ผาแต้ม


591 ผู้ชม


รับอรุณที่ผาแต้ม   

แต้มผา…ที่ “ผาแต้ม”


เมื่อช่วงขึ้นต้นปีใหม่ ตั้งใจว่าจะไปต้อนรับลำแสงอาทิตย์แรกแห่งต้นปี เอาฤกษ์เอาชัยรับปีใหม่ที่ “ผาแต้ม” อุบลราชธานี ซักกะหน่อย แต่ดันผิดแผนซะนี่ ... ก็แทนที่จะได้ไปแสตนบายด์ที่ผาแต้มบ่ายๆเย็นๆ วันที่ 31 ธ.ค.ส่งท้ายปี เพื่อรอรับอรุณแรกต้นปี วันที่ 1 ม.ค.รุ่งขึ้น แต่ดันไปถึงผาแต้มเอาตอนบ่ายๆวันที่ 1 ม.ค. ซะนี่

เหมือนทุกทีของการไปเที่ยว เพื่อนเที่ยวยังคงเป็นพี่เสือน้อย BG.ไอ้เสือน้อย คนเดิม ...

ตอนที่ขึ้นไปถึงที่ทำการ จุดบริการนักท่องเที่ยว ผาแต้ม ลานจอดรถผาแต้ม ลานหินตะปุ่ม ตะปั่ม ที่เรายืนอยู่ ...

พี่เสือน้อยบอกว่า ... “เนี่ยเรายืนอยู่บผาแต้มแล้ว”

งุน งง เล็กน้อย... คิดในใจไหนกันผาแต้ม แค่ลานหินแค่นี้อะนะ

แล้วก็หายสงสัย เมื่อพี่เสือน้อยพาดินไปที่ปลายหน้าผา แล้วก็มีป้ายหินขนาดใหญ่เขียนว่า “ผาแต้ม”ประชาชนมหาศาลเข้าคิวรอถ่ายรูปคู่ป้ายกันยกใหญ่

นี่ถ้าไม่มีป้ายนี้ละแย่เลย คงไม่รู้ว่าที่นี่คือผาแต้ม!!!

  

  

  

  

  

ที่ปลายหน้าผามีป้ายเตือน ... “อันตราย ห้ามเข้าใกล้” ไม่รู้ว่าเตือนให้ระวังป้ายนี้ว่ามันอันตราย อย่าเข้าใกล้ป้าย หรือเตือนว่า อย่าเข้าใกล้ปลายหน้าผา เพราะเดี๋ยวจะพลัดตกลงไปก็ไม่รู้

แต่ไม่ว่าจะเตือนอะไร ก็คงไม่ทันแล้ว เพราะพี่เสือน้อยเล่นมองข้ามป้าย ไปรัวชัตเตอร์อยู่ที่ปลายหน้าผาอย่างไม่เกรงใจป้ายเตือน

  

  

  

เดินลงไปตามทางเดินที่ชี้บอกว่า..ทางลงดูภาพเขียนสีอายุ 4000 ปี และภาพเขียนสีที่ว่าก็คือที่มาแห่งชื่อ ผาแต้ม

เพราะคำว่า แต้ม เป็นคำในภาษาถิ่นดั้งเดิม หมายถึง รอย วาด ระบาย ประทับ หรือทำด้วยประการใดๆ โดยใช้สีให้ปรากฎรูปภาพ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์

ผาแต้มเป็นแหล่งที่พบภาพเขียนยุกก่อนประวัติศาสตร์อายุราว 3000 – 4000 ปี ซึ่งมีกลุ่มภาพเขียนกระจายอยู่ตามแนวเพิงผาทั้งสิ้น 4 กลุ่ม ... แต่เราเดินดูได้แค่ 2 กลุ่ม ก็ขาลากแล้ว ... โดยกลุ่มภาพเขียนที่ยาวและหลากหลายที่สุดยาวประมาณ 180 เมตร และมีไม่น้อยกว่า 300 ภาพขึ้นไป

ภาพที่เด่นๆ ดูออก และแปลได้ ก็จะมีภาพช้าง ภาพปลาบึก ภาพตุ้ม ซึ่งเป็นเครื่องมือดักปลาทำด้วยไม้ไผ่สาน ภาพสัตว์ป่า และที่ชอบมาส่วนตัวคือภาพ ฝ่ามือ ... ดูๆไปราวกับอุปกรณ์มือตบของกลุ่มพันธมิตร หรือว่า ภาพฝ่ามือที่ผาแต้มคือแรงบันดาลใจก่อเกิดเป็นอุปกรณ์มือตบ ก็น่าคิดอยู่...

  

  

  

  

  

  

  

  

  

  

  

  

ภาพเขียนเหล่านี้จะบอกเล่าถึงสิ่งที่เกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิต และอารยธรรมของชุมชนลุ่มแม่น้ำโขงในยุคนั้นๆ โดยได้จารึกไว้ที่ผาแห่งนี้ ... ที่ฝั่งตรงข้ามเป็นเพิงผาของฝั่งลาว... ซึ่งก็อาจจะมีภาพเขียนสีแบบนี้ ก็เป็นได้ ...

  

สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ทุกระดับชั้น

ประเด็นการอภิปรายเพื่อตั้งคำถามในห้องเรียน

นักเรียนควรศึกษาแหล่งกำเนิดอารยธรรมผาแต้มหรือไม่และเหตุใด

กิจกรรมเสนอแนะ

นักเรียนควรศึกษาข้อมูลจากห้องสมุดและจากอินเตอร์เน็ต

การบูรณาการ ภาษาไทย  อ่านคำยาก อ่านออกเสียง  อ่านจับใจความ

ที่มาและแหล่งข้อมูลhttps://www.oknation.net/blog/print.php?id=382902

ตลอดแนวทางเดินชมภาพเขียนสี จะมีป้ายเตือน “ห้ามขีดเขียนผนังผา” และ “เพื่อรักษาสภาพธรรมชาติ อย่านำกิ่งไม้ค้ำยันเผิงผา” ...  แต่ก็ดูเหมือนว่าป้ายเตือนไม่เป็นผลอันใด ... และยังเห็นคนมาเที่ยวฝ่าฝืนป้ายเตือนต่อหน้าต่อตาด้วย

  

  

  

  

  

  

  

  

  

  

  

  

... แม้ไม่ได้รับอรุณแรกของปีดั่งตั้งใจ แต่ก็ได้ส่งแสงตะวันแรกลับฟ้า เพราะที่ผาแต้ม เป็นจุดที่สามารถชมความงดงามของแสงตะวัน ทั้งในยามอรุณรุ่งที่โผล่พ้นขอบฟ้า และในยามสายันต์อัสดงตกลับฟากฟ้า ก็ได้เช่นกัน ... 

  
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4539

อัพเดทล่าสุด