พร้อมจ่ายเช็คช่วยชาติเพิ่มให้มนุษย์เงินเดือนอีก 6 กลุ่ม ครอบคลุม 5 แสนราย วงเงิน 1 พันล้านบาท รับเช็ครอบแรก 15 มิ.ย.นี้ รอบสอง 29 มิ.ย. ก่อนปิดฉากโครงการ เตือนหมดเขต 23 มิ.ย.นี้...
เช็คช่วยชาติรอบสอง.....มาแล้วจ้า
ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (24 เม.ย.) ว่า ธนาคารกรุงเทพ ได้สรุปยอดการเบิกเงินสด และเคลียร์ลิ่งเช็คช่วยชาติล่าสุด มีจำนวน 7,054,733 ฉบับ แบ่งเป็น ประเภทเบิกเงินสด มีจำนวน 6,534,347 ฉบับ แบ่งเป็นสาขาในกรุงเทพฯ 2,446,288 ฉบับ และสาขาต่างจังหวัด 4,088,059 ฉบับ ประเภทเคลียร์ลิ่ง จำนวน 520,386 ฉบับ แบ่งเป็น สาขาในกรุงเทพฯ ผ่านธนาคารกรุงเทพ 119,215 ฉบับ ต่างธนาคาร 234,830 ฉบับ สาขาต่างจังหวัด ผ่านธนาคารกรุงเทพ 97,108 ฉบับ และต่างธนาคาร 69,233 ฉบับ ทั้งนี้ยอดการจัดพิมพ์เช็คช่วยชาติทั้ง 3 ครั้ง มีจำนวนรวมทั้งหมด 8,094,615 ฉบับ
"ที่ผ่านมามีการประเมินแล้วว่า ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในโครงการจ่ายเช็คช่วยชาตินี้ ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ประชาชนพึงพอใจและที่สำคัญเกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคจากกลุ่มแรกที่รับ เช็คช่วยชาติ 8,803,487 ราย มีการนำเช็คไปขึ้นเงินกับธนาคารแล้ว 8,454,350 ราย หรือ 96% เกิดการใช้จ่ายเงินในระบบเศรษฐกิจกว่า 16,908 ล้านบาท สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับเช็คกลุ่มแรก ยังมีเวลาถึงวันที่ 23 มิ.ย.52 ถ้าพ้นกำหนดแล้วก็จะนำส่งคืนคลัง"
ขณะที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) แจ้งว่า สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด ให้บริการจ่ายเช็คช่วยชาติแก่ผู้ประกันตน ในวันและเวลาราชการ ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน ถึง วันที่15 มิถุนายน 2552 เวลา 08.30 น. ถึง เวลา16.30 น. โดยผู้ประกันตนสามารถไปรับเช็คช่วยชาติได้ ณ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด ที่ผู้ประกันตนไปยื่นแบบคำขอรับเช็คช่วยชาติไว้ จึงขอให้ผู้ประกันตนที่มีรายชื่อรับเช็คช่วยชาติ ให้รีบมาดำเนินการขอรับเช็คช่วยชาติด่วน ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคม จะเก็บรักษาเช็คช่วยชาติไว้ให้จนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2552 หากไม่ติดต่อขอรับเช็คช่วยชาติ ทางสำนักงานประกันสังคม จะดำเนินการส่งเช็คช่วยชาติ คืนกระทรวงการคลัง
สำหรับผู้ประกันตนที่ยังไม่มายื่นแบบขอรับเช็คช่วยชาติ สามารถมายื่นแบบฯ ได้ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2552 นี้ หากพ้นกำหนดดังกล่าวจะถือว่าสละสิทธิ์
การที่รัฐบาลได้มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการแจกเช็คช่วยชาติเพื่อให้ประชาชนเกิดการใช้จ่าย และเพื่อเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งวันนี้จะได้กล่าวถึง สาระการเรียนรู้ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
เนื่องจากวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาทางด้านสังคมศาสตร์จึงไม่สามารถให้ความหมายที่แน่นอนตายตัวได้ นักเศรษฐศาสตร์จึงได้ให้ความหมายที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าจะมองในแง่ใด ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ในสมัยต่อๆมาจึงมีความหมายที่กว้างกว่าการจัดการครอบครัว
วิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรเพื่อนำมาสนองความต้องการของมนุษย์ โดยให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อความอยู่ดีกินดีของมนุษย์ ส่วนการผลิตทางด้านเศรษฐศาสตร์ หมายถึงการที่ เจ้าของทรัพยากร เจ้าของทุน เจ้าของแรงงาน และผู้ประกอบการ สามารถใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้ปัจจัยการผลิตที่ตนมีอยู่นั้น ให้ผลตอบแทนแก่ตนเองมากที่สุด ช่วยผู้ประกอบการตัดสินใจใช้ปัจจัยการผลิตที่มีต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อให้ได้กำไรมากที่สุด และการประยุกต์หลักธรรมตามพุทธเศรษฐศาสตร์มาใช้อธิบายได้ดังนี้ คือ ให้ใช้หลักของปัญญา ในการผลิต โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ของผู้คนส่วนมากเป็นสิ่งสำคัญ
เศรษฐศาสตร์ แบ่งเป็น 2 สาขา
1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค microeconomics เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนย่อย ครัวเรือนหรือธุรกิจเพียงหน่วยใด หน่วยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภค การกำหนดราคา การจำหน่ายจ่ายแจก เน้นไปทางการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคล หรือกลุ่มของบุคคลเนื้อหาส่วนใหญ่ของเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นเรื่องเกี่ยวกับราคาในตลาดแบบต่างๆ จึงเรียกอีกอย่างว่า ทฤษฏีราคา(price theory)
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค macroeconomics เป็นการศึกษาของเศรษฐกิจส่วนร่วม เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจทุกหน่วยในสังคมเช่นรายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้า การกระจายรายได้ การคลังรัฐบาล การค้าระหว่างประเทศ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจระดับประเทศ ระหว่างประเทศ
ประโยชน์ของเศรษฐศาสตร์
เพื่อได้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งสาเหตุและผลกระทบต่อบุคคล สังคม เพื่อรู้แนวทางที่จำนำไปแก้ไขหรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีเหตุผล
1. ช่วยให้สามารถซื้อหรือใช้ บริโภคสินค้าที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักใช้ รู้จักออม
2. เจ้าของปัจจัยการผลิต ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ตัดสินใจใช้ปัจจัยการผลิตที่ต้นทุนต่ำแต่เกิดกำไรสูงสุด
3. เข้าใจสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้
4. ใช้ความรู้ในการจัดสรรทรัพยากร กำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และรักษาผลประโยชน์ในการลงทุน การค้ากับต่างประเทศได้
เสริมความรู้
เงิน (อังกฤษ: Silver) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 47 และสัญลักษณ์คือ Ag (เป็นตัวย่อมาจากคำในภาษาละตินว่า Argentum) เงินเป็นโลหะทรานซิชันสีขาวเงิน มีสมบัติการนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดีมาก ในธรรมชาติอาจรวมอยู่ในแร่อื่นๆ หรืออยู่อิสระ เงินใช้ประโยชน์ในการทำเหรียญ เครื่องประดับ ภาชนะบนโต๊ะอาหาร และอุตสาหกรรมการถ่ายรูป
ประเด็นคำถาม : เราศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์เพราะอะไร ?
ที่มา : คลังปัญญาไทย , วิกิพีเดีย
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=666