ตามหาสาวเครือฟ้า...กับประวัติศาสตร์ล้านนาไทย


812 ผู้ชม


โศกนาฎกรรมเรื่องราวความรักของสาวเชียงใหม่กับหนุ่มนายร้อยกรุงเทพฯ...และร้อยเรียงเรื่องราวประวัติศาสตร์ล้านนาไทย   

ตามหาสาวเครือฟ้า...กับประวัติศาสตร์ล้านนาไทย

ตามหาสาวเครือฟ้า...กับประวัติศาสตร์ล้านนาไทย

สาวเครือฟ้า กับร้อยตรีพร้อม (พ.ศ.2508 มิตร ชัยบัญชา และพิศมัย วิไลศักดิ์)

เรื่องย่อ สาวเครือฟ้า...เจ้า

          ร้อยตรีพร้อม นายทหารหนุ่มย้ายมารับราชการที่เชียงใหม่เกิดรักใคร่กับ เครือฟ้าหญิงช่างฟ้อนชาวเชียงใหม่ ได้เป็นสามีภรรยากันจนให้กำเนิดบุตรชื่อ เครือณรงค์ ต่อมาร้อยตรีพร้อมได้คำสั่งย้ายกลับกรุงเทพฯ ถูกผู้ใหญ่บังคับให้แต่งงานกับสาวกรุงเทพฯ  ฝ่ายเครือฟ้าเฝ้ารอสามี เมื่อได้ข่าวว่าสามีเดินทางมาเชียงใหม่ ก็ไปคอยต้อนรับด้วยความดีใจ เมื่อพบว่าร้อยตรีพร้อมแต่งงานแล้ว พร้อมกับพาภรรยามาด้วย เครือฟ้าเสียใจมาก จึงใช้มีดแทงตัวตายด้วยหัวใจที่แตกสลาย

ตามหาสาวเครือฟ้า...กับประวัติศาสตร์ล้านนาไทย

คลิกฟังเพลงล่องแม่ปิงได้ที่นี่เน้อเจ้า ....เพลงล่องแม่ปิง

ดอกบัวตองนั้นบานอยู่บนยอดดอย
ดอกเอื้องสามปอย บ่เกยเบ่งบานบนลานพื้นดิน
ไม้ใหญ่ไพรสูง นกยูงมาอยู่กิน
เสียงซึงสะล้อ..จ๊อยซอเสียงพิณ
คู่กับแดนดินของเวียงเจียงใหม่
สาวเจ้าควรภูมิใจ บ่ลืมว่าเฮาลูกแม่ระมิงค์

ตามหาสาวเครือฟ้า...กับประวัติศาสตร์ล้านนาไทย
 คนงามงามต้องงามคู่ความเด่นดี
ต้องฮักศักดิ์ศรีของกุลสตรีแม่ญ่าแม่ญิง
เยือกเย็นสดใส..เหมือนน้ำแม่ปิง
มั่นคงจริงใจ ฮักใครฮักจริง
สาวเอยสาวเวียงพิงค์ สาวเครือฟ้าเคยซมซาน
อีกแม่สาวบัวบาน..นั่นคือนิทานสอนใจ

ตามหาสาวเครือฟ้า...กับประวัติศาสตร์ล้านนาไทย

       เป็นบทเพลงที่มีความเป็นอมตะ และสอดแทรกเนื้อหากินใจชาวล้านนาอย่างยิ่งกับบทเพลง ล่องแม่ปิง ที่สอนใจเกี่ยวกับเรื่องความรักศักดิ์ศรีของลูกผู้หญิงชาวล้านนาโดยแท้  เริ่มต้นด้วยกลิ่นอายภาคเหนือ วันนี้เนื้อหาคงหนีไม่พ้นเรื่องของภาคเหนือ โดยขอเสนอความรู้เกี่ยวกับอาณาจักรล้านนา (เชียงใหม่ และจังหวัดทางภาคเหนือบนบนในปัจจุบัน)
 

ตามหาสาวเครือฟ้า...กับประวัติศาสตร์ล้านนาไทย

สมัยล้านนา หรือเชียงแสน เริ่มต้นที่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๓

        ล้านนาตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบน หมายรวมพื้นที่ ๘ จังหวัดอันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน โดยมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง “ล้านนา” หมายถึง พื้นที่กว้างใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ มีผืนนามากมายนับได้เป็นล้านแปลง มีความหมายตรงกับคำในภาษาบาลีว่า เขตฺตทสฺลกฺข ที่ปรากฏในเอกสารตำนานพระเจ้าเจื๋องและคำว่า ทศลักษณ์เกษตร ซึ่งเป็นคำท้ายพระนามพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทั้งสองคำแปลว่า สิบแสนนา หรือ ล้านนา

ตามหาสาวเครือฟ้า...กับประวัติศาสตร์ล้านนาไทย

ประวัติศาสตร์สมัยล้านนา

       ชื่อ“ล้านนา” เชื่อกันว่าคู่มากับชื่อ “ล้านช้าง” (หรือที่รู้จักกันดีว่าหมายถึงประเทศลาว) ด้วยปรากฏชื่อทั้งสองจารอยู่ในศิลาจาลึก ของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ลาวเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๐๙๖ นอกจากนี้ “ล้านนา” ยังมีความหมายสอดคล้องกับระบบการปกครองภาคเหนือสมัยนั้นที่ใช้จำนวนนากำหนดฐานะความสำคัญของเมือง เช่น พันนา แสนนา สิบสองพันนา เป็นต้น         ความเป็นมาของดินแดนล้านนาพบว่าเคยมีร่องรอยมนุษย์อยู่อาศัยมาก่อนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินเก่า หินกลาง หินใหม่และยุคโลหะ ตามลำดับ หลักฐานทางโบราณคดีพบว่าคนก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้อาศัยอยู่ตามที่ราบลอนลูกคลื่น ที่ราบริมน้ำ รวมทั้งบนที่สูงตามสันเขาและตามถ้ำในเขตจังหวัดต่างๆเช่นแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปางและน่าน มีพัฒนาการทางเทคโนโลยีตั้งแต่รู้จักการทำเครื่องมือหินกระเทาะ เครื่องมือหินขัด เครื่องมือโลหะ เครื่องประดับที่ทำมาจากโลหะหรือแก้วและหินมีค่า นอกจากนี้ยังรู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาตลอดจนมีพิธีกรรมการฝังศพ และรู้จักการเกษตรกรรมปลูกข้าวที่เก่าที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค

ตามหาสาวเครือฟ้า...กับประวัติศาสตร์ล้านนาไทย

        จากหลักฐานดังกล่าวทำให้เราพอทราบเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์บ้างแต่เรื่องราวเมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์แรกก่อร่างสร้างเมืองของดินแดนแถบนี้นั้น ปัจจุบันยังไม่สามารถกำหนดว่าเริ่มเมื่อใดแน่ การสืบค้นมักได้จากตำนานต่างๆที่คนสมัยหลังเขียนเล่าไว้เช่น ตำนานพระนางจามเวที  ชินกาลมาลีปกรณ์ และ ตำนานมูลศาสนาเป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการสถาปนาพุทธศาสนาและกำเนิดความเก่าแก่ของท้องถิ่นโดยเล่าย้อนประวัติของเมืองและผู้นำขึ้นไปถึงสมัยพุทธกาล แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่พบหลักฐานศาสนสถานหรือศาสนวัตถุตามที่กล่าวนั้นสนับสนุนได้ หลักฐานการก่อร่างสร้างเมืองมาปรากฏแน่ชัดเริ่มเมื่อราว

ตามหาสาวเครือฟ้า...กับประวัติศาสตร์ล้านนาไทย

 

        ในปีพ.ศ. ๑๙๘๕ ล้านนาได้มีกษัตริย์ที่มีอำนาจมากอีกพระองค์หนึ่งคือ  พระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๓๐) ล้านนาสมัยนี้เจริญรุ่งเรืองทุกด้าน และโดยเฉพาะทางด้านการเมือง การศาสนา วรรณกรรมและศิลปกรรม ทรงตีได้เมืองแพร่ เมืองน่าน ทรงขยายอาณาเขตทางทิศเหนือถึงแคว้นไทยใหญ่ ทิศใต้จดเมืองตาก เมืองศรีสัชนาลัย ทิศตะวันออกจดแม่น้ำโขง แคว้นล้านช้างและเมืองเชียงรุ้งสิบสิงปันนา ทิศตะวันตกจดเเม่น้ำสาละวินเมืองมอญและพม่า ถือได้ว่าเป็นยุคทองของล้านนาโดยแท้ ทรงโปรดให้มีการสังคยนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งที่ ๘ในพระศาสนาและโปรดให้สร้างรวมทั้งปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆอีกมากมาย

        

       กษัตริย์องค์ต่อๆมาก็ยังคงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าเช่น พระเมืองแก้ว (พ.ศ. ๒๐๓๘-๒๐๖๘) ทรงโปรดให้สร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น แต่นับตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๐๖๙ เป็นต้นมา ล้านนาก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง และได้ตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าในรัชกาลพระเจ้าเมกุฏิตั้งแต่พ.ศ. ๒๑๐๑ และต่อเนื่องมาอีก ๒๐๐ ปีโดยมีช่วงเวลาสั้นๆอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา จนพ.ศ. ๒๓๑๗ พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงทรงยึดเมืองเชียงใหม่เข้ากับพระราชอาณาจักรสยามได้ นับระยะเวลา ราชวงค์มังรายปกครองล้านนารวม ๒๖๒ ปี

 

 

ตามหาสาวเครือฟ้า...กับประวัติศาสตร์ล้านนาไทย

กิจกรรมจากสาระการเรียนรู้ : ให้นักเรียนศึกษาประวัติของอาณาจักรล้านนา และโยนกเชียงแสน และวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์

                                               ระหว่างเมืองต่างๆ ในอาณาจักรล้านนา

ขอบคุณที่มาข้อมูลและรูปภาพ :  คลิกที่นี่   คลังปัญญาไทย

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=459

อัพเดทล่าสุด