ประวัติศาสตร์มีปัญหา ใครมีปัญหากับประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มีบาดแผล ใครเยียวยาได้่
เมื่อ 25 ก.ค.ที่ผ่านมาได้มีการเสวนาระดมหาแนวทางศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หลายจังหวัด โดยสถาบันมานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงวัฒนธรรม มีสาระน่าสนใจ 3 ข้อ คือ 1.ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ค้นคว้าศึกษากันมา มีดีข้อ ข้อด้อยอย่างไร 2.ประวัติศาสตร์ชาติที่ใช้กันมาประสบสำเร็จอย่างไร มีปัญหาอย่างไร 3.ทั้งประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และประวัติศาสตร์ชาติ ควรสัมพันธ์กันอย่างไร ควรจะสรุปบทเรียน แนวโน้มทิศทางประวัติศาสตร์กันอย่างไร รอบหลายศวรรษ คนไทยได้อ่านได้เรียนประวัติศาสตร์ชาติไทยในสกุลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ต่อมา ประมาณ 20 ปีเศษเห็นจะได้ เริ่มมีคำถามถึงแง่มุมอื่น ๆ ต่อประวัติศาสตร์ชาติ สำหรับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ระยะแรก เมื่อพูดถึงภาคใต้ ก็นึกถึงนครศรีธรรมราช ภาคเหนือ ก็เชียงใหม่ และภาคอีสานก็นึกถึงอุบลราชธานี จึงเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบมีศูนย์กลาง ไม่เห็นภาพรวม (กรุงเทพธุรกิจวันที่ 2 สิงหาคม 2554 )
วันนี้ผู้เขียนก็เลยจะพาไปดูอดีตที่ยังไม่ลืมเลือนไปจากจิตใจของชุมชนในท้องถิ่น นั่นคือโนนแท่น
หมู่บ้านบึงสวางเดิมชาวบ้านเรียกว่า "บ้านพระแท่น" กับ "บ้านบักพร้าว" ที่เรียกว่า "บ้านพระแท่น" เนื่องจากในบริเวณบ้านบึงสวางมีซากวัดโบราณที่มีพระแท่นสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป มีลักษณะเป็นแท่นศิลาแลงขนาดใหญ่ บริเวณใกล้ ๆ มีกลุ่มของใบเสมาฝังอยู่จำนวนมาก มีการขุดค้นพบกระดูก และข้าวของเครื่องใช้ของคนโบราณในบริเวณนี้ ปัจจุบันพระแท่นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความนับถือเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีพิธีเซ่นผีพระแท่นเป็นประจำทุกปีอีกด้วยสำหรับชื่อ "บ้านบักพร้าว" มาจาก แต่เดิมที่บริเวณนี้มีต้นมะพร้าวขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนชื่อบึงสวางเป็นชื่อที่ทางราชการใช้เรียกในภายหลัง สันนิษฐานว่ามาจากการที่มีบึงขนาดใหญ่อยู่หน้าหมู่บ้านสามารถแบ่งเป็นยุคดังนี้
ยุคที่ 1 โนนแท่นสมัยประวัติศาสตร์
จากการค้นพบของชาวบ้านและกรมศิลปากรได้เข้ามาสำรวจบริเวณโนนแท่นสันนิฐานว่าโนนแท่นเป็นโบราณสถานที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ก่อนประวัติศาสตร์ จากคำบอกเล่าของคุณพ่อโพธิ์ สีนาค อายุ 80 ปี อยู่บ้านเลขที่51 หมู่ 11 บ้านบึงสว่าง ต.บ้านเหล่า อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น และการค้นพบของกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.2520 พบหลักฐานที่แสดงถึงการดำรงชีวิต พิธีกรรมและความเชื่อสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 จากหลักฐานที่ค้นพบมีความเป็นไปได้ว่าหลักฐานเหล่านั้นจะอยู่ยุคโลหะ มนุษย์ยุคนี้รู้จักนำสำริดและเหล็กมาเป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ หลักฐานที่พบคือ เครื่องปั้นดินเผา ภาชนะสำริดหล่อเนื้อบางพิเศษ มีแบบและลวดลายต่างๆ เครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับ เช่นกำไรสำริด ตุ้มหู แหวน และลูกปัดสีต่างๆ พบที่แหล่งโบราณคดีโนนแท่นและอยู่บริเวณโดยรอบ บางชิ้นแตก ชำรุด เสียหาย มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้เริ่มมีการคิดค้นสิ่งต่างๆขึ้น ความเชื่อด้านศาสนาก็เริ่มขึ้น จนกระทั่งนำไปสู่การสร้างโบราณสถานเกี่ยวกับศาสนาขึ้น โดยผู้คนในสมัยนั้น มีความเชื่อด้านศาสนาที่หลากหลายขึ้น ซึ่งเราสามารถศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนาต่างๆที่ผู้คนในสมัยนั้นนับถือกันโดยการศึกษาจากโบราณสถานที่มีในโนนแท่นนอกจากนี้เรายังพบว่า โบราณสถานโนนแท่นเกิดขึ้นในสมัยทวารวดี ซึ่งอายุราวพุทธศตวรรษที่11-12 โบราณสถานในสมัยทวารวดีที่พบในโนนแท่นคือ ซากโบราณสถานศิลาแลง เหลือเฉพาะส่วนฐานมีขนาด 48 เมตรโดยปัจจุบันชาวบ้านได้สร้างศาลาโปร่งคลอบทับไว้ และประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นไว้บนแท่น ด้านหลังพระพุทธรูปมีแท่นฐานปติมากรรมหินทราย 1 ชิ้นได้เทปูนครอนกรีดติดไว้กับพื้น และอีก 1 ชิ้นวางอยู่ที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของแท่นฐานโบราณสถาน ด้านทิศตะวันตกของฐานโบราณสถานห่างไปประมาณ 90 เมตร มีใบเสมาหินทรายสลักเป็นรูปสันสถูปตรงกลางใบ เดิมมีใบเสมาปักอยู่บริเวณโดยรอบหลายใบซึ่งทำให้เราทราบว่าสมัยก่อนวิถีชีวิตของชุมชนแห่งนี้มีความเชื่อความศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากนอกจากนี้บริเวณดังกล่าวยังพบโบราณวัตถุหลายชิ้นด้วยกัน
ลักษณะของโบราณวัตถุที่ค้นพบ ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในยุคโลหะ ดังนี้
1. โครงกระดูกมนุษย์ ที่ค้นพบในส่วนที่สมบูรณ์กรมศิลปะได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณท์บางชิ้นก็มีความเสียหายและไม่สมบูรณ์ก็จะพบโดยทั่วไปบริเวณสระน้ำข้างๆ สำนักสงฆ์ ทั้งนี้เนื่องจากการขุดค้นพบใช้อุปกรณ์ในการทำการเกษตรทั่วไป เช่น เสียม จอบ เป็นต้น ทำให้โครงกระดูกที่พบไม่สามารถนำมาต่อเป็นรูปร่างได้ แต่ชิ้นส่วยกระดูกที่พบจะมีกำไรหรือเครื่องประดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พิธีฝังศพในสมัยก่อนจะมีการใส่เครื่องประดับให้ศพเพื่อตกแต่งศพก่อนฝัง
2. ภาชนะดินเผา ที่ขุดค้นพบมีด้วยกันหลายรูปแบบ ได้แก่ หม้อดิน เหยือกน้ำ คนโทที่มีรูปทรงฐานเตี้ยคอยาวและปากว้าง เป็นต้น
3. เครื่องประดับ มีทั้งที่ทำจากสำริด หิน และแร่ต่างๆ ซึ่งเครื่องประดับที่ค้นพบมีด้วยกันหลายชนิด เช่น กำไรสำริด แหวนสำริด ลูกปัดที่ทำจากหิน กำไรหินอ่อน กำไรที่ทำจากอำพัน(อำพันมีลักษณะคล้ายหยก สีเขียว หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เขียวอำพัน)
สาระประวัติศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 4
มาตรฐานการเรียนรู้ ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในแง่ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นได้
คำถาม
1. วิถีชีวิตในอดีตส่งผลต่อการเรียนรู้ของคนในยุคปัจจุบันอย่างไร
บูรณาการ
สาระภาษาไทย ในการเขียนเรียงความ
ค้นคว้าเพิ่มเติมที่
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4238