ประชาธิปไตยอยู่ไหน.........


476 ผู้ชม


แม้ว"โฟนอินยุเสื้อแดง กว่าหมื่นสู้ต่อ อย่าหยุด   

     ท่ามกลางฝนพายุกระหน่ำตั้งแต่ช่วงค่ำ "จตุพร" จี้รัฐบาลดูแลให้ดี ขู่ชุมนุมยืดเยื้อหากแดงเทียมก่อเหตุวุ่นวาย เย้ยตร.-ทหารคุมเข้มทำเนียบแค่ตีปลาหน้าไซ ย้ำจุดยืนทวงคืนปชต.-ยุบสภา "มาร์ค" เตือน "แม้ว" เจออาญาหากพูดจายั่วยุ "เทือก" สั่งจนท. ระวังมือที่ 3 ป่วนม็อบแดง เชื่อสถานการณ์ไม่รุนแรง เตือน "จตุพร" พูดอะไรต้องระวังหลังปูดรัฐจะสร้างสถานการณ์ ส่งทหารตรึงทำเนียบเข้ม วอร์รูมปชป.ประเมินท่าจอดรถแก๊ส-ปั๊มแก๊ส-ท่ารถเมล์-วัด-มัสยิดเป็นพื้นที่เสี่ยง ไม่ใช่สนามหลวง-ทำเนียบ ประณามพท.-นปช. กล่าวหารบ.สร้างสถานการณ์ เผย "แม้ว" ออกจากตะวันออกกลางแล้วดอดเข้าประเทศในแถบเอเชีย โฆษกมาร์ควิเคราะห์แผนตากสิน 2 มี 60 ประเด็น เดินเกมไปแล้ว 40 เรื่อง เพื่อไทยจี้ "เทือก-ฝ่ายมั่นคง" ชี้แจงปูดแผนตากสิน 2 ยันถูกใส่ร้าย ด้านวิปรัฐบาลมั่นใจคดีหุ้นสัมปทานของ 60 ส.ส.ไม่ส่งผลให้ยุบสภา นัดถกวิปพรรคร่วม 1 ก.ค.นี้เตรียมจัดงานเลี้ยงกระชับความสัมพันธ์  (ที่มาข่าวสดออน์ไลน์ 28 มิถุนายน 2552)
    การชุมนุมของแกนนำนปช.หรือกลุ่มคนเสื้อแดงในครั้งนี้เห็นบอกว่าจะสืบเจตนาคณะราษฎร โค่นรัฐบาลอำมาตย์ ทวงคืนประชาธิปไตยในฐานะเราเป็นนักเรียนเราต้องมาเรียนรู้การปกครองในโลกเราดีกว่านะคะ
การปกครอง คือ  การใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารและจัดการประเทศของแต่ละประเทศ  รูปแบบการปกครองในโลกเราแบ่งออกเป็น  2 รูปแบบ คือ การปกครองแบบประชาธิปไตยกับการปกครองแบบเผด็จการ
 1. การปกครองแบบประชาธิปไตย  คำว่าประชาธิปไตย (=ประชา+อธิปไตย)อธิปไตยหมายความว่า อำนาจการปกครองเป็นของประชาชน  โดยประชาชน และเพื่อประชาชน  พูดง่าย ๆ ก็คือ   ประชาชนมีอำนาจปกครองตนเอง
การปกครองแบบประชาธิปไตยเกิดขึ้นครั้งแรกในนครรัฐเอเธนส์ ประเทศกรีก  ซึ่งเป็นประชาธิปไตยแบบโดยตรง

ประชาธิปไตยทางตรง ( Direct Democracy) หมายถึง การให้ประชาชนมีสิทธิโดยตรงในการปกครองหรือการวินิจฉัยตัดสินปัญหาของประเทศ กล่าวคือ พลเมืองมีสิทธิเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาประชาชนซึ่งทำหน้าที่เป็นสถาบันสูงสุดในการแสดงเจตจำนงของรัฐ

ประชาธิปไตยทางอ้อม ( Indirect Democracy) หมายถึง การที่ประชาชนใช้อธิปไตยโดยผ่านผู้แทนหรือประชาธิปไตยแบบตัวแทน ( Representative Democracy) หมายถึง การให้ประชาชนผู้เป็นพลเมืองมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้าไปทำหน้าที่แทนตัวเองในรัฐสภา และเจตจำนงของรัฐสภาถือเป็นความต้องการของประชาชน เช่น ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของไทย อังกฤษ หรือประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ฯลฯ

 หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย มี  5 ประการ ได้แก่
  
         1. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน(popular sovereignty)  ประชาชนเป็นผู้กำหนดการปกครองโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง
         2. หลักเสรีภาพ (liberty)  ประชาชนย่อมมีสิทธิเสรีภาพทั้งในการเมือง  เศรษฐกิจ และสังคม
         3. หลักความเท่าเทียม(equality)  มนุษย์เกิดมาควรมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในเรื่องโอกาสในการพัฒนาคุณภาพและ ความรู้ความสามารถเพื่อให้ประชาชนสามารถปกป้องประโยชน์ของตนได้
         4. หลักฎหมาย (rule of law)  เป็นการให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนทั้งในเรื่องสิทธิเสรีภาพในทรัพย์สิน การแสดงออก การดำรงชีพ ฯลฯ อย่างเสมอหน้ากัน โดยผู้ปกครองไม่สามารถใช้อำนาจใดๆลิดรอนเพิกถอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ และไม่สามารถใช้อภิสิทธิอยู่เหนือกฏหมาย หรือเหนือกว่าประชาชนคนอื่นๆได้
         กฎหมายสะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
         5. หลักเสียงข้างมาก(majority rule,minority right) การตัดสินใจใดๆทางการเมืองต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของ ประชาชนส่วนใหญ่ จึงกำหนดให้เสียงข้างมากเป็นการตัดสิน  แต่หลักการนี้ ต้องควบคู่ไปกับการ เคารพและคุ้มครองสิทธิเสียงข้างน้อยด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่า ฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้วิธีการพวกมากลากไปตามผลประโยชน์ความเห็นหรือกระแสความนิยมของพวกตน แต่ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด เพื่อสร้างสังคมที่ประชาชนเสียงข้างน้อย รวมทั้งชนกลุ่มน้อย ผู้ด้อยโอกาสต่างๆ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ในสังคมโดยไม่มีการเอาเปรียบกันและสร้างความขัดแย้งในสังคมมากเกินไป

2.  การปกครองแบบเผด็จการ  หมายถึง  ระบอบการเมืองการปกครองที่โอกาสในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ถูกจำกัดอยู่ในบุคคลเพียงคนเดียวหรือสองสามคนหรือกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว กล่าวคือ  จะใช้โอกาสในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ โดยใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน หากประชาชนคัดค้านก็จะถูกผู้นำหรือคณะบุคคลลงโทษระบอบเผด็จการมี 3 รูปแบบ คือ เผด็จการทหาร เผด็จการฟาสซิสต์ และเผด็จการคอมมิวนิสต์  โดยมีหลักการสำคัญดังนี้

1. ผู้นำคนเดียว หรือคณะผู้นำ หรือพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวกลุ่มเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง สามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ฟังเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ
2. การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำมีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำได้เลย
3. ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต ตราบเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงาน หรือกองทัพยังให้ความสนับสนุนอยู่ ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
4. รัฐธรรมนูญหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง

 ประชาธิปไตยอยู่ไหน.........ประชาธิปไตยอยู่ไหน.........ประชาธิปไตยอยู่ไหน.........

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์  ผู้นำเผด็จการ แห่งเยอรมันนี      มุสโสลินี(ซ้าย) จอมเผด็จการ แห่ง อิตาเลี่ยน       ฟีเดล  คาสโตร  อดีต ประธานาธิบดีแห่งคิวบา

สาระที่  2  หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน ส 2.2
  เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน  ยึดมั่น  ศรัทธา  และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

คำถาม
1. ระบบการเมืองการปกครองมีกี่ระบอบอะไรบ้าง
2. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมีหลักการสำคัญอย่างไร
3. ระบอบการปกครองแบบเผด็จการมีหลักการสำคัญอย่างไร
4. ให้นักเรียนหารายชื่อประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยและแบบเผด็จการ มาอย่างละ  5 ประเทศ
5. การชุมนุมของกลุ่มแกนนำ นปช.หรือกลุ่มคนเสื้อแดงในครั้งนี้ถือว่าเป็นไปตามระบอบการปกครองแบบใดอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ

ที่มาข้อมูล  www.khaosod.co.th 
ที่มารูปภาพ https://www.matichon.co.th/news-https://www.igetweb.com/www/iteen/private_folder/inworld/adolf_hitler.jpg
https://www.solarnavigator.net/geography/geography_images/Fidel_Castro.jpg
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง  https://witayakornclub.wordpress.com/2007/06/26/democratic/
https://dnfe5.nfe.go.th/ilp/soc4/so31-4-1.htm

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=970

อัพเดทล่าสุด