วงจรของชีวิต


705 ผู้ชม


สุริยคติและจันทรคติ   

วงจรชีวิต
สุริยคติกาล วันที่  27 พฤษภาคม   พ. ศ.  2554 ค.ศ. 2011 จันทรคติกาลตรงกับวันศุกร์ แรม  10  ค่ำ  เดือน 6 ปีเถาะ ตรีศก จุลศักราช 1373  อาทิตย์อุทัย  เวลา  05.50 น. เที่ยงจริง เวลา 12.15 น. อาทิตย์ตก  เวลา 18.40 น. จันทร์ขึ้น  เวลา 02.21 น.    
วันศุกร์ (6) เป็นวันธงชัยและอธิบดีตามกาลโยค  สีประจำวัน คือ สีฟ้า น้ำเงิน สีสิริมงคล คือ สีชมพู สีอัปมงคล คือ สีม่วง ดอกตะแบก ดำ ราศีที่ดาวศรีสถิต คือ ราศีเมษ ราศีที่ดาวกาลีสถิต คือ ราศีพิจิก  หมวดราชาฤกษ์ เวลา 15.27-24.00 น.ห้ามทำการมงคล ทิศที่เป็นมงคล คือ ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) ทิศอัปมงคล คือ ทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ)
 ที่มา  :https://www.dailynews.co.th/  วันที่  27  พฤษภาคม  2554

 ความหมายและความสำคัญของเวลา  จะทำให้เราทราบถึงอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคต

วงจรของชีวิต

ที่มาภาพ  :  https://www.toomarkershop.com/image/data/Calendar_card/TemplateP1_resize.jpg

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  สาระที่  4   มาตรฐาน  ส  4.1  เข้าใจความหมาย  ความสำคัญของเวลา   และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์และสามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุ  เป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ  ช่วงเวลาแบบจันทรคติ  และแบบสุริยคติ

ในการนับช่วงเวลาที่เป็นอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคต  เป็นการนับช่วงเวลาแบบกว้าง ๆ ไม่ได้มีการระบุเจาะจงเวลาที่แน่นอน  แต่การนับช่วงเวลาแบบจันทรคติ   และแบบสุริยคติ  เป็นการนับช่วงเวลาที่มีการระบุเจาะจงเวลา
     1.  การนับช่วงเวลาแบบจันทรคติ  เป็นการนับช่วงเวลาโดยยึดการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก  ซึ่งเมื่อดวงจันทร์รอบโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม      วันทางจันทรคติจึงเรียกว่า  วันขึ้น  วันแรม  โดยดูจากลักษณะของดวงจันทร์
          ข้างขึ้น  คือ  ช่วงเวลาตั้งแต่หลังจากดวงจันทร์มืดสนิท  และค่อย ๆ มองเห็นดวงจันทร์สว่างขึ้น  จนกระทั่งมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง  ซึ่งกินเวลาทั้งหมด 15 วัน  โดยนับตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ  ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ
          ข้างแรม  คือ  ช่วงเวลาตั้งแต่หลังจากดวงจันทร์เต็มดวง  และค่อย ๆ มองเห็ดวงจันทร์มืดลง  จนกระทั่งมองเห็นดวงจันทร์มืดจนหมดดวง  
ซึ่งกินเวลาทั้งหมด 15 วัน  โดยนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ  ไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำ
          ส่วนการนับเดือนตามจันทรคติ  จะเรียกชื่อเดือนแบบง่าย ๆ ดังนี้  เดือนอ้าย (เดือนหนึ่ง)  เดือนยี่ (เดือนสอง)  เดือนสาม  เดือนสี่  เรื่อยไปจนถึงเดือนสิบสอง
          การนับช่วงเวลาแบบจันทรคติ  เป็นการนับช่วงเวลาในสมัยก่อนของประเทศไทย  ซึ่งจะพบได้ในการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  
          การนับช่วงเวลาแบบจันทรคตินั้น  ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีใช้กันอยู่  โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา  ซึ่งนักเรียนได้เรียนรู้มาบ้างแล้ว  
เมื่อเรียนวิชาพระพุทธศาสนา 
     
2.  การนับช่วงเวลาแบบสุริยคติ  เป็นการนับช่วงเวลาโดยยึดการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ  ซึ่งกินเวลาทั้งสิ้นประมาณ 365 วัน หรือ 1 ปี  และใน 1 ปี    มี 12 เดือน  เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนธันวาคม
          การนับช่วงเวลาแบบสุริยคติ  เป็นการนับเวลาที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน     ซึ่งเป็นการนับเวลาที่นักเรียนใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน  ตัวอย่างเช่น
               -  วันขึ้นปีใหม่ของปี พ.ศ. 2551  ตรงกับวันอังคารที่ 1 มกราคม
               -  วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี  เป็นวันสงกรานต์
               -  ในปี พ.ศ. 2547  วันรัฐธรรมนูญ  ตรงกับวันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม
         การเรียนรู้เกี่ยวกับช่วงเวลามีประโยชน์อย่างมาก  เพราะเราใช้ในการติดต่อ    สื่อสารกัน  ใช้ในการนัดหมายกัน  และยังใช้ในการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ 
โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
     3.  การเปรียบเทียบช่วงเวลาแบบจันทรคติแลสุริยคติ
          การเปรียบเทียบช่วงเวลาแบบจันทรคติ  ว่าตรงกับวันใดทางสุริยคติ  หรือเมื่อทราบวันทางสุริยคติแล้วแต่ต้องการทราบว่าตรงกับวันใดทางจันทรคติ 
 เราสามารถทราบได้จากปฏิทิน
               -  ปฏิทินบางฉบับจะบอกวันทางจันทรคติคู่กับวันทางสุริยคติ
               -  ปฏิทินบางฉบับจะบอกวันทางจันทรคติไว้เฉพาะวันที่เป็นวันธรรมสวนะ
 ที่มา  :  https://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1933

ครูถามนักเรียนว่าวันนี้วันอะไร 
ในสมัยโบราณจะทราบวันเวลาได้อย่างไร
ในปัจจุบันนักเรียนสามารถทราบวันเวลาได้จากไหน

ครูควรให้นักเรียนได้ศึกษาวันทางจันทรคติและสุริยคติกับปฏิทินที่แสดงไว้             ทั้งสองแบบ  และให้นักเรียนหาวันสำคัญในปฏิทิน  1  วัน  
แล้วให้นักเรียนบอกว่าตรงกับวันอะไร ทางจันทรคติ  และทางสุริยคติ

สาระศิลปะให้นักเรียนวาดภาพจำลองการนับวันทางจันทรคติ 
สาระคณิตศาสตร์ให้นักเรียนฝึกการอ่านวันจากปฏิทิน

ที่มาภาพไอคอน    :  https://pirun.ku.ac.th/~b4901206/Untitled-1_clip_image002.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4016

อัพเดทล่าสุด