องค์การระหว่างประเทศ


698 ผู้ชม


โลกของเราประกอบไปด้วยทวีป 6 ทวีป 194 ประเทศ แต่ละประเทศจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรืออยู่คนเดียวนั้นไม่ได้ การอยู่ร่วมกันจึงจำเป็นต้องมีกฏกติกา หรือข้อตกลงในการอยู่รวมกัน การรวมตัวกันเป็นองค์การระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้น  

เรื่อง  องค์การระหว่างประเทศ

บทนำ

โลกของเราประกอบไปด้วยทวีป  6  ทวีป  194  ประเทศ  จำนวนประชากร  ในปีค.ศ.  1950  มี  2,500  ล้านคน  และคาดว่า  ก่อนปี ค.ศ.  2020 จะมีประชากรโลกถึง  8,500  ล้านคน  จะเห็นได้ว่าประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงจำเป็นต้องมีมากขึ้น  แต่ละประเทศจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว  หรืออยู่คนเดียวนั้นไม่ได้  การอยู่ร่วมกันจึงจำเป็นต้องมีกฏกติกา หรือข้อตกลงในการอยู่รวมกัน  การรวมตัวกันเป็นองค์การระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้น 

เนื้อหา

องค์การระหว่างประเทศ  ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
 1.  องค์การสหประชาชาติ (UN)  ก่อตั้งเมื่อ  ค.ศ.  1945  เพื่อส่งเสริมสันติภาพของโลกและความร่วมมือระหว่างประเทศ  จัดเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด  มีภาคีสมาชิก  189 ประเทศ  มีงบดุลรายรับรายจ่ายในแต่ละปีมากกว่า 2,000 ล้านดอลล่าร์
สหรัฐ  การประชุมสมัยสามัญจะจัดขึ้นปีละ  1  ครั้ง  เพื่อพิจารณาปัญหาต่างๆ  ของโลก  โดยภาคีสมาชิกแต่ละประเทศมีสิทธิออกเสียงได้เพีนง  1  เสียงเท่านั้น  องค์กรที่สำคัญของ  UN  ได้แก่  
             -  คณะมนตรีความมั่นคง  มีหน้าที่จรรโลงสันติภาพ  และความมั่นคงระหว่างประเทศ
             -  คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม  มีหน้าที่ประสานงาน ให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรมการศึกษาและสุขภาพแก่ประเทศต่างๆ
             -  คณะมนตรีภาวะทรัสตี  มีหน้าที่ปกครองดูแลดินแดนที่ยังไม่ได้สิทธิในการปกครองตนเองอย่างเต็มที่
             -  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  มีหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างประเทศ
             -  สำนักเลขาธิการ  เป็นองค์กรที่สำคัญที่สุดขอ UN  ทำหน้าที่ดูแลบริหารงานต่างๆ  
        นอกจากนั้นยังมีองค์พิเศษ  เพื่อคอยให้ความช่วยเหลือภาคีสมาชิก ในเรื่องต่าง ๆ  เป็นการเฉพาะไป  อาทิ  โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)  องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม  (UNESCO)  องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ  (FAO)  สำนักงานใหญ่ของ  UN  ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก  สหรัฐอเมริกา
 2.  สหภาพยุโรป  (EU) พัฒนาขั้นต่อมาของประชาคมยุโรป  ในปี  1993  โดยสมาชิกรวมตัวกันทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ  ให้เป็นระบบเดียวกัน  จึงนับได้ว่ากลุ่มสหภาพยุโรป เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจที่เข็มแข็งที่สุด  และมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกมากที่สุด  ปัจจุบันมีสมาชิก15  ประเทศ  ได้แก่  ออสเตรีย  เบลเยี่ยม  เดนมาร์ก  ฟิลแลนด์  ฝรั่งเศส  เยอรมนี  กรีซ  ลักเซมเบิร์ก  เนเธอร์แลนด์  โปรตุเกส  สเปน  สวีเดนและสหราชอาณาจักร

 3.  สมาคมการค้าเสรียุโรป  (EFTA)  (The  European  Free  Trade  Associatation)  ก่อตั้งปี  1960  ปัจจุบันมีสมาชิก      4  ประเทศได้แก่  นอร์เวย์  ไอซ์แลนด์  สวิตเซอร์แลนด์  และลิกเตนสไตน์
 4.  องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)  (The  North  Atlantic  Organization)  เป็นกลุ่มสัมพันธมิตรทางทหารในยุโรปของฝ่ายโลกเสรี  ก่อตั้งปี  1949  ปัจจุบันมี  18  ประเทศ  โดยมี  ฮังการี  สาธารณรัฐเช็ก  และโปแลนด์  เป็นสมาชิกล่าสุดปี  1999
 5.  สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)  (The  Associatation  of  South  East  Asian  Nations)  ก่อตั้งขึ้นเมื่อ  ค.ศ.  1967  เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม  ระหว่างประเทศ  ในภูมิภาคนี้  ปัจจุบันมีสมาชิก  10  ประเทศ
 6.  องค์การประเทสผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก  (OPEC)  (The  Organization  of  Petroleum  Exporting  Countries)    
จัดตั้งขึ้นเมื่อ  ค.ศ.  1960  เป็นองค์การที่มีบทบาทสำคัญมากต่อเศรษฐกิจโลก  เพราะภาคีสมาชิกเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันส่งออกรายใหญ่  โดยมีส่วนแบ่งการตลาดถึง  3/4  จึงสามารถกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกได้
 7.  สันนิบาตอาหรับ  (The  Arab  League)  ก่อตั้งขึ้นเมื่อ  ค.ศ.  1945  มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมชาติอาหรับให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  และส่งเสริมให้สถานภาพชาติอาหรับให้เข้มแข็ง
 8.  องค์การกลุ่มรัฐอเมริกัน  (OAS) (The  Organization  of  American  States)  ก่อตั้งขึ้นเมื่อ  ค.ศ.  1948  เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การศึกษา  วัฒนธรรม  และส่งเสริมสิทธิมนุษย์ชนในกลุ่มประเทศอเมริกัน  มีสมาชิก  28  ประเทศ
 9.  องค์การเอกภาพแอฟริกา  (OAU) (The  Organization  of  African  Unity)  ก่อตั้งขึ้นเมื่อ  ค.ศ.  1963  สมาชิกเริ่มแรกมี  30  ประเทศ  จุดมุ่งหมายใหญ่ของ  OAU  ก็คือ  ยุติจักรวรรดินิยมในแอฟริกา  และปกป้องอธิปไตยของประเทศภาคีสมาชิก  ปัจจุบัน  OAU  มีสมาชิก53  ประเทศ  และมีประชาการรวมกันกว่า  90 %  ของประชากรแอฟริกา
 10.  แผนการโคลัมโบ  (The  Colombo  Plan)  ในแผนการนี้มีประเทศที่พัฒนาแล้ว  6  ประเทศ รวมเป็นสมาชิกอยู่ด้วย  คือ  ออสเตรเลียแคนาดา  ญี่ปุ่น  นิวซีแลนด์  สหราชอาณาจักร  และสหรัฐอเมริกา  จุดมุ่งหมายของการจัดตั้งเพื่อให้การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ  และวิชาการแก่ภาคีสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา

 11.  กลุ่มเครือจักรภพอังกฤษ  (COMMONWEALTH)  (The  Commonwealth)  เป็นการรวมกลุ่มของประเทศที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษมาก่อน  มีภาคีสมาชิก  53  ประเทศ  การรวมตัวกันนี้ไม่ได้ทำสนธิสัญญา  หรือตั้งจุดมุ่งหมายไว้แต่อย่างใด  กลุ่มเครือจักรภพอังกฤษ  มีประชากรรวมกันถึง  1/4  ของประชากรโลก  
 12.  สมาคมรวมลาตินอเมริกา  (LAIA)  (The  Latin  American  Integration  Association)  เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นมาแทนที่สมาคมการค้าเสรีลาตินอเมริกา  (LAFTA)  มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการค้าเสรีระหว่างประเทศภาคีสมาชิกให้แพร่หลาย
 13.  กลุ่มประเทศแอฟริกา-แคริบเบียน-แปซิฟิก  (ACP) (The  African-Caribbean-Paciific)  ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมมาก่อน  มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกับกลุ่ม  EEC  ตามข้อตกลงทางการค้าที่ทำขึ้นเมื่อ        ค.ศ.  1963
 14.  องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา  (OECD)  (The Organization  for  Econonmic  Co-operation  andDevelopment) เป็นองค์การที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่กำลังพัฒนา


ประเด็นการอภิปราย  ประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การใดบ้าง  และได้ประโยชน์อะไรจากองค์การเหล่านั้น

ประกอบการเรียนรู้  สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม   ช่วงชั้นที่  2,3,4  เรื่อง เศรษฐศาสตร์   องค์การระหว่างประเทศ

กิจกรรมเสนอแนะ  นักเรียนอาจจะค้นคว้าเพิ่มเติมแล้วทำเป็นโครงงาน

ที่มาข้อมูล      :  สุจินต์  สวนไผ่
                      :  แผนที่เล่ม  ชุด  โลกของเรา  1  ความรู้ทั่วไป

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1443

อัพเดทล่าสุด