เศรษฐศาสตร์กับเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์กับเศรษฐกิจ
อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า หลังจากยุบสภาอย่างเป็นทางการแล้วจะรายงานสถานการณ์สินค้ากลุ่มเหล็ก วัสดุก่อสร้าง สายไฟฟ้า กระเบื้อง รวมถึงสินค้าที่ทำจากตะกั่วและทองแดง ยางรถยนต์ แบตเตอรี่ ให้นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ รับทราบ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปร่วมหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาขอแนวทางดูแลในส่วนของราคาสินค้า ว่าจะอนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์สามารถปรับขึ้นราคาสินค้าเหล่านี้ได้หรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ต้นทุนวัตถุดิบจากต่างประเทศรวมถึงราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับสูงขึ้นมาก ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ จากข่าวนี้จะเห็นว่า ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์กับเศรษฐกิจถือว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันและเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจในประเทศไทยและของโลกได้ โดยในแต่ละประเทศจะมีกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การค้าและการบริการ โดยการผลิตจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด
เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่งของวิชาสังคมศาสตร์ ที่ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคม เศรษฐกิจหมายถึงการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์บนพื้นผิวโลก เกี่ยวกับการผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน การกระจาย เป็นต้น ดังนั้นหลักเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจจึงเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมหรือสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา จุดประสงค์ เพื่อให้ รู้และเข้าใจเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหาภาค ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และแบบสังคมนิยม เนื้อหา การศึกษาระบบรวมทางเศรษฐกิจของประเทศ เรียกว่า เศรษฐศาสตร์มหภาค ส่วนระบบเศรษฐกิจทางชุมชนหรือครัวเรือน เป็นเรื่องของ เศรษฐศาสตร์จุลภาค สำหรับเศรษฐกิจในแต่ละประเทศในโลกจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ แบบทุนนิยม และแบบสังคมนิยม อย่างเช่นประเทศไทยที่มีระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเป็นแบบทุนนิยม ส่วนประเทศจีนมีระบบเศรษฐกิจโน้มเอียงไปทางสังคมนิยม ในปัจจุบันไม่มีประเทศใดใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือสังคมนิยมอย่างสมบูรณ์ ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมก็เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเองมากขึ้น ในด้านประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้น รัฐบาลของประเทศดังกล่าวก็ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อลดข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบ จึงอาจกล่าวได้ว่าปัจจุบันประเทศต่างๆ ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ในการศึกษาวิชา เศรษฐศาสตร์ จะแบ่งได้ 2 แขนง ได้แก่ 1. เศรษฐศาสตร์แบบจุลภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจ ในการตัดสินใจแก้ปัญหา เศรษฐกิจของแต่ละบุคคล เช่น ศึกษาการเลือกบริโภคสินค้าและบริการ ของผู้บริโภค ศึกษาพฤติกรรมของผู้ผลิตที่ใช้งบประมาณในการผลิตอย่างรัดกุม เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด 2. เศรษฐศาสตร์แบบมหภาค เป็นการศึกษาปัญหาเศรษฐกิจทั้งระบบ ในการแก้ไขปัญหา เช่นการว่างงานของผู้มีรายได้น้อย การเติบโตของเศรษฐกิจระดับชาติ ปัญหาเงินเฟ้อ ระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจที่สำคัญแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และระบบ เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม 1. ระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยม จะมีลักษณะที่เอกชนเป็นเจ้าของธุระกิจ มีเสรีภาพในการเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตนเอง 2. ระบบเศรษฐกิจแบบ แบบนี้จะมีลักษณที่รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดและวางแผนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภท รายได้ทั้งหมดจะตกเป็นของรัฐบาล คำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย 1. เพราะเหตุใดเราต้องศึกษาเรื่องเศรษฐศาตร์และเศรษฐกิจ 2. ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร กิจกรรมเสนอแนะ 1. ศึกษาเพิ่มเติมจากเพาเวอร์พอยต์ เรื่องความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ 2. ศึกษาวิดิทัศน์ https://courseware.rmutl.ac.th/courses/70/data/pict1_1.htm 3. ศึกษาวิดิทัศน์ https://courseware.rmutl.ac.th/courses/70/data/pict5_1.htm 4. ทำใบงาน เรื่องเศรษฐศาสตร์กับเศรษฐกิจ การบูรณาการกับสาระอื่น 1. สาระภาษาไทย ในส่วนการเขียนเรียงความ 2. สาระศิลปะ ในส่วนการตกแต่งชิ้นงาน 3. สาระการงานและพื้นฐานอาชีพ ในส่วนการสืบค้นข้อมูล อ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล รูปภาพ https://www.thaigoodview.com/node/20372?page=0%2C6 เนื้อหาข่าว หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ https://www.norsorpor.com/ข่าว/n2465776/สินค้าดาหน้าจ่อขึ้นราคา เนื้อหา https://www.lks.ac.th/kukiat/student/betterroyal/social/28.html ศึกษาวีดีโอ https://courseware.rmutl.ac.th/courses/70/data/pict1_1.htm ศึกษาวีดีโอ https://courseware.rmutl.ac.th/courses/70/data/pict5_1.htm ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3731 |