เรามาสร้างภาพตลก ๆ ล้อเลียนเพื่อน ๆ กัน ด้วยโปรแกรมแต่งภาพอย่าง Photoshop คลิกปุ๊บคลิกปั๊บเท่านี้ก็ได้รูปเพื่อนที่มีหน้าตาตลก ๆ แล้วครับ (ตอนที่ ๑)
ขำขำ อารมณ์ดี ต้องอย่างงี้สิ แกล้งเพื่อนด้วย Photoshop (ตอนที่ ๑) |
ก่อนอื่นครูขอแนะนำให้นักเรียนอ่าน พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ในมาตรา ๑๖ มีว่า |
"มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็คทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย" [ที่มา : พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ] |
จาก พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตราที่ ๑๖ ที่ได้ยกมาดังกล่าว การดัดแปลงหรือแก้ไขรูปภาพของผู้อื่น ให้พึงระวังความผิดไว้ด้วยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ฉะนั้นทางที่ดีต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของภาพ ก่อนที่จะทำการใด ๆ นะครับ หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ ในเรื่องการนำรูปภาพผู้อื่น มากระทำการใด ๆ แล้ว ต่อมาเข้าสู่บทเรียนของเราในบทนี้กันนะครับ ว่านักเรียนจะได้อะไรจากเรื่องนี้กัน ๑.ทำความรู้จักกับโปรแกรม Adobe Photoshop ๒.เทคนิคการแต่งภาพล้อเลียนโดยใช้คำสั่ง Filter ที่ชื่อว่า Liquify ๓.การตกแต่งภาพโดยมีจรรยาบรรณ ๔.เข้าใจ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ม.๑๖ [ภาพจาก : www.acfs.go.th ] |
๑.ทำความรู้จักกับโปรแกรม Adobe Photoshop อะโดบี โฟโตชอป (Adobe Photoshop) มักเรียกสั้นๆ ว่า โฟโตชอป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีความสามารถในการจัดการแก้ไขและตกแต่งรูปภาพ (photo editing and retouching) แบบแรสเตอร์ ผลิตโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ซึ่งผลิตโปรแกรมด้านการพิมพ์อีกหลายตัวที่ได้รับความนิยม เช่น Illustrator และ Pagemaker ปัจจุบัน โปรแกรมโฟโตชอปพัฒนามาถึง รุ่น CS4 (Creative Suite 4) [ที่มา : wikipedia ] |
ความสามารถของโปรแกรม Adobe Photoshop มีดังนี้ |
-การตกแต่งภาพ โปรแกรมโฟโตชอปเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการจัดการไฟล์ข้อมูลรูปภาพที่มี ประสิทธิภาพ การทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพของโฟโตชอปนั้น ส่วนใหญ่จะทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพที่จัดเก็บข้อมูลรูปภาพแบบRaster โฟโตชอปสามารถใช้ในการตกแต่งภาพเล็กน้อย เช่น ลบตาแดง, ลบรอยแตกของภาพ, ปรับแก้สี, เพิ่มสีและแสง หรือการใส่เอฟเฟกต์ให้กับรูป เช่น ทำภาพสีซีเปีย, การทำภาพโมเซค, การสร้างภาพพาโนรามาจากภาพหลายภาพต่อกัน นอกจากนี้ยังใช้ได้ในการตัดต่อภาพ และการซ้อนฉากหลังเข้ากับภาพ โฟโตชอปสามารถทำงานกับระบบสี RGB, CMYK, Lab และ Grayscale และสามารถจัดการกับไฟล์รูปภาพที่สำคัญได้ เช่น ไฟล์นามสกุล JPG, GIF, PNG, TIF, TGA โดยไฟล์ที่โฟโตชอปจัดเก็บในรูปแบบเฉพาะของตัวโปรแกรมเอง จะใช้นามสกุลของไฟล์ว่า PSD จะสามารถจัดเก็บคุณลักษณะพิเศษของไฟล์ที่เป็นของโฟโตชอป เช่น เลเยอร์, ชันแนล, โหมดสี รวมทั้งสไลส์ ได้ครบถ้วน |
-การสร้างเว็บเพจ โฟโตชอปสามารถใช้ในการสร้างเว็บเพจได้โดยใช้โปรแกรมร่วมที่มาพร้อมกับโฟโตชอป ชื่อ อิมเมจเรดดี Adobe ImageReady โดยการออกแบบสามารถทำได้ในทั้งโฟโตชอปหรืออิมเมจเรดดี และความสามารถในการทำเว็บ เช่น การใส่ลิงก์, การทำภาพเคลื่อนไหว, การทำปุ่มบังคับ สามารถทำได้ในอิมเมจเรดดี้ และเซฟออกมาในรูปแบบเว็บเพจในนามสกุล HTML [ที่มา : wikipedia ] |
๒.เทคนิคการแต่งภาพล้อเลียนโดยใช้ Filter ที่ชื่อว่า Liquify |
ได้เวลาแล้ว... มาเริ่มการตกแต่งภาพล้อเลียนด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop ตามขั้นตอนด้านล่างนี้เลย ๑.ให้เปิดโปรแกรม Adobe Photoshop ขึ้นมา พร้อมเปิดไฟล์รูปภาพต้นฉบับที่ต้องการทำภาพล้อเลียน ดังรูป |
๒.ใช้คำสั่ง Filter ที่ชื่อว่า Liquify โดยไปที่เมนู Filter -> Liquify จะปรากฎหน้าต่างดังนี้ |
ให้นักเรียนเลือกเครื่องมือ Forward Warp Tool ดังรูปเพื่อทำการดึงหรือยืดภาพ และทำการปรับขนาดแปรง Brush Zise ตามต้องการ แล้วทำการดึงหรือยืดภาพให้ได้ภาพที่้ต้องการอย่างเหมาะสม เมื่อได้แล้วกดปุ่ม OK |
ดูวิดีโอการตกแต่งอย่างง่าย นะครับ ( ในการเล่นวิดีโอให้คลิกขวาเลือก Play ) |
สำหรับบทความนี้เป็นการฝึกใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Forward Warp Tool เพียงอย่างเดียวให้นักเรียนไปฝึกปรับเปลี่ยนดูได้ตามต้องการนะครับ สำหรับเครื่องมืออื่น ๆ ค่อยพบกันใหม่ในบทความตอนต่อไปนะครับ |
ประเด็นคำถาม |
๑.การนำรูปภาพบุคคลอื่น มาทำการแก้ไขดัดแปลง แล้วนำไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต จะเกิดความผิด พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อะไรบ้าง ๒.พรบ.ฉบับนี้คุ้มครองการละเมิดสิทธิของผู้อื่นอย่างไร |
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ๑.สาระสังคมศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม เรื่อง ศีลธรรม ๒.การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟฟิก ๓.ศิลปะ เรื่อง การตกแต่งภาพตามจินตนาการ |
แหล่งที่มาและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม ๑.ประชาไท : https://www.prachatai.com/05web/th/home/16592 ๒.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: www.mict.go.th ๓.ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี (High-Tech Crime Center) :https://htcc.police.go.th ๔.กองบัญชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: https://ict.police.go.th ๕.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ: www.royalthaipolice.go.th ๖.กรมสอบสวนคดีพิเศษ: https://www.dsi.go.th/dsi/index.jsp ๗.ว็บไซต์ NECTEC เพื่อประชาคมความรู้ (NECTEC PEDIA) https://wiki.nectec.or.th/nectecpedia/index.php |
บทความโดย ครู มนตรี อกอุ่น โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม ๐๔ ในพระอุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สุรินทร์ เขต ๓ e-mail : [email protected] web-blog : krumontree.212cafe.com ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=98 |