ประวัติศาสตร์ คือ อะไร? ตอนที่ 1


590 ผู้ชม


นำเสนอรายละเอียด ขอบข่าย วิธีการศึกษาวิขาประวัติศาสตร์   

ประวัติศาสตร์คืออะไร


คำว่า “ประวัติศาสตร์” ใช้กันใน 2 ลักษณะคือ 
ประวัติศาสตร์ หมายถึง เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากเจตจำนงของมนุษย์ ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษยชาติ 
ประวัติศาสตร์ ได้แก่ เหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้าแสวงหาหลักฐานมารวบรวมและเรียบเรียงขึ้น เนื่องจากเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตมีขอบเขตกว้างขวาง และมีความสำคัญแตกต่างมากน้อยลดหลั่นกันไป นักวิทยาศาสตร์จึงหยิบยกขึ้นมาศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ 
นักประวัติศาสตร์คนแรก
เฮรอดอตัสได้รับสมญาว่าเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์” เพราะเขาเป็นบุคคลแรกที่เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ในอดีตว่า มีคุณค่าควรจดจำบันทึก และเขาได้ใช้วิธีการสืบค้นหาความจริงด้วยการเดินทางไปสอบสวยเรื่องราวต่างๆ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ ตลอดจนพยายามค้นคว้าหาสาเหตุของเหตุการณ์ ด้วยการอธิบายถึงสภาพของดินแดนต่างๆ อย่างกว้างขวาง เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวที่เรียบเรียง จึงถือกันว่าเขาเป็นคนแรกที่เรียบเรียงเรื่องราวในอดีตในเชิงประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรแยกได้เป็น 3 พวกคือ
- แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ เรื่องราวของเหตุการณืที่บันทึกไว้โดยผู้รู้เห็น หรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง 
- แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ บทความหรือรายงานของนักวิชาการทั้งในด้านประวัติศาสตร์ และสาขาวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- แหล่งข้อมูลตติยภูมิ ได้แก่ เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ผู้อื่นเรียบเรียงไว้ สารานุกรม และเอกสารทางวิชาการอื่นๆ
หลักฐานที่เป็นวัตถุ ได้แก่ โบราณวัตถุ โบราณสถาน เงินตรา ฯลฯ 

ประโยชน์ของประวัติศาสตร์ 
ช่วยสนองความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแทนการคาดเดา หรือความเชื่อถือที่ปราศจากหลักฐาน เป็นบันทึกประสบการณ์ของมนุษยชาติที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษาเพื่อเป็นบทเรียน ช่วยให้เกิดความรักความภาคภูมิใจในชาติ มีความตระหนักในคุณค่าของมรดกด้านต่างๆ ช่วยให้รู้จักและเข้าใจในเรื่องของโลก และเรื่องของเพื่อนมนุษยชาติที่กว้างขวางออกไป ฝึกให้คนรู้จักใช้เหตุผลในการพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ ช่วยในการทำนายอนาคต

การแบ่งยุคประวัติศาสตร์

  1.ก่อนประวัติศาสตร์ 
     1.1  สมัยหิน แบ่งเป็น 3 ยุคคือ 
           ยุคหินเก่า มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือด้วยหินอย่างหยาบๆ ด้วยการกระเทาะให้เป็นรูปร่างและมีคม ดำรงชีวิตด้วยการเก็บกินจากธรรมชาติ อยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ 
          ยุคหินกลาง ประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เครื่องมือมีความประณีต มีมากแบบมากชนิดขึ้น เริ่มมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ และเฝ้าที่อยู่อาศัย 
         ยุคหินใหม่ ประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์กาล รู้จักขัดเกลาเครื่องมือหินให้แหลมคมและเรียบร้อยขึ้น รู้จักนำกระดูกมาดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ และที่สำคัญคือรู้จักเลี้ยงปศุสัตว์และทำการเพาะปลูก 
        1.2 สมัยสัมฤทธิ์ มนุษย์รู้จักผสมดีบุกกับทองแดงเป็นทองสัมฤทธิ์ สมัยสัมฤทธิ์เริ่มขึ้นประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช สมัยนี้พบโลหะอื่นที่ราคาถูกและมีประสิทธิภาพกว่า คือ เหล็ก และในสมัยสัมฤทธิ์นี้มนุษย์รู้จักใช้แรงงานสัตว์ในการไถนาและชักลาก รู้จักการควบคุมแหล่งน้ำด้วยการชลประทาน และที่สำคัญที่สุดคือ มนุษย์ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ 
สมัยเหล็ก ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการนำเหล็กมาใช้ทำเครื่องมือและอาวุธ 
    2. สมัยประวัติศาสตร์ 
              สมัยโบราณ เริ่มเมื่อประมาณ 5,000 – 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงประมาณริสต์ศตวรรษที่ 5 ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลกตามบริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่ต่างๆ เช่น แม่น้ำไนล์ ยุเฟรติส-ไทกริส สินธุ และฮวงโห 
              สมัยกลาง เป็นสมัยที่อาณาจักรโรมันกว้างใหญ่ครอบคลุมบริเวณอารยธรรมโบราณทางตะวันออกใกล้แหลมบอลข่าน และกว่าครึ่งของยุโรปตะวันตกได้แตกสลายไป อนารยชนเผ่าต่างๆ เข้าครอบครองแทนที่ความเจริญรุ่งเรือง ที่สืบเนื่องกันมาหลายพันปีได้เสื่อมสลายลงยุโรป กลับตกอยู่ในสภาพที่ต่ำกว่าเดิมในด้านอารยธรรม จนมีการให้ชื่อยุคต่อมาว่ายุคมืด 
              สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา นักประวัติศาสตร์มิได้มีความเห็นตรงกันตั้งหมดว่าควรถือเอาปรากฎการณ์ใดเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ บางคนถือเอาการปฎิรูปศาสนาเป็นการเริ่มสมัยใหม่ของยุโรป แต่นักประวัติศาสตร์คนอื่นอาจยึดเอาปีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเสียแก่พวกเตอร์ก เป็นปีสิ้นสุดของสมัยกลาง แต่โดยทั่วไปถือเอาคริสต์ศตวรรษที่ 15 เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน 


 ประเด็นอภิปราย  นักเรียนคิดว่าทำไมเราต้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์

อ้างอิง  https://www.baanjomyut.com/library/hist.html

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=403

อัพเดทล่าสุด