ระบบเศรษฐกิจไทย...


806 ผู้ชม


มาเรียนรู้ระบบเศรษฐกิจกันเถอะ   

ระบบเศรษฐกิจไทย...

ระบบเศรษฐกิจไทย...

   

      ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสมซึ่งหมายถึงระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะทั้งส่วนที่เป็นแบบทุนนิยมและส่วนแบบที่เป็นสังคมนิยมกล่าวคือ เศรษฐกิจไทยเป็นระบบที่ยอมรับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลภาคเอกชนสามารถประกอบธุรกรรมทางเศรษฐกิจได้โดยเสรีมีการแข่งขันที่ค่อนข้างเสรี หน่วยธุรกิจส่วนใหญ่ทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ เป็นหน่วยธุรกิจของภาคเอกชน ส่วนหน่วยธุรกิจที่เป็นของรัฐก็มีอยู่บ้าง เช่น รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค และสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์

                   ในขณะที่เศรษฐกิจไทยมีลักษณะที่มีการแข่งขันและยอมรับระบบกรรมสิทธิ์ของเอกชน แต่รัฐก็มีบทบาทค่อนข้างมากในส่วนของการวางแผนและการแทรกแซงการทำงานของกลไกลราคาจะมีการผูกขาดกิจกรรมบางประเภทโดยภาครัฐดังนั้น เศรษฐกิจไทยจึงมีลักษณะผสมของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมอยู่บ้าง แม้ว่าความเข้มแข็งของภาคเอกชนจะทำให้บทบาทของรัฐมีความสำคัญลดน้อยลง

                   อย่างไรก็ตามประเทศไทยจะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่ค่อนข้างไปทางทุนนิยมเพราะรัฐได้ลดบทบาทในกิจกรรมการผลิตลงมากเช่น ได้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของเอกชนให้สัมปทานเอกชนลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคบางอย่าง เช่น โทรศัพท์ รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

ระบบเศรษฐกิจไทย...

ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ

      ระบบเศรษฐกิจ หมายถึง การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในทางเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร จำนวนมากน้อยเท่าใด เมื่อผลิตแล้วจะจำหน่ายแจกจ่ายให้แก่ใครจึงจะเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งการจัดหน่วยเศรษฐกิจแบบนี้ เป็นการจัดตามหน้าที่ของหน่วยเศรษฐกิจนั้นๆ

การจำแนกระบบเศรษฐกิจ

      การตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีหลายวิธี สังคมใดจะเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้น โดยทั่วไปนิยมแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็น 3 ระบบ ดังนี้

1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

     ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสามารถและโอกาสของตนโดยอาศัยตลาดและราคาในการเลือก โดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยมาก

ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้แก่

       - ทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน 
     - เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยผ่านกลไกราคา และมีกำไรเป็นแรงจูงใจที่ สำคัญ 
       - มีการแข่งขันเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ
      - รัฐไม่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ มีบทบาทเพียงการรักษาความสงบเรียบร้อย ความ ยุติธรรม เพื่อให้เอกชนมีความมั่นใจในการทำธุรกิจ
     ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ ประชาชนสามารถใช้ความรู้ความสามารถ โอกาส ความคิดริเริ่ม ของตนในการผลิตและบริโภคเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนได้อย่างเต็มที่
       ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ จากความสามารถและโอกาสของบุคคลที่แตกต่างกัน ทำให้มีระดับรายได้แตกต่างกัน นำไปสู่ปัญหาการกระจายรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจน ส่วนการผลิตในระบบทุนนิยมเป็นที่มาของการแข่งขันกันผลิต นำไปสู่การทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจนกลายเป็นปัญหาของโลกปัจจุบัน
       ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ สิงคโปร์

2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

         ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต วางแผนและควบคุมการผลิตบางประเภท โดยเฉพาะการผลิตที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน เช่น การสาธารณูปโภค ต่างๆ สถาบันการเงิน ป่าไม้ เอกชนถูกจำกัดเสรีภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ดำเนินการได้เพียงอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมขนาดย่อม ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความแตกต่างด้านฐานะระหว่างคนรวยและคนจน
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ได้แก่
     - รัฐคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกรูปแบบ
     - ไม่มีการแข่งขันเกิดขึ้น
     -  รัฐสั่งการผลิตคนเดียว
     - มีการวางแผนจากส่วนกลาง

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
     คือ สร้างความเสมอภาคด้านฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลในสังคม ประชาชนได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลกลางโดยเท่าเทียมกันและสามารถกำหนดนโยบายเป้าหมายตามที่รัฐบาลกลางต้องการได้
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
            คือ ประชาชนขาดแรงจูงใจในการทำงาน เศรษฐกิจของประเทศอาจเผชิญวิกฤติหากรัฐกำหนดความต้องการผิดพลาดและการไม่มีระบบแข่งขันแบบทุนนิยมทำให้ไม่มีการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ
ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เช่น เกาหลี ลาว เวียดนาม


3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม

    ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมระหว่างระบบทุนนิยมกับสังคมนิยม มีรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ แต่ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชน การกำหนดราคาขึ้นกับกลไกแห่งราคาของตลาด

ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม ได้แก่
     - เอกชนมีเสรีภาพ
     - มีการแข่งขัน แต่รัฐอาจแทรกแซง การผลิตได้บ้าง
     - รัฐดำเนินกิจการบางอย่างในรูปของรัฐวิสาหกิจ เช่น สาธารณูปโภค ( ไฟฟ้า  
       ประปา )
     - มีการวางแผนจากส่วนกลางและมีสวัสดิการจากรัฐ
       ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย 
       ฟิลิปปินส์ บรูไน กัมพูชา พม่า เป็นต้น 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1581

อัพเดทล่าสุด