นครเปตรา 1ใน7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่


788 ผู้ชม


นครเปตรา คือนครหินแกะสลักโบราณที่ซ่อนตัวอย่างลึกลับในหุบเขาวาดี มูซา หุบเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบเดดซีกับทะเลอัคบาในประเทศจอร์แดน   

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม   และผู้ที่สนใจทั่วไป
        นครเปตรา เดิมเป็นนครแห่งการค้าขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาถูกละทิ้งเป็นเวลานานกว่า 700 ปี จนเมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท เดินทางผ่านมาพบเห็นเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812)  และได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยกล่าวอธิบายไว้ว่า "เป็นหนึ่งในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดของมรดกทางวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ" ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าไปโดยอาศัยม้าเท่านั้น    และเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นครเปตราได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ของโลก 

นครเปตรา 1ใน7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่

ที่มา :  https://www.twip.org/photos-of-the-world-middle-east-jordan-petra-th-7410-1.html


        ชนกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาสู่เปตราคือพวกเอโดไมต์ ซึ่งเข้ามาราวปี 1000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ชนชาติที่สร้างเมืองเปตราขึ้นมานั้นคือชาวนาบาเทียน (Nabataeans) ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล   คนกลุ่มนี้สกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมือง พวกเขามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ แต่เปลี่ยนมาค้าขายและรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน คนเผ่านี้มีความซื่อสัตย์ ค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เรียกเก็บจากผู้สัญจรก็ช่วยให้พวกนาบาเทียนมีชีวิตที่รุ่งเรื่องขึ้น

นครเปตรา 1ใน7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่

ที่มา : https://www.twip.org/photos-of-the-world-middle-east-jordan-petra-th-7410-1.html


        สาเหตุที่เปตราตั้งอยู่บนดินแดนอันแห้งแล้ง มีแต่หินกับทรายนั้นก็น่าจะเพราะเปตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น 2 สาย ได้แก่เส้นทางสายสายตะวันออก - สายตะวันตก คาบสมุทรอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสายสายเหนือ - ใต้ ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัส ซีเรีย และยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วาดี มูซา หรือ หุบเขาโมเสส พ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันว่างเปล่าและแห้งแล้งใกล้เคียงนั้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเปตรา

นครเปตรา 1ใน7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่

ที่มา : https://www.twip.org/photos-of-the-world-middle-east-jordan-petra-th-7410-1.html


        เปตราเป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่ จนทำให้นักเดินทางชาวกรีกมักนำเรื่องความมั่งคั่งมาเล่าให้ฟัง ตามบันทึกของสตราโบ นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่า เมืองเปตราเป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก ยางไม้หอม กำยาน เครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ผ้าย้อมของชาวฟินิเซียนล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเปตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และชาวเปอร์เซีย

นครเปตรา 1ใน7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่

ที่มา :  https://www.twip.org/photos-of-the-world-middle-east-jordan-petra-th-7410-1.html 

       เปตราเจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศักราชที่ 70 ในช่วงเวลานี้เปตราถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 (Aretas IV) ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องให้ว่า ฟิโลเดมอส (Philodemos) ซึ่งแปลว่า ผู้รักประชาชน และด้วยความมั่งคั่ง ความเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล และชัยภูมิอันจากแก่การพิชิต จึงทำให้เมืองมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องกลัวศัตรูจากภายนอก 

นครเปตรา 1ใน7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่

ที่มา :  https://www.twip.org/photos-of-the-world-middle-east-jordan-petra-th-7410-1.html 


       พวกโรมันนำโดยจักรพรรดิทราจัน หรือ ไทรอะนุส(Traianus) ได้เข้ายึดครองเปตราและผนวกนครนี้เข้าเป็นจังหวัดในจักรวรรดิโรมัน แต่เปตราก็ยังคงดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวปี ค.ศ. 300 เมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มคลอนแคลน ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 906 (ค.ศ. 363) แผ่นดินไหวก็ได้ทำลายอาคารและระบบชลประทานที่ถือว่าดีมากของเมืองลง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 เปตรากลายเป็นที่ตั้งคริสต์ศาสนามณฑลของบิชอป แล้วถูกมุสลิมยึดในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้วก็เสื่อมถอยมาเรื่อยๆ 
        นักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท (Johann Ludwig Burckhardt) บันทึกย่อไว้ขณะที่อูฐเดินผ่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 เลออง เดอ ลาบอร์ด (Leon de Laborde) ชาวฝรั่งเศสที่ได้เดินทางเข้าไปสำรวจเมืองและเขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า "Voyage de l'Arabie Pétrée" แปลว่า "การเดินทางในเปตราแห่งอาหรับ"   ซึ่งการเขียนหนังสือครั้งนี้ถือเป็นการนำภาพและความรู้ต่างๆที่ชาวโลกไม่เคยเห็นมาเปิดเผยให้ได้รับรู้


กิจกรรมเสนอแนะ
       1.  ค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับนครเปตรา
       2.  ค้นคว้าทำรายงานโบราณสถานที่สำคัญในท้องถิ่นของนักเรียน


การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
       สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์   คณิตศาสตร์    ศิลปะ

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล  
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2
https://www.oknation.net/blog/khonfungpleng/2009/07/13/entry-5
https://www.baanmaha.com/community/thread23541.html

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3003

อัพเดทล่าสุด