ตลาด 100ปี ฉะเชิงเทรา


741 ผู้ชม


เที่ยวตลาอ 100 ปี บ้านใหม่   
วันที่ อาทิตย์ ธันวาคม 2550 พิมพ์หน้านี้ | ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation เที่ยวตลาด 100 ปี “บ้านใหม่” ใกล้นิดเดียว แค่ “แปดริ้ว” เที่ยวตลาด 100 ปี “บ้านใหม่” ใกล้นิดเดียว แค่ “แปดริ้ว” เมื่อพูดถึงตลาดบรรยากาศย้อนยุคไปเมื่อ 100 ปีก่อน หลายคนคงร้องอ๋อ นึกออกขึ้นมาทันทีว่าเป็นตลาดสามชุก ริมแม่น้ำสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแน่ เพราะที่นั่นมีชื่อเสียงโด่งดัง ด้วยบรรยากาศห้องแถวไม้ 2 ชั้นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ รายล้อมไปด้วยบ้านเรือนและรื่องราวของผู้คนในอดีต โดยแทบจะไม่มีการดัดแปลงเสริมแต่ง แต่ทีเปลี่ยนแปลงไปคือจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเดินจับจ่ายซื้อของและเก็บบรรยากาศ แต่ตลาดที่ผมกำลังจะพาไปเที่ยว ไม่ใช่ตลาดสามชุกครับ แต่เป็นตลาดที่มีอายุราวๆ 100 ปีเช่นเดียวกัน อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากกรุงเทพฯของเรานี่เอง นั่นก็คือ ตลาดบ้านใหม่ เมืองแปดริ้ว (ข้าวโพดเผาแบบโบราณ) (กาแฟเจ้านี้ คนแน่นสุดๆ ) ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับเพราะผมไปมาแล้ว ทันทีที่ก้าวเข้าไปในตลาดเก่าอายุกว่า 100 ปี ก็ได้กลิ่นไอ บรรยากาศของชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งในอดีตตลาดแห่งนี้มีความคับคั่งด้วยผู้คนที่มาประกอบอาชีพค้าขาย รวมทั้งเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา เพราะมีอาคารบ้านเรือนที่ปลูกสร้างติดๆ กัน และอยู่ชิดริมแม่น้ำ ทั้งยังมีท่าเรือหลงเหลือให้เห็น ภายตลาดบ้านใหม่ คล้ายๆ กับตลาดสามชุก คือยังคงสภาพบ้านไม้โบราณปลูกเป็นตึกแถว 2 ชั้นติดต่อกัน จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งมีมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุยังคงสถาพเหมือนเดิมเมื่อครั้งรุ่นคุณปู่คุณย่ายังสาว (ชาวบ้านย่านนั้นเขาบอกมา) ฮา.. (ไก่ย่างสมุนไพร สูตรต้นตำหรับ) แม่ค้าพ่อค้า ย่านนั้นยังบอกด้วยว่า มีภาพยนตร์ และละครย้อนยุคเกียวกับชีวิตชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน หลายเรื่องเข้ามาถ่ายทำที่ตลาดบ้านใหม่แห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นละครเรื่องอยู่กับก๋ง เจ้าสัวสยาม และภาพยนตร์เรื่องนางนาค ด้วยบรรรยากาศย้อนยุคแล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารอร่อย ขนมและของขบเคี้ยวนานาชนิด รวมถึงอาหารคาว-หวาน โบราณหลากหลายชนิดแล้ว ตลาดแห่งนี้ยังเป็นที่รวบรวมอาหารรสเด็ดของแปดริ้ว ทั้งอาหารจีน อาหารไทย ที่มีรสชาติตามมาตรฐานอาหารของแต่ละชาติ มีร้านกาแฟโบราณรสชาติเข้มข้น หอมหวานได้บรรยากาศดีมากๆ ขอบอก เพราะคนเต็มร้านตลอด (รุ่นนี้ตั้งแต่ผมยังไม่เกิด) (ลูกมะขวิด) ตลาดบ้านใหม่แห่งนี้ จังหวัดฉะเชิงเทราได้มีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่เมื่อ 2547 เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมวิถีชีวิตย้อนยุค เลือกชิมอาหารรสอร่อย รวมถึงเลือกซื้อของฝากจากแปดริ้ว (ช่วยปล่อยหนูหน่อย ) เพราะคนส่วนใหญ่ที่ไปแปดริ้วมักจะไปขอพรหลวงพ่อโสธร สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองชาวแปดริ้ว และล่องเรือชมธรรมชาติ ศึกษาประวัติศาสตร์แห่งลุ่มน้ำบางปะกง ชมปลาโลมา ที่พร้อมใจกันเดินทางมาชุมนุมที่ปากอ่าวแม่น้ำบางปะกง เพื่อกินปลาดุกทะเล ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี ดังนั้นหากใครยังพอมีเวลาเหลือ ลองแวะไปตลาดบ้านใหม่ ก็ได้บรรยากาศไปอีกแบบครับ (บ้านริมแม่น้ำบางปะกง) โดยสามารถเดินทางได้มาเที่ยวชมได้ทั้งทางรถและทางเรือ แต่ขอแนะนำให้มาทางเรือนะครับ เพราะหากใครมีโอกาสแวะไปกราบขอพร หลวงพ่อพุทธโสธรองค์จริง และชมพระอุโบสถมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท ที่ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ที่ แล้วสามารถลงเรือจากท่าวัดโสธร มาเทียวตลาดบ้านใหม่ได้ด้วย ------//------ ตลาดบ้านใหม่ ที่ตั้ง : ถนนศุภกิจ (ทางไปอำเภอบางน้ำเปรี้ยว) อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00–1700 น. รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง 1. ใช้ถนนหมายเลข 304 มีนบุรี – ฉะเชิงเทรา 2. ใช้ถนนหมายเลข 34 บางนา – ตราด เลี้ยวเข้าถนนหมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา 3. ใช้ถนนหมายเลข 3 สมุทรปราการ – บางปะกง แล้วต่อด้วยถนนหมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา 4. ใช้ถนนมอเตอร์เวย์ กรุงเทพ ฯ – พัทยา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนหมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา มุ่งหน้าเข้าตัวเมืองฉะเชิงเทรา รถประจำทาง จากกรุงเทพฯ มีรถประจำทางออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (ถนนกำแพงเพชร 2) และสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) รถไฟ (หัวลำโพง) มีขบวนรถไฟมาฉะเชิงเทราทุกวัน จากนั้นโดยสารเล็กจากสถานี สายรอบเมืองวิ่งผ่านวัดโสธรวรารามวรวิหาร และตลาดบ้านใหม่ ------------------//---------------- โดย นายตะเกียง กลุ่มสารการเรียนรู้ สังคมศึกษาศานาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาระที่ 3 เศราฐศาสตร์ มฐ. ส 3.2 บอกสินค้าและบริการที่รัฐจัดหาและบริการแก่ประชาชน ประเด็นคำถามที่นำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน นักเรียนจะซื้อสินค้าต้องไปที่ใด กิจกรรมเสนอแนะ ควรสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต จัดป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียน การบูรณาการ ศีลป วาดภาพ ตลาด 100 ปี ภาษาไทย เขียนการเที่ยวชม ตลาด 100ปี อ้างอิงแหล่งที่มา 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4279

อัพเดทล่าสุด