ชื่อเต็มคือ “พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” แหล่งเรียนรู้เรื่องไม้กลายเป็นหิน ช้างดึกดำบรรพ์ และไดโนเสาร์ เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของประเทศไทยและแห่งแรกของภูมิภาคเอเซียที่มีการจัดแสดงนิทรรศการและซากดึกดำบรรพ์
ตั้งอยู่เลขที่ 184 หมู่ที่ 7 บ้านโกรกเดือนห้า ถนนมิตรภาพ-หนองปลิง ตำบลสุรนารี เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของประเทศไทย และ หนึ่งในเจ็ดแห่งของโลก ที่รวบรวมเกี่ยวกับพรรณไม้ดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ อายุประมาณ 800,000 – 320,000,000 ปี
กำเนิดของพิพิธภัณฑ์นั้น เริ่มจาก ดร. ปรีชา อุยตระกูล ร่วมกับหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา นำโดยนายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ ในเรื่อง “ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโคราชในทศวรรษหน้า” ที่โรงแรมสีมาธานี เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2537 ผศ. ดร. ประเทือง จินตสกุล หัวหน้าภาควิชาภูมิศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครราชสีมา ขณะนั้น เป็นผู้อภิปรายในที่ประชุม ได้เสนอสถานการณ์วิกฤติของซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน ในจังหวัดนครราชสีมา พร้อมทั้งโครงการอนุรักษ์ในรูปของอุทยาน และพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน บนพื้นที่ 80 ไร่ ภายใต้งบประมาณการก่อสร้าง 150 ล้านบาท
ดินแดนอีสานถือว่าเป็นถิ่นไดโนเสาร์ เพราะบนแผ่นดินที่ราบสูงอีสานซึ่งมีอายุเก่าแก่นับร้อยล้านปีมาแล้วนั้น เคยเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ดึกดำบรรพ์อย่างไดโนเสาร์และสัตว์ต่างๆ และดินแดนแถบนี้ยังพบซากดึกดำบรรพ์พืชได้แก่ไม้กลายเป็นหิน เนื่องจากว่าเมืองโคราชนี้ถือว่ามีศักยภาพด้านฟอสซิลอยู่ในระดับเอเชียและระดับโลก เพราะได้พบไม้กลายเป็นหินขนาดใหญ่จำนวนนับพันท่อน หลากหลายชนิดและอายุในพื้นที่เกือบ 20 อำเภอ และไม่เพียงแต่ไม้กลายเป็นหินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงฟอสซิลของสัตว์ดึกดำบรรพ์และกระดูกไดโนเสาร์อีกด้วย พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินแห่งนี้ แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วน "พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน" ส่วน "พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์" และส่วน "พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์”
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
1. จุดเด่นของพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คืออะไรบ้าง
2. ดินแดนภาคอีสานมีความอุดมสมบูรณ์ในอดีตมีหลักฐานใดเป็นข้อพิสูจน์
3. คำกล่าวที่ว่า "อีสานมีศักยภาพด้านฟอสซิลอยู่ในระดับเอเชียและระดับโลก" มีอะไรเป็นข้อพิสูจน์
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับซากฟอสซิลที่พบในประเทศไทย
2. ทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
https://www.oknation.net/blog/kintaro/2009/05/11/entry-1
https://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=3114&filename=salt_index07
https://www.oknation.net/blog/kintaro/2009/05/11/entry-1
https://www.7wondersthailand.com/wizContent.asp?wizConID=272&txtmMenu_ID=7
https://th.wikipedia.org/wiki
https://www.hotsia.com/nakhonratchasima/1337.shtml
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3162