แพนด้าทูตสันถวไมตรีสายสัมพันธ์ไทย-จีนมิเคยเลือน(ตอนที่ 1)


873 ผู้ชม


นับว่าเป็นผลสำเร็จของวงการสัตวแพทย์ไทยที่สามารถผสมเทียมหมีแพนด้าจนเกิดทายาทน้อยเชื่อมความสัมพันธ์ไทยจีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น   

        แพนด้าทูตสันถวไมตรีสายสัมพันธ์ไทย-จีนมิเคยเลือน(ตอนที่ 1)นับเป็นความสำเร็จของคนไทยก็ว่าได้ที่สามารถผสมเทียมหมีแพนด้า "ช่วงช่วง"กับหลินฮุ่ย" 
จนเกิดทายาทตัวน้อยให้คนไทยได้ชื่นชมอยู่ในขณะนี้    นับเป็นความสำเร็จของคนไทยก็ว่าได้ที่สามารถผสมเทียมหมีแพนด้า
 "ช่วงช่วง"กับหลินฮุ่ย" จนเกิดทายาทตัวน้อยให้คนไทยได้ชื่นชมอยู่ในขณะนี้   หากเราย้อนกลับไปดูเมื่อ ตุลาคม  2546 ที่ผ่านมาทางการจีนได้ส่งมอบแพนด้า ช่วงช่วง”  กับ "หลินฮุ่ยจากเมืองวู่หลง มณฑลเสฉวน ในฐานะทูตสันถวไมตรีเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนโดย ตามสัญญาที่ตกลงกับประเทศจีนนั้นแพนด้าที่ส่งมอบมาจะอยู่ในประเทศไทยได้10 ปี หากแพนด้าที่มอบมาให้กำเนิดลูกก็จะต้องส่งคืนให้จีนภายใน 2 ปี นอกจากนี้ไทยต้องจ่ายเงินจำนวน  1.5 แสนดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่จีน อีกด้วยการกำเนิดลูกแพนด้าถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ยิ่งแน่แฟ้นขึ้นไปอีก
     
หากเราย้อนประวัติศาสตร์ดูจะเห็นได้ว่าไทยเรามีความสัมพันธ์กับจีนตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่าเริ่มขึ้นในสมัยสุโขทัย จากนั้นเป็นต้นมาไทย และจีนก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าในบางช่วงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนจะหยุดชะงักไปบ้างอาจจะเป็น ปัญหาภายในของประเทศทั้งสองและสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ แต่ก็มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการขึ้นใหม่ และประเทศทั้งสองได้กระชับสร้างสัมพันธ์ไมตรีที่ดีต่อกันเหมือนดังเช่นในอดีตเรามาดูความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนในแต่ละยุคแต่ละสมัยกันดีกว่าว่าเป็นอย่างไร
    ความสัมพันธ์ในสมัยกรุงสุโขทัย
           ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างไทยกับจีนเริ่มในสมัยสุโขทัย   ซึ่งตรงกับช่วงที่ ราชวงศ์หยวน กำลังมีอำนาจปกครองเทศจีนพงศาวดารราชวงศ์หยวนฉบับหลวง ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า ปีที่ 19 (ตรงกับปี พ.ศ.1825) ในรัชกาลจื้อหยวน เดือนหก วันจี่ไฮ (ตรงกับวันที่ 17 กรกฎาคม) มีรับสั่งให้เหอจื่อจื้อ ซึ่งเป็นนายพลเป็นทูตไปยังประเทศสยาม (เสียน)จากหลักฐานนี้ทำให้มีการตีความคำว่า เสียน ที่ปรากฏในพงศาวดารราชวงศ์หยวนและสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า สยาม นั้น หมายถึง อาณาจักรสุโขทัย จึงสรุปกันว่าพระเจ้ากุบไลข่านทรงส่งคณะทูตมายังสุโขทัยในปี พ.ศ. 1825 แต่ปรากฏว่าเหอจื่อจื้อและคณะเดินทางมาไม่ถึงสุโขทัย เพราะเมื่อเรือแล่นผ่านมาถึงอาณาจักรจามปา คณะทูตได้ถูกพวกจามจับไปและถูกประหารชีวิตหมด การที่พระเจ้ากุบไลข่าน ทรงส่งคณะทูตเดินทางมาสุโขทัยในปี พ.ศ. 1825 นั้น คงเป็นเพราะพระองค์ทรงต้องการจะแผ่อำนาจให้สุโขทัยยอมอ่อนน้อม ซึ่งเท่ากับ เป็นการเพิ่มพูนพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทวีมากยิ่งขึ้น การส่งทูตไปทวงบรรณการจากรัฐต่าง ๆ เป็นวิธีการแสวงหารัฐบรรณาการที่จีน เคยปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล แต่เนื่องจากว่าเหอจื่อจื้อและคณะเดินทางมาไม่ถึงสุโขทัย ไทยและจีนจึงยังไม่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการต่อกัน หลังจากส่งเหอจื่อจื้อเดินทางมาไม่ถึงสุโขทัยในปี พ.ศ. 1825 แล้ว พระเจ้ากุบไลข่าน ก็มิได้ส่งคณะทูตชุดใดมาสุโขทัยอีก ทั้งนี้คงเป็นเพราะว่าระหว่าง พ.ศ. 1825-1835 พระองค์ทรงติดพันอยู่กับการทำสงครามรุกรานดินแดนต่า ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เขมร พม่า แคว้นอันหนำ แคว้นตังเกี๋ย และเกาะชวา ในปี พ.ศ.1830 กองทัพมองโกลได้รบชนะกองทัพพม่า และสามารถยึดดินแดนทางตอนเหนือและตอนกลางของพม่าไว้ได้ การที่อาณาจักรพม่าพ่ายแพ้กองทัพมองโกล ในปี พ.ศ.1830 และการรุกรานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่องของกองทัพ มองโกลแห่งราชวงศ์หยวนได้ก่อให้ก่อให้เกิดผลกระทบทางการเมืองบางประการต่ออาณาจักรต่า ๆ ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน ดังจะเห็นได้ว่า พ่อขุนรามคำแหง แห่งสุโขทัย พ่อขุนมังราย แห่งเงินยางเชียงแสน และพ่อขุนงำเมือง เเห่งพะเยา ได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกันในปีนั้น
(พ.ศ.1830) อีก 5 ปีต่อมา พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงคณะทูตไทยชุดแรกไปเจริญพระราชไมตรีกับราชวงศ์หยวนไทยและจีนจึงมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 1835 เป็นต้นมา พงศาวดาร ราชวงศ์หยวนฉบับหลวงได้บันทึกไว้ว่า 
ปีที่29 (ตรงกับ พ.ศ. 1835) ในรัชกาลจื้หยวน เดือนที่ 10 วัน  เจี่ยเฉิน (ตรงกับวันที่ 26 พฤศจิกายน) 
      
หากวิเคราะห์จุดประสงค์ที่พ่อขุนรามคำแหงทรงส่งคณะทูตไทยไปเจริญทางพระราชไมตรีกับราชวงศ์หยวนใน พ.ศ. 1835 ได้ 2 ประการ คือ 
      1. เพื่อป้องกันอาณาจักรสุโขทัยจากการรุกรานของกองทัพมองโกลที่อาจจะเกิดขึ้นได้พ่อขุนรามคำแหงไม่ทรงมีพระประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์กับพระเข้ากุบไลข่าน ดังนั้น การส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์หยวนจึงเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะช่วยรักษาผลประโยชน์ของสุโขทัยได้ดีที่สุด 
     2. เพื่อป้องกันไม่ให้พระเจ้ากุบไลข่านเข้ามาแทรกแซงปัญหาความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรสุโขทัย และแว่นแคว้นของพวกคนไทยทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง (สุพรรณภูมิและละโว้) ตามหลักฐานในพงศาวดารราชวงศ์หยวน แคว้นละโว้ (หลอหู) เคยส่งทูตไปจีนในปี พ.ศ.1832 และปี พ.ศ.1834 หลังจากที่ไทยและจีนมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 1835 แล้ว พงศาวดารราชวงศ์หยวนระบุว่า สุโขทัยได้ส่งทูตไปจีนอีก 8 ครั้ง ในปี พ.ศ.1837 ปี พ.ศ.1838 ปี พ.ศ.1840 ปี พ.ศ.1842 ปี พ.ศ. 1843 ปี พ.ศ. 1857 ปี พ.ศ. 1861 และปี พ.ศ.1865 ส่วนทางฝ่ายจีนได้ส่งทูตมาสุโขทัย 3 ครั้ง ในปี พ.ศ.1836 ปี พ.ศ.1837 และปี พ.ศ. 1838 เมื่อพิจารณาจากหลักฐานที่มีอยู่เกี่ยวกับการติดต่อทางการทูตระหว่างไทยกับจีนในสมัยสุโขทัยแล้ว กล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัย และราชวงศ์หยวนมุ่งผลประโยชน์ทางด้านการเมืองเป็นหลัก แต่การที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีสัมพันธ์ไมตรีที่ดีต่อกัน ก็มีส่วนทำให้การค้าระหว่างสุโขทัยและจีนเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น รวมทั้งทำให้สุโขทัยได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ หรือที่เรียกว่า เครื่องสังคโลก
 จากช่างชาวจีน เครื่องสังคโลกนี้ต่อมาได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญในสมัยสุโขทัยตอนปลายมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น สืบแสง พรหมบุญ ได้วิเคราะห์สรุปความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับราชวงศ์หยวนไว้ดังนี้ ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นทางการเมือง แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเจริญให้กับกิจการด้านการส่งสินค้าออกของสุโขทัยนี่เป็นผลโดยตรงทางด้านเศรษฐกิจที่ได้จากสัมพันธภาพระหว่างสุโขทัยกับจีน เท่าที่ทราบนั้นไม่มีการติดต่อทางการค้าอย่างเป็นทางการโดยรัฐ
    
(ที่มา:https://isc.ru.ac.th/data/PS0002245.doc)          

  
แพนด้าทูตสันถวไมตรีสายสัมพันธ์ไทย-จีนมิเคยเลือน(ตอนที่ 1) แพนด้าทูตสันถวไมตรีสายสัมพันธ์ไทย-จีนมิเคยเลือน(ตอนที่ 1)  แพนด้าทูตสันถวไมตรีสายสัมพันธ์ไทย-จีนมิเคยเลือน(ตอนที่ 1)

                                                              ชามสังคโลกสมัยสุโขทัย 

          จะเห็นได้ว่าไทยเรามีความสัมพันธ์กับจีนในสมัยสุโขทัยทำให้ไทยได้รับอารยธรรมของจีนมาให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมหลายอย่างด้วยกัน ตอนหน้าเราจะพาไปดูความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนในสมัยอยุธยากันนะคะแล้วพบกันใหม่ค่ะ
 คำถาม
1. ในสมัยสุโขทัยไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศจีนในลักษณะใด
2.  การพ่อขุนรามคำแหงผูกมิตรกับจีนในสมัยสุโขทัยส่งผลดีต่อไทยอย่างไร

สาระประวัติศาสตร์ช่วงชั้น 3-4
มาตรฐาน  ส  4.2  เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติ  จากอดีตจนถึงปัจจุบัน  ในแง่ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่องตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

บูรณาการ  สาระการเรียนรู้ศิลปะ

ที่มาของภาพ: หนังสือพิพม์คมชัดลึก
 
https://tbn1.google.com/images?q=tbn:nOPtdxLnRNMmoM:https://www.amulet1.com/showimg
https://www.dvthai2.com/Sukhothai2_7.jpg

ที่มาของข้อมูล : https://isc.ru.ac.th/data/PS0002245.doc

Link ที่เกี่ยวข้อง  https://bbs.pramool.com/webboard/view.php3?katoo=Q38820
 https://www.komchadluek.net/detail/20090605/15835/หลินฮุ่ยวางแพนด้าน้อยเป็นครั้งที่สอง.html

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=645

อัพเดทล่าสุด