ และไทยมุสลิม เพื่อเป็นการส่งเสริมความสมานฉันท์ในการดำรงชีวิตของการอยู่ร่วมกันให้แน่นแฟ้น ก่อให้เกิดความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อกันระหว่างไทยพุทธกับมุสลิม ซึ่งพิธีดังกล่าว  สะท้อนให้เห็นถึงความรักใคร่ สามัคคี ของคนในชุมชน 
             การที่คนเราสามารถดำรงชีวิตในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขนั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยความสามัคคีของคนในชุมชน หากเรารู้จักเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และรู้จักการให้อภัยกันอยู่ตลอดเวลา สังคมที่เราอยู่ในปัจจุบันนี้คงจะมีความสงบสุขและน่าอยู่มากกว่านี้ยิ่งนัก ถ้าหากว่าสมาชิกในสังคมแต่ละคนได้นำ หลักธรรมที่สร้างเสริมความสามัคคี มาใช้ในชีวิตของเรา ความสามัคคีจึงเป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จทั้งปวง ความสามัคคีจึงเป็นแหล่งพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงให้เกิดขึ้นได้ และเป็นสิ่งที่สมาชิกในสังคมทุกๆคนควรที่จะตระหนัก เอาใจใส่ และสร้างสรรค์ขึ้นให้มากที่สุด
             ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียง ความปรองดองที่ร่วมมือกันทำ ร่วมมือร่วมใจกันทำ  ซึ่งในทางพระพุทธศาสนา หลักธรรมอันจะเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งอยู่ในหมวดธรรมที่เรียกว่า "สาราณียธรรม 6 " หากสังคมใดต้องการที่จะเสริมสร้างความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้น ก็ควรที่จะต้องนำเอาหลักธรรมธรรมทั้ง 6 ประการไปใช้ ประกอบด้วย
            1. เมตตามโนกรรม หมายถึง การคิดดี การมองกันในแง่ดี มีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน รักและเมตตาต่อกัน คิดแต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ต่อกัน ไม่อิจฉาริษยา ไม่คิดอคติ ไม่พยาบาท ไม่โกรธแค้นเคืองกัน รู้จักให้โอกาสและให้อภัยต่อกันและกันกันอยู่เสมอ
            2. เมตตาวจีกรรม หมายถึง การพูดแต่สิ่งที่ดีงาม พูดกันด้วยความรักความปรารถนาดี รู้จักการพูดให้กำลังใจกันและกัน ในยามที่มีใครต้องพบกับความทุกความผิดหวังหรือความเศร้าหมองต่างๆ โดยที่ไม่พูดจาซ้ำเติมกันในยามที่มีใครต้องหกล้มลง ไม่นินทาว่าร้ายทั้งต่อหน้าและลับหลัง พูดแนะนำในสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ 
            3. เมตตากายกรรม หมายถึง การทำความดีต่อกัน สนับสนุนช่วยเหลือกันทางด้านกำลังกาย มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่เบียดเบียนหรือรังแกกัน ไม่ทำร้ายกัน ให้ได้รับความทุกขเวทนา ทำแต่ในสิ่งที่ถูกต้องต่อกันอยู่ตลอดเวลา
            4. สาธารณโภคี หมายถึง การรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์กันด้วยความยุติธรรม ช่วยเหลือกัน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่เอารัดเอาเปรียบ และมีความเสมอภาคต่อกัน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันอยู่เสมอ
            5. สีลสามัญญตา หมายถึง การปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อบังคับหรือวินัยต่างๆอย่างเดียวกัน เคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ไม่อ้างอำนาจบาตรใหญ่ ไม่ถืออภิสิทธิ์ใดๆทั้งปวง
            6. ทิฏฐิสามัญญตา หมายถึง มีความคิดเห็นเป็นอย่างเดียวกัน คิดในสิ่งที่ตรงกัน ปรับมุมมองให้ตรงกัน รู้จักแสงหาจุดร่วมและสงวนไว้ซึ่งจุดต่าง ของกันและกัน ไม่ยึดถือความคิดของตนเป็นใหญ่ รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นอยู่เสมอ

ประโยชน์ของความสามัคคี

      1.  ความสุขใจ เพราะใจที่มีความรักใคร่นับถือเป็นอารมณ์ย่อมแช่มชื่นเบิกบาน ทำให้เป็นคนใจกว้าง รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็ฯของผู้อื่น รู้จักเสียสละแบ่งบัน เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

      2. ความสำเร็จในการดำรงชีวิต ชีวิตเรามีความสุขได้เพราะความสามัคคีของหมู่คณะ ดังพุทธภาษิตที่ตรัสสั่งสอนไว้ว่า “สุขา สังฆัสสะ สามัคคี” แปลว่า ความพร้อมเพรียงของหมู่ทำให้เกิดสุข

โทษของการแตกสามัคคี

            การแตกสามัคคีย่อมเป็นทางแห่งหายนะอย่างยิ่ง   และเป็นทางแห่งความทุกข์ ในทุก ๆ สังคมถ้าแตกความสามัคคีกันแล้ว ความล่มจม ตกต่ำก็จะเกิดขึ้น และที่สังคมดูเหมือนมีปัญหา มีความแตกแยก และวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้ ก็เป็นเพราะว่าทุกคนละเลยหลักธรรมเหล่านี้ และกระทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม กล่าวคือ ขาดความรักความเมตตา อิจฉาริษยากัน นินทาว่าร้ายกัน เบียดเบียนและรังแกกัน เห็นแก่ตัว ถืออภิสิทธิ์ อ้างอำนาจบาตรใหญ่ และมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ต่างคนต่างก็ถือความคิดของตนเป็นใหญ่อยู่ตลอดเวลา
 
                     คนไทยได้ชื่อว่าเป็นคนที่ใจดีมีความรักความเมตตา โอบอ้อมอารี ใจบุญสุนทาน ยิ้มเก่ง ชอบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นนิสัยปกติทั่วไปของคนไทยเกือบทุกคน และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนไทย ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของไทยเลยก็ว่าได้ “เรามาร่วมมือกันพัฒนาสังคมของเราให้มีความอบอุ่นและน่าอยู่กันเถอะ” โดยการเสริมสร้างความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้เกิดขึ้นในสังคมของเรา แล้วเราจะได้พบกับสันติภาพและความอบอุ่นที่เราแต่ละคนต่างก็ปรารถนาและใฝ่ฝันหากันอยู่ตลอดมา

          จากสาระข้างต้น มีประเด็นเชิญชวน ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ดังนี้

·       ความสามัคคีทำให้สังคมสงบสุขจริงหรือไม่ ?

·       ความสามัคคี จะช่วยพัฒนาโรงเรียนของเราได้อย่างไรบ้าง?

·       เมื่อโตขึ้นนักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไร เพื่อให้สังคมสงบสุข ?

                กิจกรรมแนะนำ

                ควรจัดกิจกรรมให้สมาชิกได้แสดงออกถึง ความสามัคคี เช่น กิจกรรมด้านกีฬา ดนตรี เป็นต้น 

              อ้างอิง

             หนังสือพิมพ์ข่าวสด  ฉบับวันเสาร์ที่ 25  เมษายน  2552 ฉบับที่ 6,722

             ธรรมะกับการเสริมสร้างความสามัคคี . https://www.geocities.com/moralcamp/dh1.html

             พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 . https://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

          โดย

            นางอารีย์  จันทร์ประคอง

               โรงเรียนบ้านบางเหรียง

                  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=58

อัพเดทล่าสุด