โครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตร่ำและมุ่งมั่น เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกร ไม่ว่าจะเชื้อชาติใด ศาสนาใด หรืออยู่ห่างไกลกันสักเพียงใด ก็มิทรงย่อท้อ เข้าไปช่วยเหลือราษฎรทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การเกษตร การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และพลังงาน หรือแม้กระทั่งการจราจร ทรงคิดค้นแนวทางแก้ไขได้อย่างแยบยล |
|
การทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดการดำเนินการในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัว และสามารถปฏิบัติได้จริง ทรงมีความละเอียดรอบคอบและทรงคิดค้นหาแนวทางพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด มีคุณค่าและควรยึดเป็นแบบอย่างในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทนำมาปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดผลแก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติตลอดไป |
โครงการพระราชดำริในระยะแรกๆ นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ | | ๑. โครงการที่มีลักษณะศึกษา ค้นคว้า ทดลองเป็นการส่วนพระองค์ โครงการดังกล่าวนี้เท่ากับเป็นการเตรียมพระองค์ในด้านข้อมูลและความรอบรู้ที่จะทรงนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและเผยแพร่แก่เกษตรกร รวมทั้งเป็นการแสวงหาแนวทางการพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นด้วย | | ๒. โครงการที่มีลักษณะเริ่มเข้าไปแก้ไขปัญหาหลักของเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรประสบปัญหาและอุปสรรคในการทำเกษตรกรรมมากขึ้นทุกขณะ ซึ่งในขณะที่พระองค์ทรงมีโครงการทดลองและเรียนรู้ไปด้วยกัน จะทรงเริ่มก้าวเข้าสู่การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริง ระยะแรกโครงการยังจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะบริเวณรอบๆ ที่ประทับในส่วนภูมิภาค รูปแบบของการพัฒนาแก้ปัญหา คือ การพัฒนาแบบผสมผสาน (Integrated Development) หลังจากนั้นโครงการในลักษณะนี้ค่อยๆ ขยายขอบเขตออกไปสู่สังคมเกษตรกรในพื้นที่ที่กว้างขึ้น | |
|
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สำคัญและประเภทอื่นๆ ได้แก่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินอกเหนือจากโครงการทั้ง 7 ประเภทที่ระบุมาแล้วข้างต้นเช่น โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่ง โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี นอกจากนั้นยังรวมถึงโครงการด้านการศึกษา การวิจัย การจัดและพัฒนาที่ดิน ดังเช่น | | | | | | โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี | | | | “..ปัญหาสำคัญคือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ศึกษามาแล้วเหมือนกัน ทำไม่ยากนัก ในทางเทคโนโลยี ทำได้แล้ว ในเมืองไทยเองก็ทำได้ หาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมา แล้วทำในเมืองไทยก็ทำได้ หรือจะจ้างบริษัทต่างประเทศมาทำก็ได้ นี่แหละปัญหาเดียวกัน เดี๋ยวนี้กำลังคิดจะทำ แต่ติดอยู่ที่ที่จะทำ...” | | | | พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวข้างต้นนี้ คือที่มาของ “โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” จังหวัดเพชรบุรี ที่มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยการกำจัดขยะและการบำบัดน้ำเสียชุมชน และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไป ด้วยทรงตระหนักดีว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบเป็นอย่างมาก และนับวันปัญหานี้ได้ทับถมทวีคูณมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการดำรงชีพของประชาชนทั้งหลายที่ต้องประสบกับภาวะวิกฤตที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างรุนแรงและรวดเร็ว | | | | | | | | | | |
|
ที่มาเพื่อประกอบการศึกษา : โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว |
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1427