บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัส


674 ผู้ชม


ห้ามพลาด ...การบริการทำบัตรประชาชนโดยรถมินิบัสเคลื่อนที่........สะดวก รวดเร็ว หลากหลายบริการ !!   

บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัส  

บริการถึงที่.........

บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัส

บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัส

        กทม.ร่วมกับสำนักงานเขตหลักสี่ นำรถทำบัตรประชาชน รถบริการด้านสุขอนามัยคน และสัตว์เลี้ยง มาจอดให้บริการประชาชน บริเวณศาลาประชาคมเคหะชุมชนทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. ในวันหยุดราชการ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม

ที่มา : วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11467 มติชนรายวัน

บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัส

บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัส

รถบริการทำบัตรประชาชนเคลื่อนที่

บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัส

บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัส

บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัส

ที่มาของรูปภาพ

สาระความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์/คุณสมบัติของผู้มีบัตรประจำตัวประชาชน

 สาระที่2 หน้าที่พลเมืองฯ

การทำบัตรประจำตัวประชาชน

บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัส

คุณสมบัติของบุคคลที่ต้องทำบัตร

  •        ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามบทบัญญัติมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542

  •        ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร ซึ่งมีบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่น ให้ใช้บัตรประจำตัวนั้นแทน
    บัตรประจำตัวประชาชน แต่หากประสงค์จะขอมีบัตร (รวมทั้งผู้ซึ่งมีอายุเกินเจ็ดสิบปี) ก็สามารถทำได้และต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด

  • บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัส

สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน

  •  ผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตท้องที่ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่จังหวัด

  • ผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนอกท้องที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยในข้อ ให้ยื่นคำขอ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเทศบาลแห่งท้องที่ ซึ่งผู้ขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

  • บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัส

  • การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก

 ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่มีอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์ หรือนับแต่วันที่ได้สัญชาติไทยหรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ หรือนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ได้สัญชาติไทย หรือนับแต่วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หรือนับแต่วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้น แล้วแต่กรณี หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

  • หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
  • สูติบัตรหรือหลักฐานเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง

เท่านั้น เช่น ใบสุทธิ  สำเนาทะเบียนนักเรียน เป็นต้น

    หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 2.1.2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯไปให้การรับรองด้วย 

   กรณีบิดาและมารดาเป็นบุคคลต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าวของบิดาและมารดามาแสดง ถ้าบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม ให้นำใบมรณบัตรไปแสดงด้วย

การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกดังกล่าวนี้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรแต่อย่างใด

บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัสกรณีบัตรเดิมหมดอายุ

      บัตรมีอายุใช้ได้หกปี การนับอายุบัตร กฎหมายให้นับตั้งแต่วันออกบัตรไปจนครบหกปีบริบูรณ์ แต่หากวันที่บัตรมีอายุหกปีบริบูรณ์

ไม่ตรงกับวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตร ให้นับระยะเวลาต่อไปจนถึงวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตรในปีนั้น หรือปีถัดไป แล้วแต่กรณี เป็นวันบัตรหมดอายุ

 เมื่อบัตรเดิมหมดอายุต้องมีบัตรใหม่ โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรแต่อย่างใด

บัตรประชาชนเคลื่อนที่.........แบบมินิบัส
กรณีบุคคลได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรขอมีบัตรประจำตัวประชาชน

       ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ ภิกษุ สามเณร ผู้ที่อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ จะขอมีบัตรก็ได้



กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่

       ผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรก็ได้ (ตามความสมัครใจ) หากไม่ขอเปลี่ยนบัตรก็สามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนนั้นได้ จนกว่าบัตรจะหมดอายุ

      

 

ที่มา :  https://www.dola.go.th. หรือ KHONTHAI.COM


ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1426

อัพเดทล่าสุด