หลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นหลักฐานเก่าแก่ การที่จะพิสูจน์ว่าหลักฐานชิ้นใดเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ และหลักฐานชิ้นใดไม่น่าเชื่อถือจึงต้องมีการตรวจสอบ วิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบ ดังนั้นวิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้ทราบเรื่องราวทางประวัติศ
ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ มี ๕ ขั้นตอน ดังนี้
๑.การกำหนดประเด็นศึกษา เพื่อศึกษาเรื่องราวในอดีตที่สนใจใคร่รู้ หรือศึกษา เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่งโดยการตั้งประเด็นคำถาม เช่น คูน้ำบ้านเรามีความเป็นมาอย่างไร
๒.การรวบรวมหลักฐาน เป็นการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ศิลาจารึกจดหมายเหตุ และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น โบราณวัตถุ คำบอกเล่า โครงกระดูก เครื่องมือหิน ภาชนะดินเผา
๓.การวิเคราะห์หลักฐาน เพื่อการตรวจสอบ และประเมินคุณค่าความน่าเชื่อถือของหลักฐาน เช่น ผู้สร้างหลักฐานเป็นใคร เพื่อจุดมุ่งหมายใดโดยการตีความมีเหตุผล เป็นกลาง และไม่มีอคติ
๔.การสรุปข้อเท็จจริง จะต้องศึกษาหลักฐานแต่ละชิ้นมีความเชื่อมโยงเข้ากับหลักฐานอื่นๆได้อย่างไร เช่นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยจำเป็นต้องศึกษาศิลาจารึกหลายๆหลักเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์
๕.การนำเสนอเรื่องที่ได้ศึกษา โดยอธิบายสมเหตุสมผล มีหลักฐานอ้างอิง อธิบายตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหลัง อาจนำเสนอเป็นรายงานบทความ นิทรรศการ เป็นต้น
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
๑.วิธีการทางประวัติศาสตร์มีกี่ขั้นตอน อะไร บ้าง อธิบาย
๒.ยกตัวอย่างวิธีศึกษาทางประวัติศาสตร์ มา ๑ ตัวอย่างให้ครบทุกขั้นตอน
กิจกรรมเสนอแนะ ควรให้นักเรียนศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ชั้น ม.๑ ของ ผศ.ดร.วงเดือน นาราสัจจ์
และ ผศ.ชมพูนุท นาคีรักษ์
https://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/surin27.jpg
https://202.143.141.162/elibrary/section/sec6art/490002/baanchiang01.jpg
https://www.healthcorners.com/2007/article/img5/5_1219359226.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2787