หลักฐานทางประวัติศาสตร์


1,268 ผู้ชม


การศึกษาเรื่องราวในอดีตต้องอาศัยหลักฐานซึ่งเป็นร่องรอยที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ในแต่ละยุคแต่ละสมัยนำมาเป็นข้อมูลในการศึกษาหาความจริงที่เกิดขึ้น   

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งแยกได้ดังนี้
            1.หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์
                     หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ หมายถึงหลักฐานที่บันทึกเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์ จารึกบนแผ่นศิลาโลหะ ไม้ และที่จารบนใบลาน บอกเรื่องราวต่างๆ เช่น
                     ศิลาจารึกถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญมากในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย
             ในระยะเริ่มแรกสมัยสุโขทัย ที่สำคัญได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) , ศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) , ศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) , ศิลาจารึกหลักที่ 4 (จารึกวัดป่ามะม่วง) , ศิลาจารึกหลักที่ 8 ข. (จารึกวัดพระมหาธาตุ) , จารึกหลักที่ 24 (จารึกวัดหัวเวียงไชยา) , จารึกหลักที่ 35 (จารึกดงแม่นางเมือง นครสวรรค์) , จารึกหลักที่ 62 (จารึกวัดพระยืน ลำพูน) ฯลฯ 

ศิลาจารึก

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

ที่มาภาพ : https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:88lp1kahySUUmM
                    

                          พระราชพงศาวดาร ได้แก่ พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยอยุธยา คือ ฉบับหลวงประเสริฐ
พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์  คือฉบับรัชกาลที่ 1 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) , 
ฉบับเจ้าพระยาพิพิธพิชัย , ฉบับพระพันรัตน์ , ฉบับบริติชมิวเซียม ฉบับรัชกาลที่ 3 มี 1 สำนวน คือ ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสฉบับรัชกาลที่ 4 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพระราชหัตถเลขาพระราชพงศาวดารฉบับอื่นๆ คือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) พงศาวดารเหนือ พงศาวดารโยนก ฯลฯ

พระราชพงศาวดาร

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

ที่มาภาพ : https://i-yabooks.tarad.com/shop/i/i-yabooks/img-lib/spd_2009113010739_b.JPG


                      จดหมายเหตุ ได้แก่ จดหมายถึงผู้บังคับบัญชา จดหมายของข้าราชการและพ่อค้า เอกสารทางการทูต บันทึกของมิชชันนารี เช่น จดหมายเหตุของลาลูแบร์,บันทึกของบาดหลวงเดอ ชัว สี,จดหมายเหตุวันวิลิต,เอกสารฮอลันดา , ฯลฯ

จดหมายเหตุ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

ที่มาภาพ : https://su-usedbook.tarad.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/1458800000162_b.jpg

                      ตำนาน ได้แก่ ตำนานสิงหนวัติ (เล่าเรื่องตั้งแต่พระเจ้าสิงหนวัติอพยพมาจากเหนือ) , จามเทวีวงศ์ (เป็นเรื่องเมืองหริภุญไชย) , รัตนพิมพ์วงศ์ (เป็นตำนานพระแก้วมรกต) , สิหิงคนิทาน (เป็นประวัติพุทธศาสนาและประวัติเมืองต่างๆ ในลานนาไทย) ,จุลลยุทธกาลวงศ์ (เป็นพงศาวดารไทย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ตลอดสมัยอยุธยา) , ตำนานสุวรรณโคมคำ และตำนานมูลศาสนา (เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย)

                   
            2.หลักฐานทางโบราณคดี และศิลปกรรม หลักฐานประเภทนี้มีทั้งหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ซึ่งนักประวัติศาสตร์อาจศึกษาด้วยตนเองหรือต้องอาศัยการตีความจากนักวิชาการสาขาอื่นๆ เช่น นักมนุษยวิทยา นักโบราณคดีหลักฐานประเภทนี้ เช่น  ปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมาย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

ที่มาภาพ :  https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/small/16427584.jpg


       เครื่องมือหินกะเทาะพบที่เมืองเชียงแสน

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

  ที่มาภาพ :  https://www.thailandmuseum.com/chiangsaen/images/chiangsaen01.jpg

           เครื่องปั้นดินเผา 

หลักฐานทางประวัติศาสตร์
                      

                            ที่มาภาพ :   https://www.udon-ju.ago.go.th/pubproEmploy_files/Banchieng.JPG

        ลูกปัดและเครื่องประดับต่างๆ ฯลฯ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

ที่มาภาพ : https://beadhip.com/img-beadhip/wind-trade-beads-4.jpg 

       โครงกระดูกมนุษย์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

ที่มาภาพ : https://www.thaizest.com/trip/12/gallery/0000000115.jpg

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
             ๑.หลักฐานทางประวัติศาสตร์จำแนกประเภทอะไรบ้างให้ยกตัวอย่างและอธิบายพอเข้าใจ
          ๒.หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนักเรียนมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

กิจกรรมเสนอแนะ ควรให้นักเรียนศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ
https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:88lp1kahySUUmM
https://i-yabooks.tarad.com/shop/i/i-yabooks/img-lib/spd_2009113010739_b.JPGhttps://su-usedbook.tarad.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/1458800000162_b.jpghttps://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/small/16427584.jpg
https://www.thailandmuseum.com/chiangsaen/images/chiangsaen01.jpg
https://beadhip.com/img-beadhip/wind-trade-beads-4.jpg

https://www.thaizest.com/trip/12/gallery/0000000115.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2651

อัพเดทล่าสุด