มือถือใช้แสงอาทิตย์


670 ผู้ชม


มือถือยุคนี้ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม   

มือถือใช้แสงอาทิตย์

 ประเด็นข่าว
         ที่มาแหล่งอ้างอิงโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกของโลกที่ชาร์จไฟโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ซัมซุงเผยโฉมครั้งแรกในงานโมบาย เวิลด์ สเปน บริษัทซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ได้เปิดเผยถึงความสำเร็จด้านการวิจัยและพัฒนาโทรศัพท์มือถือรุ่น “บลูเอิร์ธ” ซึ่งเป็นโทรศัพท์มือถือที่ออกแบบมาเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยบลูเอิร์ธ เป็นโทรศัพท์จอสัมผัสเต็มรูปแบบ ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ มีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ ติดอยู่บริเวณฝาหลัง สามารถชาร์จไฟได้ตลอดเวลา ไม่มีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่หมด และชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติกก็ใช้วัสดุรีไซเคิลที่เรียกว่า พีซีเอ็ม
        โทรศัพท์มือถือบลูเอิร์ธ เป็นเครื่องแรกของโลกที่แบตเตอรี่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ได้เปิดตัวให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้สัมผัสและทดลองใช้งานอย่างเป็นทางการภายในงานโมบาย เวิลด์ ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน เป็นโทรศัพท์มือถือในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีโหมดประหยัดพลังงานผ่านฟังก์ชันที่เรียกว่า อีโค-โหมด จุดเด่นอีกด้านก็คือ อีโค-วอล์ก ซึ่งเป็นฟังก์ชันนับจำนวนก้าวที่เดินของเจ้าของเครื่อง แล้วคำนวณออกมาเป็นจำนวนต้นไม้ที่จะช่วยอนุรักษ์ไว้หากเราลดการใช้พลังงานจาก    รถยนต์ แม้แต่ กล่องบรรจุโทรศัพท์รุ่นนี้ก็ออกแบบให้เล็กและเบา ใช้กระดาษรีไซเคิล ประหยัดพลังงานระดับ 5 ดาว ตามมาตรฐานยุโรป นายเจเค ชิน รองประธานบริหารและหัวหน้าฝ่ายโทรศัพท์มือถือซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ระบุว่า   ซัมซุงบลูเอิร์ธ ถือเป็นพันธสัญญาของซัมซุง   ที่มีต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคใช้งาน  ได้จริง.

คำสำคัญที่ต้องค้นเพิ่มเติม

พลังงาน
พลังงาน เป็นปริมาณพื้นฐานอย่างหนึ่ง ของกระบวนการในระบบกายภาพทุกอย่าง พลังงานในระบบเหล่านี้ ที่สภาวะหนึ่งๆ นิยามว่าเท่ากับ งาน ที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนจากสภาวะแรกเริ่ม (เรียกว่าระดับอ้างอิง) ไปยังสภาวะนั้นๆตัวอย่างของพลังงานได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ในแบตเตอรี่ พลังงานเคมีในอาหาร พลังงานความร้อนของเครื่องทำน้ำร้อน หรือพลังงานศักย์ของน้ำที่อยู่เหนือเขื่อนพลังงานสามารถเปลี่ยนรูปจากรูปแบบหนึ่งไปสู่รูปแบบอื่นได้ โดยกฎการอนุรักษ์พลังงานระบุว่า ในระบบปิดนั้น พลังงานทั้งหมดที่ประกอบขึ้นจากพลังงานของส่วนย่อยๆ จะมีค่าคงที่เสมอพลังงานที่ว่านี้ไม่สามารถจะทำให้สูญสลายไปได้ เว้นแต่ว่าจะแปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของพลังงานในรูปแบบอื่น ยกตัวอย่างเช่นเปลี่ยนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือน (โดยใช้โซลาร์เซลล์) เปลี่ยนพลังงานสะสมที่มีอยู่ในน้ำที่เก็บไว้ในเขื่อน(พลังงานศักย์) มาเป็นพลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนไดนาโม(พลังงานจลน์) ของโรงไฟฟ้า และยังมีพลังงานอีกหลายรูปแบบที่เราสามารถนำมาใช้ได้แต่ยังไม่ได้นำมาใช้หรือยังไม่ได้คิดค้นขึ้นมา เช่น พลังงานจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิวชั่น เป็นต้น
ที่มา: วิกิพีเดีย

พลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียนที่ใช้แล้วเกิดขึ้นใหม่ได้ตามธรรมชาติ เป็นพลังงานที่สะอาด ปราศจากมลพิษ และเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง ในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบคือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อน 
ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน

โซลาร์เซลล์ 
เซลล์สุริยะ หรือ เซลล์แสงอาทิตย์ (อังกฤษ: Solar cell) อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่มีหน้าที่แปลงโฟตอนจากแสงแดด ให้เป็นกระแสไฟฟ้า โดยทั่วไปแล้วเซลล์สุริยะที่มีทั้งแหล่งแสงจากดวงอาทิตย์และจากแหล่งอื่น ล้วนเรียกรวมกันว่า เซลล์โฟโตวอลเทอิก (photovoltaic cell)
ที่มา:วิกิพีเดีย

หลักการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์

หลักการเมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะนำไฟฟ้าประจุลบและบวกขึ้น ได้แก่ อิเล็กตรอนและ 
โฮล โครงสร้างรอยต่อพีเอ็นจะทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์ เพื่อแยกพาหะนำไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนไปที่ขั้วลบ และพาหะนำไฟฟ้าชนิดโฮลไปที่ขั้วบวก (ปกติที่ฐานจะใช้สารกึ่งตัวนำชนิดพี ขั้วไฟฟ้าด้านหลังจึงเป็นขั้วบวก ส่วนด้านรับแสงใช้สารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น ขั้วไฟฟ้าจึงเป็นขั้วลบ) ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสอง เมื่อต่อให้ครบวงจรไฟฟ้าจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึ้นโดยปกติฐานหรือด้านหลังของเซลแสงอาทิตย์นิยมใช้สารกึ่งตัวนำชนิดพี ขั้วไฟฟ้าด้านฐานจึงเป็นขั้วบวก ส่วนด้านหน้าหรือด้านรับแสงนิยมใช้สารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น ขั้วไฟฟ้าด้านหน้าจึงเป็นขั้วลบ เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์จะเกิดการสร้างพาหะนำไฟฟ้าประจุลบ(อิเลคตรอน) และประจุบวก (โฮล) โดยมีรอยต่อพีเอ็น ทำหร้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์เพื่อแยกพาหนะนำไฟฟ้าชนิดอิเลคตรอนไปที่ขั้วลบและพาหะนำไฟฟ้าชนิดโฮลไปที่ขั้วบวก ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสองเมื่อต่อให้ครบวงจรจะเกิดการไหลของกระแสไฟฟ้า
ที่มา: เครือข่ายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT ย่อจาก information technology) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)
ที่มา:วิกิพีเดีย

บุรณาการสาระการเรียนรู้
-กลุ่มสาระการเรยนรู้วิทยาศาสตร์ (พลังงาน, กระแสไฟฟ้า)
-กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ (เทคโนโลยีสารสนเทศ )

กิจกรรมเสนอแนะ
1.
ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยสนทนาเรื่องพลังงานที่มีในโลก
2.คุรูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยสนทนาเรื่องการสื่อสารและเทคโนโลยีการสื่อสาร
3.ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยสนทนาเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม
4.ครูให้นักเรียนคิดค้นโครงงานจากพลังงานแสงอาทิตย์
5.ครูให้นักเรียนวิเคราะห์ระบบสารสนเทศที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือ

แหล่งที่มา
https://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=191045&NewsType=1&Template=1

เฉลิมชัย ถึงดี 
ศึกษานิเทศก์ สพท.สร.3
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=60

อัพเดทล่าสุด