การเลือกอาหารหน้าร้อน


994 ผู้ชม


เลือกอาหารหน้าร้อน   

https://www.oknation.net/blog/surasakc/2011/03/07/entry-1


เลือกอาหารในหน้าร้อนที่มีผลดีต่อสุขภาพ
โดยการสร้างสมดุล หยิน - หยาง
อากาศร้อนเริ่มมาแล้ว  การเลือกอาหารรับประทานเป็นเรื่องสำคัญ   
ตามหลักแพทย์แผนจีนนั้น  คือ  การรักษาความสมดุลของร่างกาย  ตามหลักธาตุ ๕  ได้แก่  ดิน  น้ำ  
ลม  ไฟ  และไม้   เมื่อธาตุใดธาตุหนึ่งผิดปกติ  ความสมดุลจะถูกทำลาย  
เพราะฉะนั้น วิธีการรักษาของการแพทย์จีน  คือ การปรับสมดุลของ  หยิน - หยาง  ในร่างกาย  ให้อยู่ใน
สภาพปกติ โดยการใช้อาหาร ทำให้ร่างกายเกิดความสมดุลขึ้นมาใหม่
ในประเทศไทย  หน้าร้อนถือเป็นฤดูที่ยาวนาน  ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรค ก็คือ  ความร้อน  ที่รู้จักกันดี
ก็เป็นการร้อนแดด  
ความร้อนเป็นลักษณะปัจจัยด้านหยาง  เมื่อกระทบร่างกายจะทำให้เกิดอาการ  หัวใจเต้นแรงเร็ว  หน้าแดง
และหงุดหงิดง่าย
ความร้อนจะกระจายตัวขึ้นสู่ส่วนบนของร่างกาย  ทำให้สูญเสียน้ำในร่างกาย  เช่น  ทำให้รูขุมขนเปิด
มีการระบายเหงื่อ  ทำให้เกิดอาการ คอแห้ง  กระหายน้ำ  ปัสสาวะสีเข้ม  ปริมาณน้อย  คนที่ร่างกาย
อ่อนแอ  อาจเกิดการเป็นลมหมดสติได้
หากร้อนมีลักษณะอมความชื้นไว้ด้วย  ก็จะทำให้เกิดอาการแน่น  อึดอัดบริเวณท้องและทรวงอก  เพราะ
ไปกระทบระบบการย่อยและดูดซึมสารอาหารของร่างกาย
ในหน้าร้อน  ยามกระหายน้ำ  ทุกคนมักนึกถึงน้ำเย็น  น้ำแข็ง  น้ำอัดลม  หรือไอศกรีม  ถ้าอยู่บ้านก็มัก
จะใช้วิธีเปิดพัดลมจ่อตัวทั้งวันทั้งคืน  หรือไม่ก็ขลุกตัวอยู่แต่ในห้องแอร์   แต่ความเคยชินเหล่านี้  อาจมี
ผลกระทบต่อสุขภาพที่เราคาดไม่ถึง
>>  สิ่งที่ต้องระวังที่สุดในหน้าร้อน
ในหน้าร้อน  สิ่งที่ต้องระวังที่สุด  ก็คือ  การกินของเย็น และอยู่ในห้องที่เย็นจัดตลอดเวลา   ไม่สมควร
กินน้ำแข็ง  ข้าวหรือโจ๊กที่เย็นชืดแล้ว  เพราะจะทำให้ท้องเสียได้ง่าย  ที่สำคัญจะทำลายระบบย่อยอาหาร
และระบบดูดซึมอาหารด้วย
การดื่มน้ำเย็นจัด  มีผลกระทบต่อระบบการย่อยอาหาร  การหดตัวของหลอดเลือดของอวัยวะภายใน
น้ำเย็นยังไปเจือจางน้ำย่อย  มีผลให้เลือดที่มาหล่อเลี้ยงกระเพาะอาหารลดน้อยลง ทำให้เป็นโรคกระเพาะ
ลำไส้อักเสบได้ง่าย  และยังพบว่า  การดื่มน้ำเย็นยังทำให้เกิดความชื้นสะสมในร่างกาย  ทำให้มีลักษณะ
ขี้หนาว  ปวดร้อน แต่ไม่สามารถขับเหงื่อได้  ปวดข้อ และกล้ามเนื้อ  บางครั้งพบว่า  มีฝ้าสีขาวบนลิ้นด้วย
>>  เครื่องดื่มลดความร้อน
ควรดื่มน้ำเปล่า(ที่สุกแล้ว)  หรือดื่มชาร้อน  น้ำเก๊กฮวย  น้ำดอกสายน้ำผึ้ง  ใบไผ่  น้ำบ๊วย  น้ำถั่วเขียว
เพื่อลดความร้อนของหัวใจ  บำรุงการไหลเวียนของเลือด  ทำให้ตาสว่าง บำรุงตับ บำรุงไต เจริญอาหาร
และขับปัสสาวะ
การดื่มน้ำสมุนไพรที่ร้อน จะเพิ่มการขับเหงื่อ  กระจายความร้อน  สรรพคุณของสมุนไพรเหล่านี้ จะทำให้
ภายในร่างกายไม่ร้อนเกินไปด้วย
>>  อาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพในหน้าร้อน
๔ สูตร ที่อยากแนะนำ  ได้แก่
๑.  ดอกเก๊กฮวย (เบญจมาศ)  ๑๐ กรัม  ชาใบเขียว  ๑๐ กรัม  ใส่น้ำ  ๕๐๐  มิลลิลิตร  ดื่มต่างน้ำ
ช่วยขับร้อน  เพิ่มน้ำในร่างกาย  หยุดกระหาย  ลดอักเสบ  ขับพิษร้อน
๒.  ใบบัวสด  ๒๐ กรัม  น้ำ  ๑,๐๐๐ มิลลิลิตร  เวลาดื่มเติมน้ำตาลเล็กน้อย  ขับร้อนทำให้เย็น  ลดไขมัน
ในเลือด  (น้ำ ๑ ลิตร - ผู้เขียน)
๓.  ถั่วเขียว  ถั่วแดง  ถั่วดำ  อย่างละ ๕๐ กรัม  ต้มใส่น้ำตาล   ขับร้อนทำให้เย็น  ลดไขมันในเลือด
๔.  บ๊วยดำ  ๑๐๐  กรัม  น้ำ  ๑,๐๐๐  มิลลิลิตร  ต้มใส่น้ำตาลพอเหมาะ  ปล่อยให้เย็น  มีสรรพคุณสร้าง
สารน้ำ  หยุดกระหาย  หยุดไอ  และสามารถแก้ท้องเสียได้ด้วย
เด็ก ควรกินอาหารจำพวกน้ำต้มถั่วต่าง ๆ  โดยเฉพาะถั่วเขียว   ส่วนหญิงตั้งครรภ์  ควรกินอาหารจำพวก
เนื้อแดง ไข่  ปลา นม ถั่ว ฯลฯ  และผลไม้พวกแตง  เช่น  แตงโม  แตงกวา  รวมทั้งมะเขือเทศ  เพราะ
มีฤทธิ์ขับร้อนหยุดกระหาย    ทั้งนี้  อาหารที่กินไม่ควรแช่เย็น  นอกจากนี้ ยังสามารถกินถั่วเขียวต้ม
ชาดอกเก็กฮวย  และน้ำดื่มที่มีน้ำหวานและเกลือ
>>  วิธีสังเกตร่างกายร้อน - เย็น
ในการรับประทานอาหารแต่ละกลุ่ม  แม้จะเป็นหน้าร้อน  แต่ก็ควรดูอาการแสดงออกของร่างกายประกอบ
ด้วย  ว่าในช่วงนั้น  ร่างกายมีการแสดงออกเป็นหยิน  หรือเป็นหยางมากกว่ากัน   จะทำให้สามารถเลือก
รับประทานอาหาร เพื่อสร้างสมดุลของร่างกายได้ดีขึ้นด้วย
โรคหยิน  มีอาการ  หน้าซีดไม่สดใส  เสียงเบาค่อย  หายใจเบา  แขนขาเย็น  กลัวหนาว  ไม่มีไข้
ไม่กระหายน้ำ  ไม่มีแรง  อุจจาระน้อย  หยาบ  ค่อนข้างเหลว  ปัสสาวะมากและใส   ท้องอืด  ลิ้นบวม
และโต  สีซีด  ฝ้าขาวและลื่น  ชีพจรเต้นช้า
โรคหยาง  มีอาการ  หน้าแดง  ตาแดง  เสียงดังใหญ่  หายใจแรง  ตัวร้อน หงุดหงิด  กระวนกระวาย
เจ็บคอ  คอแห้ง  กระหายน้ำ  ชอบน้ำเย็น ท้องผูก ปัสสาวะเหลืองเข้ม  ลิ้นแห้ง สีแดงเข้ม  ชั้นฝ้าเหลือง
ชีพจรเต้นเร็ว 
อย่างไรก็ตาม  มีวิธีสังเกตหยินหรือหยางในแต่ละบุคคลอย่างง่าย ๆ  ด้วย  ว่าหากเรารับประทานอาหาร
พวกหยางในปริมาณไม่มาก  แต่มีอาการคอแห้ง เจ็บคอ  แสดงว่าร่างกายอยู่ในพวกหยาง  ควรกินอาหาร
กลุ่มหยิน  มากกว่าหยาง
ในทางตรงกันข้าม  หากกินอาหารพวกหยินไม่มากเกินไป  แต่มีอาการท้องอืด  มึนหัว  แสดงว่า ร่างกาย
มีความเป็นหยิน  ควรกินอาหารหยางมากกว่าหยิน
>>  อาหารและผลไม้ที่เป็นหยิน
ได้แก่  ปู  เป็ด  หอยนางรม  หอยโข่ง  ห่าน  กล้วย  ส้ม  สาลี่  อ้อย  แตงโม  สับปะรด  องุ่น  มะพร้าว
มะละกอ  ถั่วเขียว  ถั่วฝักยาว  ถั่วเหลือง  เต้าหู้  ชา  แตงกวา  สาหร่ายทะเล  ผักกาดหอม  ฟัก 
มะเขือเทศ  ผักกระเฉด  ขึ้นฉ่าย  ข้าวโพด  ใบตำลึง  บวบ  มะระ  ชมพู่  ลูกตาล  อ้อย  ส้ม  เป็นต้น
(แตงโม  มีรสหวาน  มีคุณสมบัติเย็น (หยิน)  มีสรรพคุณทางยาจีน  คือดับร้อน  แก้กระหายน้ำ  แก้
อาการเจ็บคอ  แก้ร้อนใน  กระวนกระวาย  แก้พิษสุรา  แก้บิด  และขับปัสสาวะ  ซึ่งหากมีอาการเจ็บคอ
คอแห้ง ไอ มีเสมหะสีเหลือง  เป็นไข้  เหงื่อออกมาก  ร้อนกระวนกระวายใจ  หรือเป็นแผลในปาก  ให้กิน
เนื้อแตงโมเป็นประจำ)
อย่างไรก็ดี ก็ไม่ควรรับประทานแตงโมมากเกินไป  เพราะน้ำจำนวนมากจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
เจือจางลง  ทำให้อาหารไม่ย่อย  หรือคนที่มีอาการกระเพาะอาหาร ม้ามพร่อง  ได้แก่  ท้องอืดท้องแน่น
อาหารไม่ค่อยย่อย  มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก  ไม่ควรกินแตงโมมากเกินไป
>>  อาหารและผลไม้ที่เป็นหยาง
ได้แก่  มะกอก  มะเขือยาว  เนื้อวัว  ไก่  เนื้อแพะ  พริก  ผักชี  หอม  พริกไทย  ใบแมงลัก  ขิง กระเทียม
งาดำ  หัวหอม  เป็นต้น
>>  อาหารที่เป็นกลาง
ได้แก่  ฝรั่ง  แอปเปิ้ล  น้ำผึ้ง  นม  นมเปรี้ยว  กระหล่ำปลี  แครอต  กระหล่ำดอก  ถั่วลิสง  น้ำฝรั่ง  ข้าว
ข้าวโพดหวาน  เผือก  ปลาดุก  หอยกาบ  เห็ดฟาง  หมู  
ในหน้าร้อน  ถ้าเรากินอาหารพวกหยางมาก  ได้แก่  ข้าวเหนียว  ลำไย  ทุเรียน  ข้าวผัด  กะเพรา   อาการ
หยางจะกำเริบ  ที่พบบ่อย ๆ  ก็เช่น  เจ็บคอ  คอแห้ง  ไอ  ปวดหัว  แต่ถ้ากินอาหารพวกหยิน  เช่น  ฟัก 
มะระ  จะเป็นการเพิ่มหยิน  สร้างสมดุลหยินหยางในร่างกายขึ้น
>>  นอนกลางวัน  ช่วยรักษาสุขภาพในหน้าร้อน
ในหน้าร้อน กลางวันจะยาว  กลางคืนจะสั้น   ตอนเช้าท้องฟ้าสว่างเร็ว  ทำให้หน้าร้อนคนเราจะนอนน้อย
กว่าปกติทั่วไป  จึงควรนอนกลางวันชดเชย  จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
นอกจากนี้  หน้าร้อนไม่ควรกินอาหารมื้อกลางวันอิ่มจนเกินไป  เพราะทำให้การย่อยอาหารบกพร่องง่าย
ส่วนท่าที่ใช้นอน  ควรเป็นท่านอนราบ  หรือนอนตะแคง ห้ามนอนคว่ำ หรือนอนฟุบ ในลักษณะกดที่ท้อง
จะทำให้ผ่อนคลายไม่เต็มที่  
คนที่มีความดันเลือดสูง  และมีหลอดเลือดสมองแตก  มักเกิดโรคสูงสุดในช่วงเที่ยงหรือบ่ายโมงมากที่สุด
ซึ่งการนอนกลางวันจะช่วยทำให้เกิดโรคได้น้อยลงด้วย
หวังว่า  ท่านผู้อ่านคงจะได้รับความรู้ในเรื่องอาหารคลายร้อน  และวิธีสร้างสมดุลห่างไกลโรค ตามที่
แพทย์จีนได้แนะกันไปแล้วข้างต้น  และคงจะได้นำไปไตร่ตรองปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีของ
ตัวท่านเองและครอบครัว
*+*+*
อ้างอิง  :  บทความ "แพทย์จีนแนะบริโภคอาหารคลายร้อน  สูตรสร้างสมดุล 'หยิน-หยาง'  - ห่างไกล
โรคหลอดเลือด"  ในหนังสือพิมพ์  ผู้จัดการรายสัปดาห์  ๒๓-๒๙  มีนาคม  ๒๕๕๒. 
(ซึ่งในบทความได้นำข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ ปรัชญา แนวคิดพื้นฐานการแพทย์ตะวันออก-ตะวันตก  
โดย  วิฑิต  วัณนาวิบูล  และ นพ. ภาสกิจ วัณนาวิบูล) -  ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง
ภาพจากอินเตอร์เน็ต  -  ขอขอบคุณ  

สาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การภิปรายในห้งเรียน

นักเรียนควรศึกษาเรื่องอาหารในหน้าร้อนหรือไม่เพราะเหตุใด

กิจกรรมเสนอแนะ

นักเรียนควรศึกษาข้อมูลจากห้องสมุดและจากอินเตร์เน็ต

การบูรณาการ ภาษาไทย  การอ่านออกเสียง  การอ่าจับใจความ อ่านคำยาก ศีลป วาดภาพ

ที่มาแหล่งข้มูลhttps://www.oknation.net/blog/surasakc/2011/03/07/entry-1

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4614

อัพเดทล่าสุด