ผลสำมโนประชากรของจีนต่ำกว่าที่นักประชากรศาสตร์คาดการณ์ไว้ โดยจากการสำมโนประชากร ครั้งล่าสุดในปี 2553 พบว่าประชากรของประเทศจีนเพิ่มเป็น 1,339 ล้านคน เพิ่มขึ้น 5.9 เปอร์เซ็นต์
World population
ผลสำมโนประชากรของจีนต่ำกว่าที่นักประชากรศาสตร์คาดการณ์ไว้ โดยจากการสำมโนประชากร ครั้งล่าสุดในปี 2553 พบว่าประชากรของประเทศจีนเพิ่มเป็น 1,339 ล้านคน เพิ่มขึ้น 5.9 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ถึง 1,400 ล้านคน ดังที่คาดคิดกัน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/content/tech/168232
10 ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก ในปี 2554
1. China 1,369 millions 19.84% of world
2. India 1,201 millions 16.96% of world
3. United States 304 millions 4.56% of world
4. Indonesia 232 millions 3.47% of world
5. Brazil 187 millions 2.80% of world
6. Pakistan 163 millions 2.44% of world
7. Bangladesh 159 millions 2.38% of world
8. Nigeria 148 millions 2.22% of world
9. Russia 142 millions 2.13% of world
10. Japan 128 millions 1.92% of world
ที่มา : https://cpe.kmutt.ac.th/wiki/index.php/
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
เนื้อหาเหมาะสำหรับ นักเรียนระดับชั้น ม.4-6
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส.3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ประชากรโลก (World population)
ปัจจุบันประชากรโลก ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ โดยการเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก เกิดจากอัตราการเกิดและการตาย ซึ่งส่งผลกระทบเช่นเดียวกัน ในทุกประเทศทั่วโลก ด้วยองค์การสหประชาชาติ (UNFPA)ได้เล็งเห็นความสำคัญของประชากรหรือมนุษย์ ซึ่งเป็นตัวแปรหลัก ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะต่างๆ โดยทั่วโลกได้มีการเฉลิมฉลอง จำนวนประชากรโลกที่มีจำนวนครบ 5,000 ล้าน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2530 องค์การสหประชาชาติ จึงได้ประกาศให้วันที่ 11 กรกฏาคมของทุกปี เป็นวันประชากรโลก
ที่มา : https://cpe.kmutt.ac.th/wiki/index.php/Image:People.jpg
และในเดือนพฤศจิกายน 2551 ได้มีการประมาณว่าจะมีจำนวนประชากรถึง 6,600 ล้านคน (6,700 ล้านคนในเดือน เมษายน 2552) ประชากรโลกนั้นมีแนวโน้มว่าจะมีวัยเด็กลดน้อยลง โดยจำนวนของประชากรสูงอายุมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น แสดงว่าโครงสร้างของประชากรได้เปลี่ยนแปลงเข้าไปสู่สังคมผู้สูงอายุ (Anging Society) ซึ่งขณะนี้ยุโรปกลายเป็นภูมิภาค ที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอิตาลี กรีซ เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ หลายต่อหลายประเทศ จึงพยายามศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุมากขึ้น เพื่อพัฒนาประเทศของตนให้มีคุณภาพกลายเป็น “สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ” ต่อไปในอนาคต
ที่มา : https://cpe.kmutt.ac.th/wiki/index.php/Image:Wpopulations.png
ที่มา : https://cpe.kmutt.ac.th/wiki/index.php/Image:Wpopulationsincre.png
ชาวเอเชียมีจำนวนสูงถึง 60% ของจำนวนประชากรโลก ซึ่งประเทศจีน เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก และตามมาด้วยประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยนั้นอยู่ในอันดับที่ 19 โดยมีประชากรจำนวน 60 ล้านคน (2539) ซึ่งคาดการณ์เอาไว้ว่าในปี พ.ศ.2562 ประชาชนชาวไทยจะมีจำนวน 70 ล้านคน
ในประเทศไทย ก็มีแนวโน้มเข้าสังคมผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากรไทยลดลง สืบเนื่องมากจากการวางแผนครอบครัว ซึ่งพบว่าปัจจุบันประชากรไทย มีอัตราเจริญพันธุ์โดยรวม ลดลงต่ำกว่าระดับทดแทนถึงประมาณ 1.8 คน หรือผู้หญิงหนึ่งคนจะมีลูกไม่เกิน 2 คน อีกทั้งประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2527 คิดเป็นร้อยละ 5.7 และในปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 9.6 คาดว่าน่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.7 ในปี 2562 แสดงว่าในอนาคตประเทศไทย น่าจะมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก เพราะฉะนั้นประชากรไทย และประชากรทั่วโลก จะต้องมีแผนการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจเพื่อรองรับระบบสังคมในอนาคตต่อไป
ที่มา : https://cpe.kmutt.ac.th/wiki/index.php/
การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง ที่เกิดจากปัจจัยหลักเพียง 2 ประการคือ การเกิด และการตาย ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงของประชากร ในภูมิภาคย่อยๆ เช่น ทวีปหรือประเทศ ที่มีปัจจัยหลักนอกจากการเกิด และการตายแล้ว ยังมีการย้ายถิ่นของประชากรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ประเทศไทยมีขนาดของประชากรประมาณ 1% ของประชากรโลกและมีการเพิ่มขึ้นของประชากรประมาณ 1 ใน 140 ส่วนของการเพิ่มประชากรโลก หรืออาจกล่าวได้ว่าทุก 1 นาที โลกจะมีเด็กเกิดใหม่ 140 คน ในขณะที่ประเทศไทยทุก 1 นาที จะมีประชากรไทยเพิ่มขึ้น 1 คน ซึ่ง 1 คนที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจจะเป็นเด็กเกิดใหม่ หรืออาจจะเป็นการเพิ่มโดยการย้ายถิ่นเข้ามาจากต่างประเทศก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และประชากรไทยดังกล่าวนั้น เป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงทุกปี
ตารางแสดงลำดับประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด ในปี 2552
ตารางแสดงโครงสร้างประชากรไทย
ตารางแสดงการเปลี่ยนแปลงประชากรของโลกและไทย
ที่มา : https://www.sirikitdam.egat.com/days/07july/0507.html
ตารางแสดงโครงสร้างประชากรของโลกและไทย 2543-2568
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ https://service.nso.go.th/nso/data/02/wld_pop47.html
รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน ทั่วประเทศ และรายจังหวัด
ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2553
ที่มา : https://203.113.86.149/xstat/pop53_1.html
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรโลก
ปัจจัยหลักที่ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจาก
1. การค้นคว้าทางการแพทย์ ที่มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การผลิตวัคซีนป้องกันและรักษาโรค รวมถึงมีองค์การที่เกี่ยวกับการระบาดของโรคและวัฏจักรของการแพร่เชื้อโรค
2. ความรู้เรื่องสุขอนามัยของประชากร ประชากรโลกแทบทุกประเทศมีความรู้เรื่องสุขอนามัยมากขึ้นรวมทั้งมีการจัดการระบบ การวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ
3. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่ประชาชนสามารถรับรู้ข่าวสารทางการแพทย์ และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง เช่น ผู้ป่วยสามารถปรึกษาอาการกับแพทย์ ได้ทางโทรศัพท์หรือสื่อต่างๆ หรือ
การให้คำปรึกษาทางการแพทย์ ผ่านระบบโทรคมนาคมต่างๆ เป็นต้น
4. ระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปผู้หญิงเริ่มมีบทบาททางสังคมมากขึ้นทำให้ผู้หญิงทีมีทัศนคติต่อการแต่งงานเป็นด้านลบ ส่งผลให้จำนวนประชากรวัยเด็กลดน้อยลง
ที่มา : https://cpe.kmutt.ac.th/wiki/index.php/
ปัญหาของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก
ปัญหาของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก
1. ปัญหาการขาดแคลนอาหารและทัพยากร
- เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมากอาหารและทรัพยากรต่างๆ ย่อมไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก่อให้เกิดการขาดแคลนในบางประเทศที่กำลัีงพัฒนา
- การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อาจทำให้อาหารมีสารพิษปนเปื้อน หรือ ทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ
2. ปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
- เมื่อมีการขาดแคลนทรัพยากรเกิดขึ้นทำให้ต้องมีการบุกรุกป่าไม้ เพื่อที่จะหาทรัพยากร ทำให้เกิดการขาดพื้นที่ป่าไม้ และเป็นการทำลายระบบนิเวศน์
- ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างมาก มีการปล่อยของเสียสู่ที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดมลพิษ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชากรโลก และ ทำให้สภาพอากาศโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
3. ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตและสังคม
- เมื่อทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด แต่ประชากรกลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยกรและการแข่งขันทางสังคมสูงขึ้น
- ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสังคม เช่น การขาดการศึกษา สุขภาพอนามัยไม่ดี ขาดแคลนที่อยู่ และ ปัญหาการว่างงาน
4. ปัญหาการขัดแย้งระหว่างประเทศ
- ประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว บางประเทศมีนโยบายระบายประชากรออก เเพื่อแสวงหาอาณานิคมและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งอาจทำหให้เกิดการขัดแย้งขึ้นประหว่างประเทศ
- ก่อให้เกิดปัญหา รุกกล้ำข้ามพรมเดิน หรือ ผู้อพยบเข้ามาอย่างผิดกฏหมาย
ที่มา : https://cpe.kmutt.ac.th/wiki/index.php/
ประเด็นคำถาม
1. ปัจจุบันนี้ ยังคงมีการเรียนการสอนในวิชาประชากรศาสตร์อยู่หรือไม่
2. วิชาประชากรศาสตร์ มีความสำคัญ หรือมีความจำเป็นในการศึกษาเล่าเรียนมากน้อยเท่าใด
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมที่ https://cpe.kmutt.ac.th/wiki/index.php/Image:People.jpg
2. ให้นักเรียนอภิปรายในหัวข้อ "ปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก"
การบูรณาการ
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับมนุษย์
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เกี่ยวกับเพศศึกษา
อ้างอิงแหล่งข้อมูล
1. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/content/tech/168232
2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ https://service.nso.go.th/nso/data/02/wld_pop47.html
3. https://cpe.kmutt.ac.th/wiki/index.php/Image:People.jpg
4. https://www.sirikitdam.egat.com/days/07july/0507.html
5. https://203.113.86.149/xstat/pop53_1.html
6. https://www.google.co.th/imglanding
"สวัสดี...ชาวโลก"
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3882