"โอเชียเนีย Oceania"


2,137 ผู้ชม


กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก   

        

"โอเชียเนีย Oceania"

"โอเชียเนีย Oceania"

โอเชียเนีย

"โอเชียเนีย Oceania"

       โอเชียเนีย (อังกฤษ: Oceania) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก การใช้ในวงแคบ หมายถึง หมู่เกาะโพลินีเซีย (รวมนิวซีแลนด์) หมู่เกาะเมลานีเซีย (รวมนิวกินี) และหมู่เกาะไมโครนีเซีย การใช้ในวงกว้างจะรวมออสเตรเลียเข้าไปด้วย และอาจรวมถึงกลุ่มเกาะมลายู บางทีนำไปใช้ในความหมายที่รวมเอาเกาะอื่น ๆ เข้าไว้ เช่น ญี่ปุ่นและหมู่เกาะอาลิวเชียน แต่พบน้อยมาก"โอเชียเนีย Oceania"

   

  "โอเชียเนีย Oceania"

          หมายถึง กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด เนื้อที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร เล็กกว่าทวีปเอเชียถึง 6 เท่า ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินที่เป็นที่ตั้งของประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะโพลินีเซีย หมู่เกาะไมโครนีเซีย หมู่เกาะเมลานีเซีย ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย เป็นกลุ่มของหมู่เกาะจำนวนมากนับพันเกาะ อย่างไมโครนีเซียมีในครอบครองกว่า 600 เกาะ ประกอบด้วย 14 ประเทศ เมืองหลวงอยู่ในวงเล็บ ได้แก่

  1.  คิริบาส (ตาระวา)

  2. ซามัว (อาปีอา)

  3. ตองกา (นูกูอะโลฟา) 

  4. ตูวาลู (ฟูนะฟูตี)

  5. นาอูรู (นาอูรู)

  6. นิวซีแลนด์ (เวลลิงตัน)

  7. ปาปัวนิวกินี (พอร์ตมอร์สบี)

  8. ปาเลา (เมเลเคอ็อก)

  9. ฟิจิ (ซูวา)

  10. ไมโครนีเซีย (ปาลิเกอร์) 

  11. วานูอาตู (พอร์ตวิลา) 

  12. หมู่เกาะโซโลมอน (โฮนีอารา)

  13. หมู่เกาะมาร์แชลล์ (มาจูโร)

  14. ออสเตรเลีย (แคนเบอร์รา) 

   และอีก  13 ดินแดน :   (เจ้าของดินแดนอยู่ในวงเล็บและข้างหลังของ | คือเมืองหลวง) ได้แก่

        กวม ( สหรัฐอเมริกา) | อากาญา , หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ( สหรัฐอเมริกา) | ไซปัน , อเมริกันซามัว ( สหรัฐอเมริกา) | ปาโกปาโก ,หมู่เกาะคุก ( นิวซีแลนด์) | อะวารัว , เฟรนช์โปลินีเซีย ( ฝรั่งเศส) | ปาปีติ  นีอูเอ ( นิวซีแลนด์) | อะโลฟี ,หมู่เกาะพิตแคร์น ( สหราชอาณาจักร) | แอดัมส์ทาวน์ ,โตเกเลา ( นิวซีแลนด์) | ไม่มี, แต่ละอะทอลล์มีศูนย์กลางการบริหาร ,วาลลิสและฟุตูนา ( ฝรั่งเศส) | มาตา-อูตู , นิวแคลิโดเนีย ( ฝรั่งเศส) | นูเมอา , เกาะนอร์ฟอล์ก ( ออสเตรเลีย) | คิงส์ตัน , หมู่เกาะโคโคส ( ออสเตรเลีย) | เวสต์ไอแลนด์ 
 เกาะคริสต์มาส ( ออสเตรเลีย) | เดอะ เซ็ทเทลเมนท์

"โอเชียเนีย Oceania"

ภูมิประเทศของโอเชียเนีย

         ส่วนใหญ่เป็นเกาะและพืดหินปะการัง กระทั่งแผ่นดินเกิดการยกตัว นอกจากนี้ ยังมีที่เป็นภูเขาไฟ เทือกเขาขรุขระทุรกันดาร ที่ราบแคบๆ ป่าทึบ และทุกประเทศลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ภูมิอากาศร้อนชื้น ยกเว้นนิวซีแลนด์ที่เป็นแบบภาคพื้นสมุทร ฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ชุกมากแถบฝั่งตะวันตกของเกาะใต้ และออสเตรเลียที่แบ่งออกได้เป็น 7 เขตภูมิอากาศ คือ ร้อนชื้น ร้อนสลับแห้ง ทุ่งหญ้าเขตร้อน ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย เมดิเตอร์เรเนียน อบอุ่นชื้นแบบภาคพื้นสมุทร และแบบทะเลทราย

"โอเชียเนีย Oceania"

          ในทวีปโอเชียเนีย นั้นมีประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างจะเกี่ยวเนื่องกันของประเทศแต่ละประเทศ จักรวรรดิและอาณาจักรต่าง ๆ ที่สำคัญในโอเชียเนีย เช่น อาณาจักรของชาวเมารี จักรวรรดิตูอิตองกา หมู่เกาะโซโลมอน จักรวรรดิตูอิปูโลตูและจักรวรรดิตูอิมานูอา เป็นต้น

         เกือบทั้งหมดเคยตกเป็นเมืองขึ้นของเจ้าอาณานิคมจากโลกตะวันตกมีทั้งประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา

          บางประเทศก่อกำเนิดจากผลพวงของสงคราม ทั้งสงครามระหว่างคนพื้นเมืองด้วยกันเองอย่างตองกา หรือการรวมประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของหมู่เกาะโซโลมอน เฉพาะอย่างยิ่งการก่อเกิดของประเทศสำคัญคือออสเตรเลีย ก็เป็นผลมาจากหลังสงครามประกาศอิสรภาพในสหรัฐอเมริกายุติลง และอังกฤษมองหาแผ่นดินใหม่สำหรับการตั้งถิ่นฐานของผู้กระทำผิดแทนที่อาณานิคมในเขตแอตแลนติกเหนือ

คำ "โอเชียเนีย" ได้มาจากชื่อของ "เปลือกโลกมหาสมุทร-Oceanic plate"

        ทั้งนี้ เปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นขนาดใหญ่ 6-10 แผ่น และมีแผ่นเล็กๆ ที่ประกอบกันขึ้นหลายๆ แผ่นต่อกันเหมือนแผ่นกระเบื้อง แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เรียกว่าเพลต (Plate) แบ่งเป็นเปลือกโลกทวีป-คอนติเนนเติล เพลต (Continental plate) และเปลือกโลกมหาสมุทร-โอเชียนิก เพลต (Oceanic plate)

"โอเชียเนีย Oceania"

สรุปสาระการเรียนรู้ :

         โอเชียเนียประกอบด้วยออสเตรเลีย นิวซีแลนด์  และประเทศในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ประกอบด้วย 11 ประเทศเป็นดินแดนที่อยู่ซีกโลกใต้ทำให้มีฤดูกาลตรงข้ามกับประเทศซีกโลกเหนือ ทุกประเทศเป็นเกาะ

 คำถามจากสาระการเรียนรู้ : 

           ประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกสามารถเลี้ยงแกะเหมือนทวีปออสเตรเลียได้หรือไม่เพราะเหตุใด

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2840

อัพเดทล่าสุด