การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์


1,021 ผู้ชม


นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้แบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามลักษณะหลักฐานที่พบแบ่งได้ เป็น ๒ สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์   

                สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือสมัยที่ยังไม่มีลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ในการสื่อสาร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนี้จึงต้องศึกษาจากเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา และร่องรอยต่างๆที่มนุษย์ยุคนั้นทิ้งไว้ เช่น โครงกระดูก เมล็ดพืช และซากสัตว์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
              ๑.ยุคหิน คือยุคที่มนุษย์รู้จักนำหินมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของเครื่องมือหินแบ่งออได้เป็น ๓ ยุค คือ  

                                   ยุคหินเก่า  หลักฐานที่พบ ได้แก่ ขวานมือหรือ ขวานกำปั้น   พบมากในยุโรปตอนกลางอายุใกล้เคียงกับมนุษย์ชวา และมนุษย์ปักกิ่ง ที่พบในเอเซีย มนุษย์บางกลุ่ม เช่น มนุษย์ไฮเดนเบิร์ก  สามารถพัฒนาเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เครื่องมือหินกะเทาะแบบอาชลีน 

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

ขวานมือถือ

                                     ยุคหินกลาง  เป็นผลงานของมนุษย์โครมันยอง เรียกกันว่าแบบแมกดาเลเนียน ซึ่งนอกจากทำด้วยหินไฟแล้ว ยังนำกระดูกสัตว์เขาสัตว์ เปลือกหอยและงาช้าง มาใช้  ประโยชน์เครื่องมือสมัยนี้มีความประณีตมากรู้จักใช้มีดมีด้าม ทำเข็มจากกระดูกสัตว์ มีการฝนและขัดเครื่องมือให้เรียบและคม ใช้ประโยชน์ได้หลายด้านมากขึ้น

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

                                                                                  เครื่องประดับเปลือกหอย


                                      ยุคหินใหม่  เริ่มต้นในช่วง 6,000 ปีก่อนคริสต์กาล แบ่งตามลักษณะเครื่องมือหิน ได้แก่ หินขัด คือ การทำเครื่องมือหินขัดจนบางเรียบ มีด้าม ทำให้คม ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย บางแห่งนำซุงมาขุดเป็นเรือ ทำธนูและลูกศร รู้จักนำสุนัขมาเลี้ยง ในราว 8,000 ปีก่อนคริสต์กาล ปรากฏหลักฐานว่ามนุษย์เริ่มรู้จักทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ สามารถเพาะปลูกพืชและเก็บไว้เป็นอาหาร รู้จักทอผ้าและทำเครื่องปั้นดินเผา  แหล่งโบราณคดีที่เก่าที่สุดคือ บริเวณตอนเหนือของเมโสโปเตเมียหรืออิรัคในปัจจุบัน

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

                                                             
                ๒.ยุคโลหะ คือยุคที่มนุษย์รู้จักนำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ แบ่งออกได้เป็น ๒ ยุค คือ
      ยุคสำริด  สมัยนี้เครื่องมือ เครื่องใช้ ทำจากสำริดและเหล็ก  กำหนดอายุด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในราว5,600 – 1,200 ปี ก่อนคริสต์กาล เริ่มต้นเมื่อมนุษย์พบวิธีถลุงแร่ทองแดงและดีบุก นำมาผสมผสานกันเป็นสำริด สามารถทำแม่พิมพ์เป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับและอาวุธหลากหลาย เช่น ใบหอก กำไล กลองมโหระทึก เป็นต้น
      ยุคเหล็ก  ประมาณ 1,200 ปีก่อนคริสต์กาล เป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของมนุษย์ที่สามารถทำเครื่องมือเครื่องใช้ที่คงทนมากขึ้น จึงมีเครื่องมือการเกษตรกรรมที่ใช้ในการผลิตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บางกลุ่มรู้จักเทคโนโลยีสำหรับถลุงเหล็กและนำมาตีเป็นดาบและอาวุธต่าง ๆ  จึงเป็นที่มาของการสร้างกองทัพขนาดใหญ่ ส่งผลต่อการเปลี่ยนรูปแบบสงครามและยุทธวิธีในการรบอย่างต่อเนื่อง

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

                  สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มต้นราว 3,000 ปีก่อนคริสต์กาล เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษร ใช้บันทึกเรื่องราวและนำมาใช้สื่อสารระหว่างกัน กล่าวโดยสรุปคือ สมัยนี้เริ่มมีชุมชนขนาดใหญ่และมีความเจริญในระดับอารยธรรมตามแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
       แหล่งอารยธรรมเก่าที่สุด ได้แก่  เมโสโปเตเมีย ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์กาล ผู้คนในบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติสหรือดินแดนพระจันทร์เสี้ยวเป็นกลุ่มแรกที่ได้ประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ปัจจุบันคือ บริเวณประเทศอิรัคและบางส่วนของซีเรีย
       แหล่งอารยธรรมที่มีอายุในเวลาใกล้เคียงกันคืออียิปต์ ชุมชนบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์เจ้าของอักษรเฮียโรกริฟฟิคเป็นผู้สร้างสรรค์อารยธรรมอียิปต์  เริ่มตั้งแต่ประมาณ 3,300 ปีก่อนคริสต์กาล จนถึงประมาณ 30 ก่อนคริสต์กาล เมื่ออียิปต์ตกเป็นเมืองขึ้นของโรมัน
       ในปัจจุบันการแบ่งช่วงสมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตามการแบ่งช่วงสมัยประวัติศาสตร์คือ ก่อนพ.ศ.๘๐๐ ขึ้นไปเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และหลังพ.ศ.๘๐๐ ลงมาถือว่าเป็นสมัยประวัติศาสตร์ตามบันทึกของพ่อค้านักสำรวจชาวโรมัน
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
          ๑.มนุษย์ในยุคปัจจุบันได้แนวคิดจากมนุษย์ยุคหินอย่างไรบ้างให้ยกตัวอย่างและอธิบายพอเข้าใจ
          ๒.หากนักเรียนสามารถกลับไปอยู่ในช่วงเวลาในอดีต นักเรียนอยากไปอยู่ในช่วงสมัยใดของประวัติศาสตร์มากที่สุด เพราะเหตุใด
กิจกรรมเสนอแนะ ควรให้นักเรียนศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ
          https://2.bp.blogspot.com/_WvxM6wViboE/SpZnzXcwmTI/AAAAAAAAABw/jNWA94RXbAA/s320/evolution_of_blogger02.jpg
          https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:TJK0oafbqFH2uM

          https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:z4AerUG9x1pWyM
          https://i483.photobucket.com/albums/rr193/boomcubic/DSC_0031-1.jpg
          https://img.ihere.org/uploads/dcea510e46.jpg

          https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:BV0br7sX2kB-pM::sakchai.rwb.ac.th/img

          https://img221.imageshack.us/img221/8094/bronzesword1ek1.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2594

อัพเดทล่าสุด