กรีซๆๆๆ


833 ผู้ชม


กรีซ..ข้าราชการนัดหยุดงานประท้วง   

กรีซกลายเป็นอัมพาตไปทั่วประเทศเมื่อวานนี้(8 ตุลาคม 2554) เนื่องจากข้าราชการกว่า 20,000 คนนัดหยุดงานประท้วงเป็นเวลา 24 ชั่วโมงเพื่อต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดทางการเงิน ผู้ประท้วงอย่างน้อย 16,000 คนได้ชุมนุมประท้วงในกรุงเอเธนส์ และมีอีกประมาณ 10,000 คนชุมนุมประท้วงในเมืองเทสซาโลนีกี ทางตอนเหนือของประเทศ เพื่อแสดงความโกรธแค้นต่อวิกฤตหนี้สาธารณะที่ไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายลงง่ายๆ และต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล ซึ่งล่าสุดมีแผนลดจำนวนข้าราชการลง 30,000 คน และลดเงินเดือนอีกรอบ หลังจากลดเงินเดือนไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว การประท้วงส่งผลให้งานราชการทั่วประเทศหยุดชะงัก เที่ยวบิน รถไฟ โรงเรียน ศาล พิพิธภัณฑ์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ทั้งหมดต้องหยุดให้บริการชั่วคราว สถานีโทรทัศน์และวิทยุของรัฐงดออกอากาศรายการข่าวทั้งหมด ขณะที่โรงพยาบาลเหลือเฉพาะเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินเท่านั้น (ครอบครัวข่าว 3วันที่ 9ตุลาคม 2554) ก็คงจะเหมือนหลายๆประเทศในขณะนี้ที่กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจโลกกันค่ะแต่วันนี้ผู้เขียนจะพาไปรู้จักประเทศนี้กันนะคะ 
                   กรีซ ( Greece) หรือเรียกอย่าางเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก หรือกรีกในอดีต เป็นประเทศที่ตั้งอยู่กรีซๆๆๆทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นประเทศที่ถือเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป คือ ยุโรป  เอเชีย แอฟริกา ความเจริญของกรีกมีทั้งด้าน ศิลปะ สถาปัตยกรรม,วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  ปรัชญา  การละคร  อักษรศาสตร์ และประชาธิปไตย โดยเฉพาะกรีกในยุคโบราณถือได้ว่ามีความรุ่งเรืองมากที่สุด  เป็นยุคที่อารยธรรมชนเผ่าไซแคลดิกและไมซีแนเอียนกำลังมีอิทธิพลรุ่งเรืองอยู่ในกรีซ แต่พอถึงศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล อิทธิพลของวัฒนธรรมไซแคลดิกและไมซีแนเอียนก็ถึงกาลเสื่อมสลายลง เพราะถูกรุกรานโดยนักรบเผ่าดอเรียนที่รุกมาจากทางเหนือ อารยธรรมต่าง ๆ ในกรีซจึงเริ่มเข้าสู่ยุคมืดช่วงเวลา 800 ปีก่อนคริสตกาล เป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมกรีซเฟื่องฟูขึ้นมาอีกครั้ง วัฒนธรรมและกิจการทหารของกรีซเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด เมืองเอเธนส์ลัสปาต้าเป็นศูนย์กลางของอำนาจมหาอาณาจักรกรีซประกอบด้วยอิตาลีทางตอนใต้อันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ กรีซย่างก้าวเข้าสู่ยุคคลาสสิกหรือยุคทอง ในยุคนี้เองนักปราชญ์ชื่อ เพเรอคลิส ผู้ทำให้วิหารพาร์เธนอนเป็นที่รู้จักของชาวโลก กรีซๆๆๆโซโฟคลิสได้เขียนมหากาพย์อีดิปุสขึ้น และโสคราติสหรือซาเครอทิส ได้เริ่มการสอนลูกศิษย์ชาวเอเธนส์ให้รู้จักวิชาตรรกวิทยาและหลักการของประชาธิปไตย ต่อมาไม่นานนักยุคทองของกรีซก็ถึงจุดเสื่อม แล้วกรีซก็เข้าสู่ยุคสงครามเปลโอปอนนีเซียน ซึ่งกองทหารอันเกรียงไกรของสปาร์ตาได้ยกกำลังเข้าบดขยี้ชาวเอเธนส์เสียจนย่อยยับในขณะที่สปาร์ตากำลังรุกรานกรีซอย่างย่ามใจทางตอนเหนือ พระเจ้าฟิลิปแห่งอาณาจักรมาซิโดเนียกำลังไล่ตีเมืองเล็กเมืองน้อยรุกคืบเข้ามาใกล้กรีซทุกที แต่ทว่าความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้พิชิตในภูมิภาคนี้ของพระเจ้าฟิลิปก็ถูกบดบังรัศมีโดยโอรสของพระองค์เองคือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ผู้สามารถยาตราทัพไปถึงเอเชียไมเนอร์และอียิปต์ ซึ่งที่อียิปต์นี้เองพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นฟาโรห์ ผู้สร้างเมืองอเล็กซานเดรีย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยกทัพไปถึงเปอร์เซียและดินแดนส่วนที่เป็นอินเดียและอัฟกานิสถานในปัจจุบัน ในรัชสมัยของอาณาจักรมาซิโดเนียเรียกกันว่า ยุคเฮลเลนิสติก (Hellenistic Period) เพราะยุคนี้มีการผสมผสานปรัชญาและวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองของชนชั้นปกครองจนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบใหม่ที่ศิวิไลซ์ยิ่งขึ้น หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุ 33 ปีแล้ว มีกษัตริย์ปกครองกรีซสืบต่อมาอีก 3 รัชกาลครั้นถึงปีที่ 205 ก่อนคริสต์ศักราช อิทธิพลของโรมันแผ่ขยายเข้ารุกรานกรีซ และเมื่อถึงปี 146 ก่อนคริสตกาล กรีซกับมาซิโดเนียตกอยู่ใต้การปกครองของโรมัน หลังจากที่มีการแบ่งอาณาจักรโรมันเป็นอาณาจักรตะวันออกและตะวันตก กรีซได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไบแซนไทน์ และเมื่อเกิดสงครามครูเสดขึ้น อิทธิพลของอาณาจักรไบแซนไทน์ก็เสื่อมถอยเพราะถูกรุกรานโดยชาวเวนิส คาตาลัน เจนัว แฟรงก์ และนอร์มัน
ความรุ่งเรืองของอารยธรรมกรีก
    ด้านศิลปกรรม
    
 สถาปัตยกรรม
 : ที่โดดเด่นอยู่ที่นครเอเธนส์ เช่น วิหาร สนามกีฬา และโรงละคร       งดงามได้สัดส่วนสมบูรณ์แบบ
      ประติมากรรม : รูปปั้นเทพเจ้าที่มีลายเส้นกล้ามเนื้อเอ็นคล้ายมนุษย์เป็น ธรรมชาติ
      จิตรกรรม : ลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผา ฝาผนังวิหาร กำแพง
      ศิลปะการแสดง : ละครกลางแจ้ง ซึ่งเป็นต้นแบบการแสดงละครในปัจจุบัน
     ด้านปรัชญา
   โซเครติส : สอนให้คนใช้เหตุผลและสติปัญญาในการแสวงหาความจริงวิธีตั้งคำถามโดยไม่ต้องหาคำตอบ
   เพลโต : ศิษย์ของโซเครสติส ตั้งโรงเรียน “อะเคเดมี”เขียนหนังสือถ่ายทอดแนวคิดการปกครอง การศึกษา ระบบยุติธรรม โดยเฉพาะหนังสือชื่อ สาธารณรัฐ ได้รับการยกย่องเป็นบิดาปรัชญาการเมืองสมัยใหม่
   อริสโตเติล : ศิษย์ของเพลโตเป็นนักปรัชญาทางการเมืองและวิทยาศาสตร์
    ด้านการศึกษา
   แบ่งเป็น  2 ระดับ ได้แก่
   ระดับเด็กชาย (ประถม) ศึกษาไวยากรณ์ มหากาพย์ ดนตรีและยิมนาสติก     เน้นฝึกฝนด้านภาษา อารมณ์และร่างกาย
   ระดับเด็กโต : ศึกษากวีนิพนธ์ การปกครอง จริยศาสตร์ ตรีโกณมิติ ดาราศาสตร์  วาทกรรม เพื่อเตรียมความพร้อม ความสมบูรณ์ทั้งสติปัญญาและร่างกายในการ    เป็นพลเมืองกรีกตอนอายุครบ 19 ปี
กรีซๆๆๆ
        

 กรีซๆๆๆ

               โสเครตีส                         เพลโต
กรีกเป็นประเทศที่สร้างสรรค์อารยธรรมสำคัญๆที่ชาวโลกนำเป็นแบบอย่างนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบันรวมทั้งเป็นต้นแบบการศึกษาของโลกตะวันตกในปัจจุบัน การเกิดปัญหาขึ้นกับประเทศนี้ก็ทำให้ส่งผลต่อประเทศอื่นติดตามมา อย่าลืมนะคะว่าเราอยู่คนเดียวไม่ได้ดังนั้นมนุษย์ทุกคนจะต้องรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้โลกเราอยู่ได้อย่างสงบสุข

คำถามเพื่อการอภิปราย
1.  อารยธรรมกรีกโบราณได้มอบมรดกชิ้นสำคัญใดให้แก่ชาวโลกบ้าง
2.  อารยธรรมกรีกมีศูนย์กลางความเจริญอยู่บริเวณใด 
3.  อารยธรรมใดบ้างที่เป็นจุดเด่นสำคัญของอารยธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปทั่วโลก 
4.  การปกครองของนครรัฐเอเธนส์ มีผลต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยหรือไม่อย่างไร
สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
ช่วงชั้นที่  4
มาตรฐานการเรียนรู้
ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบ
ที่เกิดขึ้น
ตัวชี้วัด
 ส 4.2 ม.4-6/1 วิเคราะห์อิทธิพลของอารยธรรมโบราณและการติดต่อระหว่าง
โลกตะวันออกกับโลกตะวันตกที่มีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของโลก

บูรณาการ สาระการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษ ศิลปะ 
ที่มาของข้อมูล https://th.wikipedia.org/wiki  รู้รอบโลก (มปป.)

ที่มาของรูปภาพ 
https://board.palungjit.com/f178 
https://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Plato.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4400

อัพเดทล่าสุด