12 วิธีกันสมองเหี่ยว


835 ผู้ชม


สมองของคนเราจะทำงานทั้งวันทั้งคืนไม่มีการหยุดพัก เรามาหาวิธีการบำรุงสมองให้สดใสซาบซ่ากันดีกว่า   

         
      บทความนี้อยากเลือกมาให้หลาย ๆ คน ได้อ่านกัน   เห็นว่ากำลังเครียดและขมักเขม่นเขียนสาระความรู้ให้กับนักเรียน  เพราะใกล้จะเปิดเทอมแล้ว มาช่วยกันดูแลสมองกันหน่อยน่ะค่ะจะได้เห็นหน้ากันไปนาน  ๆ  12 วิธีกันสมองเหี่ยว12 วิธีกันสมองเหี่ยว

12 เทคนิคกันสมองเหี่ยว

                 เรื่องของการปลุกระดมสมองให้สดชื่นแจ่มใสเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็ต้องการ เพราะเมื่อสมองแจ่มใส ปลอดโปร่ง อะไรก็ดีตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น การฟัง พูด อ่าน เขียน จดจำ หรือความคิด  กลับกัน หากสมองเหี่ยว ฝ่อ ไม่สดใส อาจจะเกิดจากความเครียด หรือการหมกมุ่นกันเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานๆ หรือ ขาดการพักผ่อน ทักษะดังกล่าวก็จะลดน้อยถอยไป 
กรรมวิธีที่จะทำให้สมองแข็งแรงไปอย่างยืนยาวนั้น สถาบันดีสปายน์ไคโรแพรคติก เทคนิค มาแนะนำ
             1. ดื่มน้ำให้พอ เพราะสมองของคนเราประกอบด้วยน้ำถึง 85% ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดน้ำ สมอง ก็จะทำงานช้าลง ทำให้กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดอะไรไม่ค่อยออก  แต่การดื่มน้ำนั้นแต่ละคนจะมีความต้องการน้ำไม่เท่ากันขึ้นอยู่กันน้ำหนัก และพฤติกรรมต่างๆ ทั้งการเคลื่อนไหว และการบริโภค แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำวันละ 3-5 ลิตร ส่วนเด็ก 2-3 ลิตร 
            2. หายใจลึกๆ ช่วยส่งพลังงานไปถึงสมอง ถ้านั่งหายใจ หลังก็ควรจะตั้งตรง จะช่วยให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น และถ้านั่งนานเนไปควรเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้น ยืดสาย เพื่อให้ปอดขยาย 
           3. เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดีทดแทนไขมันในสมองที่สึกหรอ อาทิ น้ำมันปลา สารสกัดจากใบแปะก๊วย ปลาแซลมอน อีฟนิ่งพริมโรส วิตามินซี
           4.ตั้งโปรแกรมให้สมอง โดยใช้ความตั้งมั่นตั้งใจอย่างจริงจัง สมองจะค่อยๆ ปรับพฤติกรรมให้ไปสู่เป้าหมายได้
           5.หัวเราะและยิ้มบ่อยๆ ช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ไปกระตุ้นพลังออร่าให้สว่างสดใสจะช่วยดึงดูดสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต
            6.ฝึกสมาธิพัฒนาอารมณ์ให้สมองผ่อนคลาย จะช่วยทำให้มีจินตนาการมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำได้ทั้งตื่นเช้าหรือก่อนนอนทุกวัน 
           7.ออกกำลังกายกระตุ้นการทำงานของสมองพร้อมกับดื่มน้ำบ่อยๆ 

           8.หาอะไรใหม่ๆ ให้ชีวิต เช่น รู้จักคนใหม่ๆ อ่านหนังสือเล่มใหม่ ขับรถเส้นทางใหม่ หรือแลกเปลี่ยนทัศนคติใหม่ๆ กับเพื่อน สมองจะหลั่งสารแห่งความสุข เอ็นดอรอฟิน และสารแห่งการเรียนรู้ โดปามีน ทำให้เกิดการอยากเรียนรู้อย่างมีความสุข 
         9.รู้จักให้อภัยและลดความโกรธ จะทำให้สูญเสียพลังงานน้อยลง และยังเป็นการช่วยลดภาระให้กับสมอง
         10.พูดเรื่องดีๆ กับตัวเองซ้ำๆ ให้เกินวันละ 100 ครั้ง 
          11.บันทึกสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันลงในสมุดบันทึก ช่วยทำให้สมองคิดในเชิงบวก ทำให้หลับฝันดี มีสมาธิ 
          12.พักผ่อนให้เพียงพอ โดยช่วงเวลา 21.00 น. จะเป็นช่วงเวลานอนที่ดีที่สุด 
         เรื่องนี้ไม่ใช่เหมาะสำหรับเด็ก แต่เป็นเรื่องที่ทุกเพศ ทุกวัยสามารถปฏิบัติได้เป็นการยืดอายุสมอง ให้อยู่กับเราไปได้นานเท่านาน !!
[ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุกิจ  วันที่ 07 เมษายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3990  หน้าที่  50]
     จากบทความข้างต้นเราลองมาศึกษาเรื่องของสมองกันน่ะค่ะ
         สมอง (อังกฤษ: Brain) คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon 
12 วิธีกันสมองเหี่ยวจัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย


ภาพจาก https://tbn2.google.com/images?q=tbn:JlSSIfn3nEHQwM:https://www.msit.mut.ac.th/newweb/textword/image_upload/Brain1.jpg

       สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และรักษาสมดุลภายในร่างกาย (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
        สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณ ไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะทำงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่า เมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษย์  [ที่มา : วิกิพีเดีย]
สมองของมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้


ที่มา  :  https://tbn3.google.com/images?q=tbn:QK0zf9_u75FCrM:https://www.thaiwebkit.com/cha-lad.com/images/content19102550170923.jpg

          1. สมองส่วนหน้า (Forebrain) - มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีกดังนี้
              ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ - ดมกลิ่น (ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
              ซีรีบรัม (Cerebrum) - มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พู ดังนี้
             1. Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
             2. Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น
             3. Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
             4. Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส
           o ทาลามัส (Thalamus) - อยู่เหนือไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด
          o ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) - ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ
    * สมองส่วนกลาง (Midbrain) - เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการ เคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน
    * สมองส่วนท้าย (Hindbrain) ประกอบด้วย
          o พอนส์ (Pons) - เป็นส่วนของก้านสมอง ติดกับสมองส่วนล่าง ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และเป็นที่อยู่ของประสาทคู่ที่ 5,6,7,8
          o เมดัลลา (Medulla) - เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
          o ซีรีเบลลัม (Cerebellum) - อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
ประเด็นคำถาม  
       1. เรามีวิธีการดูแลสมองให้ใช้งานได้นาน ๆ  อย่างไร
       2. ช่วยกันเสนอเมนูอาหารเลี้ยงสมอง
กิจกรรมเสนอแนะ
       
1. นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากเว็บไซต์อื่น  ๆ  
       2. นักเรียนรวบรวมสาเหตุที่ทำให้สมองเสื่อม
       3. นักเรียนรวบรวมเมนูอาหารหรือปัจจัยต่าง  ๆ  ที่ช่วยบำรุงสมอง
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ  
       
1. สาระการเรียนรู้การงานอาหารอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  อาหารและโภชนาการ
       2. สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  
       3.  สาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา
     
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ

      1. https://tbn3.google.com/images?q=tbn:QK0zf9_u75FCrM:https://www.thaiwebkit.com/cha-lad.com/images/content19102550170923.jpg
      2. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87
      3. 
https://tbn2.google.com/images?q=tbn:JlSSIfn3nEHQwM:https://www.msit.mut.ac.th/newweb/textword/image_upload/Brain1.jpg
  
ศึกษาตอนที่  2  จากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาตร์




ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=103

อัพเดทล่าสุด