กว่าจะมาเป็น....แผนที่ (ตอนที่ 3)


795 ผู้ชม


แผนที่นับเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากมาย แทบจะทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน   

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม   และผู้ที่สนใจทั่วไป
         แผนที่เป็นเอกสารแสดงความมีอยู่ของข้อมูล ที่ตั้ง ระยะห่างระหว่างรายละเอียดใน ภูมิประเทศ เช่น แหล่งที่อยู่อาศัย เส้นทางคมนาคมและ ลักษณะภูมิประเทศแบบต่างๆ ตลอดจนความสูงของสิ่งต่างๆตามธรรมชาติ และขอบเขตพืชพันธุ์
แผนที่จึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่มนุษย์สร้างขึ้นไว้ใช้เป็นเครื่องช่วยในการดำเนินงาน หรือประกอบกิจการต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์  มนุษย์รู้จักใช้แผนที่ให้เป็นประโยชน์มาตั้งแต่สมัยโบราณประมาณ 2300 ปีก่อนพุทธกาล  และผลิตแผนที่ที่มีมาตรฐานขึ้นใช้เช่นปัจจุบัน

ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่
1. ด้านการทหาร แผนที่มีความจำเป็นอย่างมากในการวางแผนยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี 
2. ด้านการเมืองการปกครอง แผนที่ใช้ในการวางแผนดำเนินการ เตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง 
3. ด้านเศรษฐกิจและสังคม ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ต้องอาศัยแผนที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ทราบทำเลที่ตั้ง สภาพทางกายภาพแหล่งทรัพยากร
4.  ด้านสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยแผนที่เป็นสำคัญ และอาจช่วยให้การดำเนินการวางแผนพัฒนาสังคมเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง 
5. ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจำเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทำให้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย สะดวกในการวางแผนการเดินทาง หรือเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม 
6. ด้านการเรียนการสอน แผนที่เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจ และก่อให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนดีขึ้น 
7. ใช้เป็นแหล่งข้อมูล  ทั้งทางด้านกายภาพ ภูมิภาค วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติและการกระจายของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ 
8. ใช้เป็นเครื่องช่วยแสดงภาพรวมของพื้นที่หรือของภูมิภาค อันจะนำไปศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ของพื้นที่


การจำแนกชนิดของแผนที่
ปัจจุบันการจำแนกชนิดของแผนที่ อาจจำแนกได้หลายแบบแล้วแต่จะยึดถือสิ่งใดเป็นหลักในการจำแนก เช่น
1. การจำแนกชนิดของแผนที่ตามลักษณะที่ปรากฏบนแผนที่ แบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ
        1.1 แผนที่ลายเส้น ( Line Map ) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นที่ด้วยเส้นและองค์ประกอบของเส้น ซึ่งอาจเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ท่อนเส้น หรือเส้นใด ๆ ที่ประกอบเป็นรูปแบบต่าง ๆ

กว่าจะมาเป็น....แผนที่ (ตอนที่ 3)


        1.2 แผนที่ภาพถ่าย ( Photo Map ) เป็นแผนที่ซึ่งมีรายละเอียดในแผนที่ที่ได้จากการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพ ซึ่งอาจถ่ายภาพจากเครื่องบินหรือดาวเทียม

กว่าจะมาเป็น....แผนที่ (ตอนที่ 3)


        1.3 แผนที่แบบผสม ( Annotated Map ) เป็นแบบที่ผสมระหว่างแผนที่ลายเส้นกับแผนที่ภาพถ่าย โดยรายละเอียดที่เป็นพื้นฐานส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพ ส่วนรายละเอียดที่สำคัญ ๆ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ถนน

กว่าจะมาเป็น....แผนที่ (ตอนที่ 3)

องค์ประกอบของแผนที่
        องค์ประกอบของแผนที่ที่จะกล่าวต่อไปนี้ หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนแผ่นแผนที่ ซึ่งผู้ผลิตแผนที่จัดแสดงไว้โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้ใช้แผนที่ได้ทราบข่าวสารและรายละเอียดอย่างเพียงพอสำหรับการใช้แผนที่นั้น แผนที่
ที่จัดทำขึ้นก็เพื่อแสดงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งเรียกว่า “ระวาง” ( Sheet ) องค์ประกอบแผนที่แต่ละระวาง ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
        1. เส้นขอบระวาง ตามปกติรูปแบบของแผนที่ทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ห่างจากริมทั้งสี่ด้านของแผนที่เข้าไปจะมีเส้นกั้นขอบเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งเรียกว่าเส้นขอบระวางแผนที่ ( Border ) เส้นขอบระวาง
แผนที่บางแบบประกอบด้วยขอบสองชั้น เพื่อให้เกิดความสวยงาม สำหรับแผนที่ภูมิประเทศโดยทั่วไป เส้นขอบระวางมีเพียงด้านละเส้นเดียว บางชนิดมีเส้นขอบระวางเพียงสองด้านเท่านั้น ที่เส้นขอบระวางแต่ละด้านจะมีตัวเลขบอกค่าพิกัดกริด และค่าพิกัดภูมิศาสตร์ (ค่าของละติจูดและลองติจูด) หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นในแผนที่แผ่นหนึ่งเส้นขอบระวางแผนที่จะกั้นพื้นที่บนแผ่นแผนที่ออกเป็นสองส่วนด้วยกัน คือพื้นที่ภายในขอบระวางแผนที่ และพื้นที่นอกขอบระวางแผนที่
        2. องค์ประกอบภายในขอบระวาง หมายถึง สิ่งทั้งหลายที่แสดงไว้ภายในกรอบ ซึ่งล้อมรอบด้วยเส้นขอบระวางแผนที่ ตามปกติแล้วจะประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ
                1. สัญลักษณ์ ( Symbol ) ได้แก่ เครื่องหมายหรือสิ่งซึ่งคิดขึ้นใช้แทนรายละเอียดที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวภูมิประเทศ หรือให้แทนข้อมูลอื่นใดที่ต้องการแสดงไว้ในแผนที่นั้น 
                2. สี ( Colour ) สีที่ใช้ในบริเวณขอบระวางแผนที่จะเป็นสีของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนรายละเอียดหรือข้อมูลต่าง ๆ ของแผนที่ 
                3. ชื่อภูมิศาสตร์ ( Geographical Names ) เป็นตัวอักษรกำกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่แสดงไว้ภายในขอบระวางแผนที่ เพื่อบอกให้ทราบว่าสถานที่นั้นหรือสิ่งนั้นมีชื่อเรียกอะไร 
                4. ระบบอ้างอิงในการกำหนดตำแหน่ง ( Position Reference Systems ) ได้แก่ เส้นหรือตารางที่แสดงไว้ในขอบระวางแผนที่ เพื่อใช้ในการกำหนดค่าพิกัดของตำแหน่งต่าง ๆ ในแผนที่นั้น 
 ระบบอ้างอิงในการกำหนดตำแหน่งมีหลายชนิดที่นิยมใช้ในแผนที่ทั่วไปมี 2 ชนิดคือ
                   1. พิกัดภูมิศาสตร์ ( Geographic Coordinates ) ได้แก่ เส้นขนานและเส้นเมอริเดียนที่บอกค่าละติจูดและลองติจูด อาจแสดงไว้เป็นเส้นยาวจรดขอบระวางแผนที่ หรืออาจแสดงเฉพาะส่วนที่ตัดกันเป็นกากบาท(graticul ) อย่าง
เช่นแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 หรืออาจแสดงเป็นเส้นสั้นๆ เฉพาะที่ขอบ 
                   2. พิกัดกริด ( Rectangular Coordinates ) ได้แก่ เส้นขนานสองชุดที่มีระยะห่างเท่า ๆ กัน ตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เส้นตรงขนานทั้งสองชุดดังกล่าวอาจแสดงไว้เป็นแนวเส้นตรงยาวจรดขอบระวางหรืออาจแสดง
เฉพาะส่วนที่ตัดกันก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม 
          3. องค์ประกอบภายนอกขอบระวาง หมายถึง พื้นที่ตั้งแต่เส้นขอบระวางไปถึงริมแผ่นแผนที่ทั้งสี่ด้าน บริเวณพื้นที่ดังกล่าวผู้ผลิตแผนที่จะแสดงรายละเอียดอันเป็นข่าวสารหรือข้อมูลที่ผู้ใช้แผนที่ควรทราบและใช้แผนที่นั้นได้อย่าง
ถูกต้องตรงตามความมุ่งหมายของผู้ผลิตแผนที่
                   3.1 ระบบบ่งระวาง ( Sheet identification System ) การผลิตแผนที่ภูมิประเทศที่คลุมพื้นที่กว้างใหญ่ จำนวนแผนที่ที่ผลิตขึ้นใช้ย่อมมีหลายระวางจึงต้องจัดเข้าเป็นชุด ( Series ) และเพื่อสะดวกในการใช้จึงต้องวางระบบเพื่อเรียก
หรืออ้างอิงแผนที่แต่ละระวางภายในชุดขึ้น
                   3.2 มาตราส่วนแผนที่ ( Map Scale ) มาตราส่วนแผนที่เป็นข่าวสารหรือข้อมูลที่ผู้ผลิตแผนที่แสดงไว้บนแผ่นแผนที่ ให้ผู้ใช้แผนที่ ได้ทราบว่าแผนที่แผ่นนั้นย่อจากภูมิประเทศจริง ที่ตรงกันด้วยอัตราส่วนเท่าใด
                   3.3 คำอธิบายสัญลักษณ์ ( Legend ) ประกอบด้วยตัวอย่างสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงรายละเอียดในแผนที่แผ่นนั้น พร้อมด้วยคำอธิบายความหมายของสัญลักษณ์นั้น ๆ อาจแสดงไว้ทั้งหมดหรือเลือกแสดงเฉพาะสัญลักษณ์ที่พิจารณาเห็น
ว่าสำคัญและจำเป็นก็ได้
                  3.4 ศัพทานุกรม ( Glossary ) เป็นส่วนที่ผู้ผลิตแผนที่แสดงไว้เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่เกิดความเข้าใจความหมายของคำที่ใช้ในแผนที่นั้น มักจะใช้กับแผนที่ ที่มีตั้งแต่สองภาษาขึ้นไป 
                  3.5 วิธีออกเสียง ( Pronunciation Guide ) มีในแผนที่ที่ใช้ตั้งแต่สองภาษาขึ้นไปด้วยความมุ่งหมายที่จะให้ผู้ใช้ออกเสียงชื่อภูมิศาสตร์ที่ใช้ในแผนที่นั้นได้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น 
                  3.6 สารบาญต่าง ๆ ( Indexes ) เป็นแผนภาพแบบต่าง ๆ ที่แสดงไว้ภายนอกขอบระวางแผนที่ เพื่อแสดงข้อมูลบางอย่างที่อาจมีคามจำเป็นสำหรับผู้ใช้แผนที่ สารบาญต่าง ๆ ที่หลายชนิด ซึ่งอาจแยกอธิบายได้ดังนี้


มาตราส่วนแผนที่ ( MAP SCALE) 
        มาตราส่วนแผนที่ ( Map Scale ) คือ อัตราส่วนระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางจริงที่ตรงกันในภูมิประเทศ มาตราส่วนแผนที่อาจเขียนได้เป็นสูตรดังนี้ คือ
มาตราส่วนแผนที่      =       ระยะทางในแผนที่
                                       ระยะทางในภูมิประเทศ
มี 3 รูปแบบ คือ
       1 มาตราส่วนเศษส่วน ( Representative Fraction ใช้ตัวย่อว่า RF หรือมาตราส่วนตัวเลข Numerical Scale ) คือ การบอกอัตราส่วนเปรียบเทียบระยะทางระหว่างจุดเดียวกันในภูมิประเทศ ในลักษณะของตัวเลขเป็นเศษส่วน เช่น 1:1,000 หรือ 1/1000 โดยเทียบให้ระยะแผนที่เป็นหนึ่งหน่วยเสมอ ในที่นี้หมายความว่า ระยะ 1 หน่วยในแผนที่จะเท่ากับระยะทางในภูมิประเทศ 1,000 หน่วย (ในขณะเดียวกัน)
        2 มาตราส่วนคำพูด ( Verbal Scale ) เป็นมาตราส่วนที่บอกให้ทราบโดยตรงว่า 1 หน่วยของความยาวในแผนที่เท่ากับกี่หน่วยของความยาวในภูมิประเทศจริง โดยมากใช้มาตราวัดในระบบเดียวกัน เช่น 1 นิ้ว ต่อ 1 ไมล์ หรือ 1 
เซนติเมตร ต่อ 5 กิโลเมตร เป็นต้น
         3 มาตราส่วนรูปภาพ หรือมาตราส่วนบรรทัด ( Graphic Scale หรือ Bar Scale ) เป็นมาตราส่วนที่เป็นเส้นตรงซึ่งถูกแบ่งเป็นส่วน ๆ และมีตัวเลขกำกับไว้ เพื่อบอกให้ทราบว่าระยะแต่ละส่วนในแผนที่นั้นแทนระยะในภูมิประเทศจริง
เท่าไรหรือเส้นทาง รวมทั้งอาคารที่ต้องการเน้นให้เห็นเด่นชัดก็แสดงด้วยลายเส้น พิมพ์แยกสีให้เห็นเด่นชัด


2. การจำแนกชนิดของแผนที่ตามขนาดของมาตราส่วน
ประเทศต่าง ๆ อาจแบ่งชนิดของแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนไม่เหมือนกัน ที่กล่าวต่อไปนี้เป็นการแบ่งแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนแบบหนึ่งเท่านั้น
       2.1 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักภูมิศาสตร์
              2.1.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเล็กว่า 1:1,000,000
              2.1.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 ถึง 1:1,000,000
              2.1.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000
        2.2 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักการทหาร
             2.2.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วน 1:600,000 และเล็กกว่า
             2.2.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:600,000 แต่เล็กกว่า 1:75,000
             2.2.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:75,000 และใหญ่กว่า

3. การจำแนกชนิดแผนที่ตามลักษณะการใช้งานและชนิดของรายละเอียดที่แสดงไว้ในแผนที่
        3.1 แผนที่ทั่วไป (General Map) เป็นแผนที่พื้นฐานที่ใช้อยู่ทั่วไปหรือที่เรียกว่า Base map
แผนที่แสดงทางราบ (Planimetric Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดที่ปรากฏบนผิวโลกเฉพาะสัณฐานทางราบเท่านั้น
แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดทั้งทางแนวราบและแนวดิ่ง หรืออาจแสดงให้เห็นเป็น 3 มิติ
        3.2 แผนที่พิเศษ (Special Map or Thematic Map) สร้างขึ้นบนแผนที่พื้นฐาน เพื่อใช้ในกิจการเฉพาะอย่าง


4. การจำแนกตามมาตราฐานของสมาคมคาร์โตกร๊าฟฟี่ระหว่างประเทศ(ICA)
สมาคมคาร์โตกร๊าฟฟี่ระหว่างประเทศ ได้จำแนกชนิดแผนที่ออกเป็น 3 ชนิด
        4.1 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) เป็นแผนที่ที่ให้รายละเอียด โดยทั่วๆ ไป ของภูมิประเทศ โดยสร้างเป็นแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วนขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ และได้ข้อมูลมาจากภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่าย

ดาวเทียม 
        4.2 ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map) เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือประกอบการเดินทาง โดยปกติจะเป็นแผนที่มาตราส่วนกลาง หรือมาตราส่วนเล็ก และแสดงเฉพาะสิ่งที่เป็นที่น่าสนใจของผู้ใช้ เช่น ชาร์ตเดิน
เรือ ชาร์ตด้านอุทกศาสตร์ เป็นต้น
        4.3 แผนที่พิเศษ (Thematic and special map) ปัจจุบันมีความสำคัญมากขึ้น เพราะสามารถใช้ประกอบการทำวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ การวางแผนและใช้ในงานด้านวิศวกรรม แผนที่ชนิดนี้จะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องลงไป เช่น แผนที่ดิน 
แผนที่ประชากร แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ แผนที่ธรณีวิทยา เป็นต้น


สัญลักษณ์แผนที่
สัญลักษณ์แผนที่ คือ รูปหรือเครื่องหมายหรือเส้นหรือสี ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อใช้แสดงรายละเอียดที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก หรือแสดงข้อมูลอื่นใดลงในแผนที่ 
1. จำแนกตามรูปร่างของสัญลักษณ์
         1.1 สัญลักษณ์ที่เป็นจุดหรือเป็นรูปขนาดเล็ก (Point or Pictorial Symbols) สัญลักษณ์ชนิดนี้อาจเป็นได้ทั้งที่เป็นจุด วงกลม ทรงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมหรือรูปแบบอื่น ๆ 
          1.2 สัญลักษณ์ที่เป็นเส้น (Line Symbols) เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่มีความยาว เช่น ถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ สายโทรเลข เส้นกั้นอาณาเขต เป็นต้น 
           1.3 สัญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ (Area Symbols) เป็นสัญลักษณ์ที่แทนพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ๆ เช่น ทุ่งนา ป่าไม้ แหล่งน้ำ การใช้ที่ดิน พื้นที่สวน พื้นที่ไร่ ซึ่งบางพื้นที่นั้นอาจมีสีหรือสัญลักษณ์อื่น ๆ ประกอบ 
2. จำแนกตามสิ่งที่ทดแทน
            2.1 สัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural or Physical features) ซึ่งใช้ทดแทนสิ่งเหล่านี้ เช่น   แหล่งน้ำและระบบการระบายน้ำ   พืชพรรณธรรมชาติ  ความสูงต่ำของพื้นที่เป็นต้น
            2.2 สัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ( Man made features ) ซึ่งใช้ทดแทน สิ่งเหล่านี้ เช่น
การใช้ที่ดิน    การคมนาคม   สถานที่ราชการเป็นต้น
             2.3 สัญลักษณ์ที่ใช้แทนข้อมูลพิเศษ ( Special features ) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งซึ่งผู้เขียนแผนที่ต้องการแสดงให้ผู้ใช้ทราบ เช่นเส้นกั้นอาณาเขตการปกครอง   ความสูงของผิวโลก พิกัดภูมิศาสตร์และพิกัดฉาก
สีของสัญลักษณ์
สีของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนรายละเอียดต่าง ๆ ของแผนที่แต่ละชุดจะมีสีมากน้อยต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนรายละเอียดบนพื้นโลกที่แสดงลงในแผนที่ สีที่ใช้นอกจากจะทำให้แผนที่สวยงามแล้ว ยังช่วยให้อ่านได้ง่ายและถูกต้องยิ่ง
ขึ้น สำหรับแผนที่ภูมิประเทศที่กรมแผนที่จัดพิมพ์ในระบบ 4 สี ได้เลือกสีให้สอดคล้องกับสัญลักษณ์ที่ใช้ทดแทน คือ
สีน้ำเงิน ใช้แทน แหล่งน้ำ       สีเขียว ใช้แทน พืชพันธุ์ไม้     สีแดงและสีดำ ใช้แทน สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น       สีน้ำตาล ใช้แทน เส้นชั้นความสูง      และสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นพิเศษไม่จำกัดสี

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
       1. จงอธิบายความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่
       2.  จงอธิบายวิธีการจำแนกชนิดของแผนที่
       3.  แผนที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเป็นแบบใด และเป็นเพราะเหตุใดจึงได้รับความนิยม

กิจกรรมเสนอแนะ
       1.  ค้นค้าหาแผนที่ชนิดต่าง ๆมาเปรียบเทียบกัน
       2.  ฝึกอ่านและแปลความหมายจากแผนที่

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
 สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์   คณิตศาสตร์    ศิลปศึกษา

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล  / ภาพประกอบ
https://www.rtsd.mi.th/school/elearning/elearning.htm
https://www.bangkokgis.com/modules.php?m=gis_foreveryone&gr=basic_map&page=2
https://www.marinerthai.com/forum/index.php?topic=927.0
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/9/92/India_Pakistan1947a.jpg
https://www.nsru.ac.th/inline/chapter201wbi.html

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2629

อัพเดทล่าสุด