กรมอุตุนิยมเตือน
พายุกำลังพัดเข้ามา ก่อนจะมีพายุซ้ำมาอีก ค่ำวานนี้ (26 เม.ย.52)
(ที่มา ศูนย์ภาพเนชั่น)
ในช่วงวันที่ 28-30 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกเกิดขึ้นได้บางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 พ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง และลมตะวันตกกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ยังทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนต่อเนื่อง และภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น(ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา) นี่เป็นคำพยากรณ์อากาศที่กรมอุตุนิยวิทยาได้ออกมาเตือนชาวไทยทุกคนให้ระวังอยากรู้ไหมล่ะว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ในประเทศไทย ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับศัพท์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันก่อนนะคะ
อากาศ หมายถึง สภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่วๆ ไป
พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวันเหนือ พื้นผิวโลก โดยการก่อตัวที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่จะเป็นไปตามฤดูกาล ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร มีโอกาสที่จะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองได้ตลอดปี เนื่องจากมีสภาพอากาศในเขตร้อนจึงมีอากาศร้อน อบอ้าว ซึ่งเอื้อต่อการก่อตัวของพายุฝนฟ้าคะนองได้ตลอดปี เนื่องจากมีสภาพอากาศในเขตร้อนจึงมีอากาศร้อนอบอ้าว ซึ่งเอื้อต่อการก่อตัวของพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนบริเวณขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ที่อยู่ในละติจูดที่สูงขึ้นไป มักจะเกิดขึ้นในฤดูร้อน สำหรับประเทศไทยพายุฝนฟ้าคะนองสามารถก่อตัวได้เกือบตลอดเวลาและในทุกพื้นที่ เนื่องจากมีภูมิอากาศในเขตร้อน (Tropic) โดยเฉพาะในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงกว่าปกติ จนเกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่าพายุฤดูร้อน
สาเหตุการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
พายุฝนฟ้าคะนอง เกิดจากเมฆที่ก่อตัวขึ้นในทางตั้ง (แนวดิ่ง) ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เมมคิวบูโลพิมพัส (Cumulomimbus) หรือเมฆรูปทั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดลักษณะอากาศร้ายชนิดต่าง เช่น ลมกระโชก ฟ้าแลบ และฟ้าผ่า ฝนตกหนัก อากาศปั่นป่วนรุนแรง ทำให้มีลูกเห็บตกและอาจเกิดน้ำแข็ง เกาะจับเครื่องบินที่บินรุนแรง ฯลฯ นอกจากนี้เมมคิวบูโลพิมพัส ที่ก่อตัวขึ้นในบริเวณพื้นที่ระบบกว้างใหญ่ เช่น ทางตะวันออกของภูเขารอกกี้ในสหรัฐอเมริกา เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพายุทอร์นาโดหรือพายุลมงวง เมฆพายุฝนฟ้าคะนองดังกล่าวจะมีฐานเมฆต่ำ และมีกระแสอากาศไหลลงรุนแรง (Downdraft) จนทำให้เกิดเมฆเป็นลำคล้ายงวงช้าง ยื่นจากใต้ฐานเมฆหนาทึบลงมายังพื้นดิน โดยที่ภายในของลำเมฆที่
หมุนวนนี้จะมีความกดอากาศต่ำมาก จนเกือบเป็นสูญญากาศดูดสิ่งต่าง ๆ
ที่มา https://scratchpad.wikia.com/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9D%E0%B8%99
https://www.dek-d.com/board/view.php?id=845959
คำถามเพื่อการอภิปราย
1. พายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้อย่างไร
2. ปัจจัยใดบ้างที่ก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองในประเทศไทย
3. พายุฝนฟ้าคะนองส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมบ้าเราอย่างไร
4. เราจะมีวิธีการปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์พายุฝนฟ้าคะนอง
บรูณาการกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (การเกิดพายุ)
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=96