'วิถีจักรยาน' ปลูกพลังรักษ์สิ่งแวดล้อม
ที่มาภาพไอคอน : https://www.dailynews.co.th/content/images/1107/18/newspaper/P4_varity_url.jpg
ตามรอย 'วิถีจักรยาน' ปลูกพลังรักษ์สิ่งแวดล้อม
ไม่เพียงเป็นพาหนะที่ช่วยนำพาไปถึงจุดหมายปลายทางได้โดยสะดวก จักรยาน ที่รู้จักคุ้นชินกันมาแต่ครั้งเยาว์วัยยังมีมนต์เสน่ห์ชวนหลงใหล พร้อมเติมต่อประสบการณ์ชีวิตอีกมากมาย!! การขับขี่จักรยาน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกาย มีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพ ขณะเดียวกันยังมีความโดดเด่นก็คือ ช่วยลดการใช้พลังงาน เพิ่มพูนการเรียนรู้รวมทั้งการได้สัมผัสธรรมชาติใกล้ชิด จากความต่อเนื่องของการสานต่อนโยบาย มหาวิทยาลัยสีเขียว โครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาซึ่งเอื้อต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
ที่มา : https://www.dailynews.co.th/
การขับขี่จักรยาน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกาย มีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพ ขณะเดียวกันยังมีความโดดเด่นก็คือ ช่วยลดการใช้พลังงาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม และมีจิตสำนึก อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ความหมายสิ่งแวดล้อม
ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม สามารถจับต้องและมองเห็นได้ และนามธรรม เช่นวัฒนธรรมแบบ แผน ประเพณี ความเชื่อ มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่ง จะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งแวดล้อม เป็นวงจรและวัฏจักร สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ 2 ส่วนคือ
สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้นมีลักษณะ ที่แตกต่างกันออกไป บางชนิดใช้เวลายาวนานมาก บางชนิดใช้วลาสั้นๆ ในการเกิด สิ่งแวดล้อมชนิดหนึ่งๆ ย่อมมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมชนิดอื่นๆ ถ้ามีการทำลายสิ่งแวดล้อมหนึ่งย่อมมีผล ถึงสิ่งแวดล้อมอื่น สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ลักษณะ โดยพิจารณาจากการมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต
1. สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
เป็นสิ่งแวดล้อมที่ใช้ระยะเวลาสั้นๆในการเกิด เป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ แต่เป็นสิ่งแวดล้อม ที่สูญสิ้นไปได้ หากมนุษย์เราทำให้ธรรมชาติเสียสมดุลได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่า ทุ่งหญ้า สัตว์น้ำ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต
เป็นสิ่งแวดล้อมที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา บางชนิดใช้เวลาในการเกิดยาวนานมาก นานจนมนุษย์ไม่สามารถรอใช้ประโยชน์ได้และสามารถสูญสิ้นไปได้ หากมนุษย์ใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ได้แก่ แร่ธาตุ แร่เชื้อเพลิง บางชนิด เป็นสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏให้มนุษย์ได้เห็น ได้รู้สึก ได้สัมผัส ได้แก่ ดิน หิน น้ำ อากาศ ความร้อน แสงสว่าง เสียง เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
สิ่งแวดล้อม ประเภทนี้มนุษย์อาจสร้างขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ มีทั้งสิ่งที่มองเห็นได้ จับต้องได้ และสิ่งที่ไม่สามารถ มองเห็นได้หรือไม่สามารถจับต้องได้ เป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตนเองหรืออาจ สร้างขึ้น ด้วยเหตุจำเป็นบางประการ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นมีทั้งสิ่งที่ดีที่ช่วยให้มนุษย์สามารถดำรง ชีวิตอยู่ได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสิ่งที่ไม่ดีที่ทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เลวลง ต้องสูญเสียชีวิตหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ลักษณะ จากความเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม
1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
เป็นสิ่งแวดล้อมที่มองเห็น ได้ จับต้องได้ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการมีชีวิตอยู่เพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ได้แก่ ปัจจัยสี่ หมายถึง อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค แต่บางสิ่งก็สร้างเพื่อสนองความต้องการ อันไร้ขอบเขตของตนเอง จะนำความเสียหายมาสู่สิ่งแวดล้อม และชีวิตมนุษย์เองเมื่อถึงระดับหนึ่ง สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นมีทั้งสิ่งที่ดีมีคุณประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ เช่น บ้านเรือน เสื้อผ้า รถยนต์ ถนน และสิ่งที่ไม่ดี ทำให้คุณภาพชีวิตเลวลง เช่น น้ำเน่าเสีย สารพิษที่ใช้ในการเกษตร สารพิษที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
2 สิ่งแวดล้อมทางสังคม
เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะ เป็นนามธรรม มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการอยู่ร่วมกันในสังคม เช่น กฎหมาย ประเพณี เป็นต้น บางสิ่งอาจสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เช่น ศาสนา ความเชื่อ เป็นต้น บางสิ่งอาจสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมความเจริญ ให้เกิดขึ้นแก่หมู่มวลมนุษย์ เช่น การศึกษา การวิจัย เป็นต้น
บางสิ่งสร้างขึ้น โดย พฤติกรรม การแสดงออกทั้งในลักษณะที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ เช่น การทะเลาะวิวาท การช่วยเหลือผู้อื่นที่ ได้รับความ เป็นต้น
ที่มาภาพ : https://www.thaigoodview.com/files/u31187/z4.jpg
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลย์ของ ธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อม เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปจึงอยู่ในวิสัย ที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลย์ของตัวเองได้ กาลเวลาผ่านมา
จนกระทั้งถึงระยะ เมื่อไม่กี่ สิบปีมานี้โดยในทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษ แห่งการพัฒนา" นั้นได้เกิดมีปัญหารุนแรง ด้านสิ่งแวด ล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกปัญหาดังกล่าวนี้ มีลักษณะคล้ายกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา
ที่มาภาพ : https://www.thaigoodview.com/files/u31187/z3.jpg
สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม
สาเหตุของปัญหา สิ่งแวดล้อมมีอยู่ 3 ประการ คือ
1. การเพิ่มของประชากร ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตรา ทวีคูณ เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภค ทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้น ทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน
2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทาง ด้านเทคโนโลยี ความเจริญทาง เศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่า ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ของชีวิตมีความจำ เป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วย เสริมให้วิธีการนำทรัพยากร มาใช้ได้ง่ายขึ้นและ มากขึ้น
3. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตในทางด้านการ เกษตร การใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงได้ก่อให้เกิดความเสื่อม โทรมของคุณภาพของดิน ปัญหาดินเป็นพิษ ซึ่งอาจจะแผ่กระจายตัว ลงสู่แม่น้ำ ลำธาร จนเป็นสาเหตุ-องน้ำเสีย หรือทางด้านอุตสาหกรรม วิธีการในการผลิตที่ใช้สารตะกั่ว ปรอท สารหนู ฯลฯ สารเหล่านี้จะเป็นพิษร้ายแรง ต่อสุขภาพอนามัยของประชากรและยากแก่การ แก้ไขหรือทำลายส่วนที่ ตกค้างให้หมดสิ้นไป การใช้พลังงานก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
ที่มาภาพ : https://www.thaigoodview.com/files/u31187/z6.gif
ผลสืบเนื่องอันเกิดจาก ปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ
1.ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ ร่อยหรอเนื่องจากมีการใช้ ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ
2.ภาวะมลพิษ ภาวะมลพิษ เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทาง ด้านอุตสาหกรรม
ที่มา : https://www.thaigoodview.com/node/66604
ที่มาภาพ : https://1.bp.blogspot.com/_DGslo7hlmug/TNpNcewwIfI/AAAAAAAAAAU/9Uvwf3UzyDU/s320/2.jpg
สิ่งแวดล้อมรอบตัวนักเรียนมีอะไรบ้าง และมีลักษระเป็นนอย่างไร
ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มและช่วยกันเขียนวิธีอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
สาระการเรียนรู้ศิลปะให้นักเรียนวาดภาพสิ่งแวดล้อมที่นักเรียนอยากให้เป็น
สาระภาษาไทยนักเรียนเขียนเรียงความเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ที่มาภาพ : https://3.bp.blogspot.com/_KWFGWSA6jNk/SzRwblSiUpI/AAAAAAAACx4/Uy3H5YUZd80/s400/untitled.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4177