ครูครับ.....ผมไม่อยากเรียนวิชาสังคมศึกษา ครับ ตำสารภาพจากนักเรียนหลังห้อง


814 ผู้ชม


เรียนวิชาสังคมศึกษาอย่างไร ให้สนุกและมีความสุขในการเรียน   

ครูครับ...ผมไม่อยากเรียนวิชาสังคมศึกษา ครับ 
คำสารภาพจากนักเรียนหลังห้อง 

ครูครับ.....ผมไม่อยากเรียนวิชาสังคมศึกษา ครับ ตำสารภาพจากนักเรียนหลังห้อง

คำเตือน:

 บทความนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 13 ปีขึ้น และไม่ชอบวิชาสังคมศึกษาในระดับมากถึงมากที่สุด


           มีนักเรียนหลายคนที่ไม่ชอบเรียนวิชาสังคมศึกษา โดยมีผลจากการสำรวจวิชาเรียนที่นักเรียนไม่อยากเรียนมากที่สุดพบว่า วิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาแรกๆ ที่นักเรียนไม่อยากเรียนดังที่ กรุงเทพโพล สำรวจนักเรียนมัธยมศึกษาในเขคกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7-8 มกราคม 2552 พบว่า 5 อันดับแรกของวิชาเรียนที่นักเรียนไม่ชอบเรียนมากที่สุด ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา และวิทยาศาสตร์ ตามลำดับ โดยนักเรียนให้เหคุผลว่าไม่ชอบวิชาสังคมศึกษา เพราะว่า เรียนแล้วเครียด ต้องเขียนเยอะ และไม่ชอบ
ท่องจำ

(อ้างอิงจาก : https://www.suanboard.net/

ครูครับ.....ผมไม่อยากเรียนวิชาสังคมศึกษา ครับ ตำสารภาพจากนักเรียนหลังห้อง

                    จากผลการสำรวจความคิดเห็นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า มีนักเรียนอีกจำนวนมากที่เรียนวิชาสังคมศึกษา แบบไร้ความสุขในการเรียน แต่จำเป็นต้องเรียน เพราะหลักสูตรกำหนดให้เรียน และต้องใช้ผลการเรียนเพื่อประโยชน์ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย(สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย) ถ้าเราไม่สามารถปฏิเสธการเรียนวิชาสังคมศึกษาได้ เราลองมาทำความรู้จัก กับวิชาสังคมศึกษา กันดีไหมครับ ว่า วิชานี้ ธรรมชาติวิชามันเป็นอย่างไร แล้วเราจะเรียนสังคมศึกษาอย่างไร จึงจะมีความสุข และสนุกกับการเรียน

ครูครับ.....ผมไม่อยากเรียนวิชาสังคมศึกษา ครับ ตำสารภาพจากนักเรียนหลังห้อง

                   วิชาสังคมศึกษา คือวิชา อะไร ? สังคมศึกษา เป็นวิชาที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม(ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น) เนื้อหาที่เรียนในวิชาสังคมศึกษา จะประกอบไปด้วยเรื่องราว เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ กฎหมาย สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ และศาสนา เห็นไหมครับว่าวิชานี้เนื้อหากว้างมากๆ เพราะฉะนั้นนักเรียนจะรู้สึกว่าเรียนวิชานี้แล้วมีเนื้อมากมาย จดจำไม่ไหวกันเลยทีเดียว

                   เราเรียนวิชาสังคมศึกษาไปทำไม ? นักเรียนหลายคนคงตอบในใจว่า ก็เรียนเพื่อไปสอบนะซิ ถามได้ ก็จริงอยู่ว่าเรียนเพื่อนำความรู้ไปสอบเพื่อวัดผลและประเมินผลตัดเกรด หรือผลการเรียน แต่การเรียนวิชานี้นอกจากนักเรียนจะได้เกรดแล้ว นักเรียนยังได้รับประโยชน์มากมายเพราะ เป้าหมายที่แท้จริงของการเรียนวิชาสังคมศึกษา เพื่อต้องการให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้จริงในการดำเนิน ชีวิตประจำวันและอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี

                แล้วนักเรียนจะเรียนสังคมศึกษาอย่างไร จึงจะประสบผลสำเร็จและมีความสุขในการเรียน

        ประการแรก ต้องเข้าใจในสภาพของวิชาสังคมศึกษาเสียก่อนว่ามีลักษณะอิงอยู่กับเหตุการณ์ ทฤษฎี มูลเหตุความขัดแย้ง รวมทั้งสภาพปัญหาในอดีตและปัจจุบันเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น เนื้อหาวิชาจึงมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา หากเราไม่ได้ติดตามต่อเนื่อง ย่อมมีโอกาสพลาดข่าวไปอย่างน่าเสียดาย และข่าวสารเหล่านั้นก็ย่อมมีโอกาสที่จะย้อนกลายมาเป็นข้อสอบ ได้เสมอ 
         อ่านมาถึงบรรทัดนี้คนที่ไม่ชอบเอาเสียเลยกับการต้องติดตามข่าวสารก็อย่าเพิ่งด่วนท้อใจเนื่องจากโดยมากข้อสอบมักจะถูกอุดช่องว่างต่างๆ ไว้แล้วอย่างดี ดังจะเห็นจากข้อสอบมักจะให้วิเคราะห์สภาพสังคมทั่วไปหรือเหตุการณ์ในอดีตที่มีข้อยุติอย่างชัดเจนแล้วมากกว่าที่จะถามประเด็นเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงในปัจจุบันที่ยังไม่หยุดนิ่ง อาทิ สงครามโลกครั้งที่ 1-2 สิ้นสุดแล้ว หรือประเภทลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญ ฯลฯ ถึงอย่างไรก็ตาม ลักษณะของข้อสอบ มุ่งเน้นให้ผู้ตอบรู้จักวิเคราะห์และใช้เหตุผลมากกว่าการท่องจำ เท่ากับว่าข้อสอบวิชาสังคมฯ สามารถทดสอบความเข้าใจของผู้สอบโดยถามถึงข่าวสารปัจจุบันได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของนักเรียนที่ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาทและพยายามต้องติดตามข่าวสารบ้างตามสมควร 

ครูครับ.....ผมไม่อยากเรียนวิชาสังคมศึกษา ครับ ตำสารภาพจากนักเรียนหลังห้อง 

            ประการที่สอง ต้องเป็นคน intrend (เด็กแนวหูตากว้างไกล) จำเป็นต้องมีเครื่องมือ

หรือแหล่งค้นคว้า นักเรียนหลายคนคงได้ชมภาพยนตร์เรื่อง “ทวิภพ” (ฉบับคุณสุรพงษ์ พินิจค้า) ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ในยุคล่าอาณานิคมรัชกาลที่ 4 - 5 ที่สังคมไทยอาศัยภูมิปัญญาความรู้เข้าต่อสู้กับศัตรู ผู้เขียนยกตัวอย่างชักแม่น้ำทั้งห้าเสียขนาดนี้เพื่อให้เห็นว่าภูมิปัญญาความรู้เป็นสิ่งสำคัญ แม้แต่ในปัจจุบันก็ตาม ด้วย Trend หรือทิศทางของสังคมโลกปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็น “สังคมอุดมปัญญา” (Knowledge Based Society) (ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. หรือโมเดิร์นไนน์มักกล่าวถึงคำนี้อยู่บ่อยๆ - ผู้เขียน) เช่นเดียวกับที่สมัยนี้วัยรุ่นนิยมคำว่า “In Trend” หรือ “เด็กแนว” ทำนองนั้นเอง วัยรุ่นหรือเด็กแนวอย่างนักเรียนนั้น โดยธรรมชาติย่อมให้ความสนอกสนใจในเรื่องแฟชั่นการแต่งกายหรืออุปกรณ์โทรศัพท์ต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ แต่เพื่อให้เป็นคน “intrend” ที่สมบูรณ์แล้วละก็น่าจะลองแข่งขันในการเท่าทันสังคมโลกและข้อมูลข่าวสารไปพร้อมๆ กัน แนวทางหนึ่งที่นักเรียนสามารถบริโภคสื่อและนำมาประยุกต์กับการเรียนวิชาสังคมศึกษาได้อย่างไม่ยากเย็นและปฏิบัติได้จริง มีดังนี้ 

ครูครับ.....ผมไม่อยากเรียนวิชาสังคมศึกษา ครับ ตำสารภาพจากนักเรียนหลังห้อง

                       ขั้นตอนแรก เลือกบริโภคสื่อ นักเรียนส่วนใหญ่ที่นิยมชมรายการโทรทัศน์อยู่แล้วสามารถหาโอกาสรับชมรายการข่าวภาคค่ำซึ่งเป็นรายการงานการสรุปวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมืองทั้งในและต่างประเทศ โดยใช้เวลาเพียงไม่เกินวันละ 20 นาที นอกจากนี้ อาจหาโอกาสสนทนากับพ่อแม่ผู้ปกครองและเพื่อนฝูงในประเด็นข่าวต่างๆ โดยบางข่าวอาจจะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราโดยอ้อม แต่ข่าวบางเรื่องนั้นก็ส่งผลกระทบโดยตรง ทีนี้พอจะเริ่มเห็นบ้างไหมครับว่า ข่าวต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา สนุกและมีสีสันของชีวิตกว่าที่เคยคิดทีเดียว? 
                 ขั้นตอนที่สอง อ่านหนังสือให้ถ้วนทั่ว ธรรมชาติของวัยรุ่นทั่วไปย่อมให้ความสนใจต่อข่าวคราวของบุคคลที่มีชื่อเสียง อาทิ นักแสดง นักกีฬา ฯลฯ อยู่แล้ว ทำให้นิตยสารแทบทุกประเภท แม้แต่นิตยสารวัยรุ่นล้วนมีพื้นที่คอลัมน์ข่าวสารแทรกอยู่ทั้งสิ้น การกวาดสายตาอ่านคอลัมน์ต่างประเทศ ภูมิภาค หรือสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมบ้างก็จะทำให้นักเรียนอ่านหนังสือเล่มนั้นอย่างคุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียไป ทั้งช่วยให้เปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างไกลอีกด้วย สื่อต่างๆ นี้รวมถึงในเว็บไซต์วัยรุ่นยอดนิยมต่างๆ ด้วยเช่น www.sanook.com เป็นต้นที่มีข่าวสารทันเหตุการณ์บรรจุไว้ เพียงแต่เราต้องเพิ่มความสนใจบ้างสักนิดเท่านั้นเอง 
                  ขั้นตอนที่สาม ข่าวใกล้ตัวต้องสะสม ขั้นตอนนี้อาจเพิ่มภาระขึ้นบ้าง แต่ไม่ถึงกับหนักหนาสาหัสจนเกินไป นั่นคือให้นักเรียนหาซื้อเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับวันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่ไว้ก่อนโดยเลือกตัดเก็บหน้าสรุปเหตุการณ์ข่าวในรอบปี อย่าเพิ่งนำไปชั่งกิโลขาย เพราะข่าวเก่าเก็บเหล่านี้มีโอกาสไม่น้อยที่จะกลายเป็นแหล่งข้อมูลวิชาสังคมศึกษาในอนาคต


ครูครับ.....ผมไม่อยากเรียนวิชาสังคมศึกษา ครับ ตำสารภาพจากนักเรียนหลังห้อง 

                   ประการที่สาม ทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีตั้งคำถาม ในแง่ยุคสมัยของเหตุการณ์ในอดีต จำพวกสงคราม ความขัดแย้ง การจัดตั้งความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือลัทธิ ค่านิยมต่างๆ ฯลฯ ก็ถือว่าเป็นอุปสรรคในการจดจำส่วนหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนขอเสนอให้ลองทำบันทึกย่อประกอบการทบทวนเนื้อหาไปด้วย นอกจากนี้ถ้าจะศึกษาวิชาสังคมศึกษาให้สนุกสนานเพิ่มขึ้น อาจลองคำนวณปีคริสตศักราชที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งสงคราม การปฏิวัติอุตสาหกรรม ฯลฯ โดยบวกตัวเลข 543 เข้ากับปีคริสตศักราช ก็จะได้เป็นตัวเลขของปีพุทธศักราชไทย จากนั้นให้เทียบกันดูว่าในช่วงเวลาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17-19 นั้น ยุคสมัยของประเทศไทยเรามีพัฒนาการไปอย่างไรบ้าง? สภาพสังคม สภาพปัญหามีความคล้ายคลึงร่วมหรือแตกต่างกันอย่างไร เพียงใด? กล่าวโดยสรุป การศึกษาและทบทวนเนื้อหาวิชาสังคมศึกษาจำเป็นต้องอาศัยรากฐานที่จำเป็นเสียก่อน คือการอ่านเนื้อหาและฝึกฝนทำข้อสอบเก่าที่ผ่านมา นอกเหนือจากนั้นเป็นเคล็ดลับของแถมที่ช่วยจดจำและทำให้ติดตามข่าวสารได้อย่างเพลิดเพลินยิ่งขึ้นและไม่น่าเบื่อหน่ายอีกต่อไป ทั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนต้องกระตุ้นตนเองให้เริ่มหว่านพืชเสียแต่วันนี้ เพื่อหวังผล (สำเร็จ) ในภายภาคหน้า

อ้างอิงจาก : https://www.tlcthai.com/webboard/view_topic

             สำหรับนักเรียนล่ะครับ  ไม่ชอบวิชาสังคมศึกษาเพราะอะไร และจะแก้ไขปัญหานี้ได้อบ่างไร ครับ    

           มีกิจกรรมแนะนำให้นักเรียนลองทำดูนะครับ เผื่อว่านักเรียนจะมีความสุขและสนุกกับการเรียนวิชาสังคมศึกษา เช่น ลองเข้าไปทดสอบความรอบตัวในเกมส์ต่างๆ ปัจจุบันมีมากมายในอินเตอร์เนต หรือลองเข้าร่วมการแข่งขันกิจกรรมต่างๆ ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ในโรงเรียนจัดขึ้นหรือสมัครร่วมเล่นเกมส์ วิชาการ ในรายการโทรทัศน์ เพราะนอกจากจะได้ความรู้แล้ว บางอาจได้เงินด้วย หรือ หากมีเวลา ลองคุยกับเพื่อนเกี่ยวกับเรื่องข่าวคราว ความเคลื่อนไหวที่ปรากฏตามหนังสือพิมพ์บ้าง จะทำให้นักเรียนดูเป็นคนทันสมัยและสนใจวิชาสังคมศึกษาในที่สุด .....

ผู้เขียน            นายพิษณุ  เดชใด        ครูชำนาญการพิเศษ

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษฯ  โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://www.tlcthai.com/webboard/view_

https://www.suanboard.net/view.php?

 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=51

อัพเดทล่าสุด