คนไทยเป็นคนที่รักถิ่นฐาน แล้วทำไมคนไทยจึงทิ้งแผ่นดิน
ประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้ายของคนไทยในสมัยโบราณ
คนไทยแต่ดั่งเดิมมีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห หรือแม่น้ำเหลือง และบริเวณลุ่มน้ำแยงซีเกียง มีเมืองสำคัญคือลุง อยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำฮวงโห และ ปา อยู่ทางตอนใต้แถบมณฑลเสฉวนในปัจจุบัน
เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว คนจีนเร่ร่อนอยู่แถบทะเลแคสเปียนได้เข้ามารุกรานคนไทยที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ ดังนั้นคนไทยจึงอพยบถอยร่นลงมาตั้งมั่นที่ใหม่ เรียกตัวเองว่า อ้ายลาว การอบยพหนีภัยการรุกรานของชาวจีน ไม่ได้มาในคราวเดียวกัน คนไทยที่ทนต่อการกดขี่ไม่ไหวก้ค่อยๆ อบยพลงมาตั้งบ้านเรือนกระจักกระจายไปทั่ว คนไทยในสมัยอ้ายลาวยังตกอยู่ในอำนาจของคนจีน จนสิ้นสมันสามก๊ก คนไทยจึงมีโอกาส รวบรวมบ้านเมืองเป็นปึกแผ่น แล้วเรียกว่า น่านเจ้า
เส้นทางการอบยพของคนไทยที่ลงมาอยู่ในคาบสมุดอินโดจีน คนไทยอาศัยแม่น้ำหลัก 2 สายคือ แม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขง
คนที่อบยพเข้ามาอาศัยแถบลุ่มน้ำสาละวินจะตั้งถิ่นฐานในประเทศพม่าในปัจจุบัน เรียกว่าไทยใหญ่ หรือเงี้ยว หรือฉาน บางกลุ่มตั้งมั่นในแคว้นอัสสัม เรียกว่า ไทยอาหม
คนที่อบยพเข้ามาอาศัยแถบลุ่มแม่น้ำโขง เข้าไปในดินแดนสิบสองปันนา สิบสองจุไทย และตังเกี๋ย อยู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม และประเทศลาว เรียกว่า ไทยน้อย ต่อมาได้ขยายสู่ดินแดนล้านนา และบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตลอดไปจนสุดแหลมมลายู คนไทยน้อยเป็นบรรพบุรุษของคน ไทยสยาม ในปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์ชาติไทย : ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำถามประกอบการอภิปราย : 1. ทำไมคนไทยจึงทิ้งแผนดิน
2. ลักษณะการอพยบของคนไทยเป็นอย่างไร
3. ในการอพยบ แม่น้ำสำคัญอย่างไร
บูรณาการ : สาระศิลปะ ภาษาไทย
ค้นคว้าเพิ่มเติม : หนังสือแผนที่ภูมิศาสตร์ ทองใบ แตงน้อย พ.ศ. 2545
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4273