ซากุระคือดอกไม้ของประเทศญี่ปุ่น แต่วันนี้เราสามารถชมได้ในเมืองไทยหรือซากุระเมืองไทยนั่นเอง
บทนำ
เมื่อเข้าสู่หน้าหนาวหลายท่านคงคิดถึงเมืองเหนือ จะได้ไปสัมผัสกับไอหมอก จนบางปีหนาวเข้าสุดขั้วหัวใจพบแม้กระทั่ง "เหมยขาบ" หรือ "แม่คะนิ้ง" ตามกันมาเลยครับจะพาท่านขึ้นไปที่บ้านขุนช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่
ที่มา : https://jazz3977.multiply.com
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วงชั้นที่ 3 , 4
บ้านขุนช่างเคี่ยนตั้งอยู่บนดอยปุย เอาง่ายๆก็ดอยสุเทพนั่นแหละครับ ทางขึ้นทางเดียวกันกับพระธาตุดอยสุเทพ สามารถเดินทางขึ้นโดยรถโดยสารประจำทาง (สี่ล้อหรือสองแถว) หรือท่านจะนำรถไปเองก็สะดวกดีแต่ควรเป็นขับเคลื่อนสี่ล้อนะครับ แรงรถดีๆบวกฝีมือการขับ เพราะทางที่เลยจากวัดพระธาตุดอยสุเทพขึ้นไปค่อนข้างจะชันพอสมควร หรือท่านที่มีรถจักรยานประเภทเสือภูเขาก็จะเหมาะมากที่จะทดสอบกำลังขา ระยะทางจากหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปถึงบ้านขุนช่างเคี่ยนประมาณยี่สิบกิโล เมื่อไปถึงท่านก็จะได้พบกับซากุระเมืองไทยหรือนางพญาเสือโคร่ง นั่นเอง หากสนใจที่จะชมช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ก็จะได้ชมกับความสวยงามได้
ที่มา :https://jazz3977.multiply.com
ต้นนางพญาเสือโคร่ง เป็นไม้สกุล บ้วยท้อ ซากุระ จึงได้ชื่อว่า ซากุระเมืองไทย พบทั่วไปบนดอยสูง เช่น ดอยแม่สะลอง จังหวัดเชียงราย ดอยสุเทพปุยขุนช่างเคี่ยน ดอยเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง ลักษณะการชม ก็จะไปชมไกล ๆ แบบทัศนียภาพให้เห็นเกลื่อนไป ทั้งดอย ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์
ชื่อพันธุ์ไม้ : นางพญาเสือโคร่ง
ชื่อสามัญ (ไทย) : ฉวีวรรณ (ภาคเหนือ) เส่คาแว่ เส่แผ่ แส่ลาแหล (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) ซากุระดอย(เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ (อังกฤษ) : ไม่มี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus cerasoides D.Don
ชื่อวงศ์ : Rosaceae
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ: ชมพูภูพิงค์
การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ
นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน พบอยู่กในป่าที่ระดับความสูง 500-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลในประเทศไทย พบขึ้นตามภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,00-2,000 เมตร เช่น บนดอยอินทนนท์ ดอยเชียงดาว ฯลฯ
ลักษณะทางวิทยาศาสตร์ :
นางพญาเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือไข่กลับ ออกสลับกัน ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5 -12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเขากวาง ใบร่วงง่าย ดอก สีขาว ชมพู หรือดง ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผล รูปไข่หรือกลม ยาว 1-1.5 ฌวนติเมตร เมื่อสุกสีแดง ระยะเวลาออกดอก ออกดอกระหว่างเดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอก
การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
การปลูก การเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์ : ได้มีการปลูกนางพญาเสือโคร่งบนพื้นที่ต้นน้ำลำธารมาเป็นเวลา 10 ปี แล้วปรากฏว่าได้ผลดี เป็นไม้ที่มีความเหมาะสมในการที่จะขึ้นอยู่ในพื้นที่ผ่านการทำไร่เลื่อนลอย บนพื้นที่สูงแต่ไม่ควรปลูกบนพื้นที่ซึ่งมีลมพัดจะทำให้กิ่งก้านหักได้ง่าย
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
1. ทำไมซากุระเมืองไทยถึงมีบนดอยสูง
2. นักเรียนจะหาชมนางพญาเสือโคร่งได้ที่ไหนบ้าง
3. นักเรียนคิดว่าประโยชน์จากนางพญาเสือโคร่งมีอะไรบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ไปศึกษาแหล่งที่มีนางพญาเสือโคร่งที่ใกล้ที่สุด
2. ทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องนางพญาเสือโคร่ง
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
สามารถกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาพลศึกษา
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล / ภาพประกอบ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2312