ปูนซีเมนต์เป็นเหตุ


666 ผู้ชม


ตึกถล่มย่านสำโรงเหนือ เจ็บกว่า20ตาย1คน เหตุเร่งเทปูน มาเรียนรู้เรื่องปูนซีเมนต์กันเถอะ   

ตึกถล่มย่านสำโรงเหนือ เจ็บกว่า20ตาย1คน เหตุเร่งเทปูน

ปูนซีเมนต์เป็นเหตุ 
ภาพจาก https://www.telewizmall.com/home/data/upimages/pol/subfolders/news/552000003490001.jpg


          วันนี้ (22 มี.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น.พ.ต.ท.ธนินท์รัฐ วิชทิพยนานนท์ สารวัตรเวร สภ.สำโรงเหนือ รับแจ้งมีเหตุตึกถล่ม และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก จึงรายงานผู้บังคับบัญชาทราบพร้อมประสานงานเจ้าหน้าที่มูลนิธิรีบรุดไปยังที่เกิดเหตุ ระหว่างซอยศรีบุญเรือง1 และ 2 เข้าไปจากปากซอยประมาณ 500 เมตร พบอาคารอยู่ระหว่างก่อสร้าง กว้าง 19.20 เมตร ยาว 35.5 เมตร โดยคานปูนที่กำลังก่อสร้างบริเวณชั้น 3 พังลงมาทับบ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียงอีก 3 หลัง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 20 คน และมีเด็กอยู่ภายในบ้านที่ถูกถล่มหลายคน ท่ามกลางเสียงกรีดร้องของผู้ปกครองให้ช่วยเหลือเด็กๆ เจ้าหน้าที่มูลนิธิได้รีบนำซากปูนและเหล็กออกด้วยความระมัดระวัง พร้อมนำเครื่องตัดถ่างมาช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ นำส่งโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ 12 คน โรงพยาบาลเปาโลเมมโมเรียล 7 คน โรงพยาบาลสมุทรปราการ 2 คน และโรงพยาบาลเมืองสมุทรปู่เจ้าฯ 1 คน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่มูลนิธิได้เร่งค้นหาผู้ที่ติดอยู่ภายในซากอาคารอย่างเร่งด่วน

ปูนซีเมนต์เป็นเหตุ
รูปภาพจาก https://news.nipa.co.th/image/siamrath/crime/17016_e0b896e0b8a5e0b988e0b8a13.jpg


    จากข่าวอุบัติเหตุดังกล่าวอาจเกิดจากความประมาทเลินเล่อ หรืออาจเป็นเพราะความรู้เท่าไม่ถึงกาล คือไม่รู้เรื่องคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ชนิดต่าง ทำไมเวลาจะเทเสาเทคานต้องใช้ตรานี้  ตรานี้ใช้สำหรับก่อและฉาบ ยิ่งพูดยิ่งงง งั้นเรามาดูประวัติและชนิดของปูนซีเมตน์ว่ามีความเป็นมาอย่างไรและจะนำไปใช้อย่างไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุดกันนะครับ

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ช่วงชั้นที่ 2

          ปูนซีเมนต์ คือ ผงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการบดปูนเม็ด ซึ่งเป็นผลึกที่เกิดจากการเผาส่วนผสมของหินปูน หินดินดานและศิลาแลง ที่อุณหภูมิสูง(1450 ํC) จนเกิดการรวมตัวกันสุกพอดี

ปูนซีเมนต์เป็นเหตุ
ภาพประกอบ https://ptit.org/oilbusiness/knowledge/images/photo/oil02.jpg


           วิธีการผลิตปูนซีเมนต์ ถูกค้นพบโดยช่างก่อสร้างชาวอังกฤษ ชื่อ Joseph Aspdin ซึ่งได้นำเอาผงหินปูนที่เผาแล้วผสมกับผงดินเหนียว แล้วนำไปเผาในเตา จากนั้นนำผงมาบดให้ละเอียด จะได้ผงซีเมนต์มีสีเหลืองเทาคล้ายกับหินในเกาะเมืองปอร์ตแลนด์เขาจึงตั้งชื่อว่า ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) และได้ทำการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ในปี ค.ศ. 1824 (พ.ศ. 2367) วิธีการผลิตปูนซีเมนต์มี 2 วิธีคือ แบบเปียก (Wet Process) และแบบแห้ง (Dry Process)

 ปูนซีเมนต์เป็นเหตุ 
รูปภาพจาก https://www.mne.eng.psu.ac.th/knowledge/student/cementweb/wpe1.jpg 

ประเภทของปูนซีเมนต์ 

           ปูนซีเมนต์ที่ผลิตในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะผลิตตามมาตรฐานของ อเมริกา(ASTM C. 150) และของอังกฤษ(BritishStandard ; B.S.) ซึ่งตามมาตรฐาน มอก. 15 ของไทยได้แบ่งปูนซีเมนต์ออกเป็น 5 ประเภท แต่ที่เหมาะสำหรับการก่อสร้างอาคารทั่วๆ ไปจะเป็นประเภทที่ 1 (Normal Portland Cement)เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา เหมาะกับงานก่อสร้างคอนกรีตทั่วๆ ไปที่ไม่ต้องการคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติม เช่น คาน เสา พื้น ถนน ค.ส.ล. เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ที่มีจำหน่ายได้แก่ ตราช้าง เพชร(เม็ดเดียว) พญานาคเขียว TPI(แดง) ภูเขา และดาวเทียม

 ปูนซีเมนต์เป็นเหตุ
รูปภาพจาก https://www.buildingmart.org/build_buildingthai/enl/elephent%20portland1.jpg


         สำหรับปูนซีเมนต์ประเภท 2 (Modified Portland Cement)เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ดัดแปลงเพื่อให้สามารถต้านทานเกลือซัลเฟตได้ปานกลาง และจะเกิดความร้อนปานกลางในช่วงหล่อ เหมาะกับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น ตอม่อ สะพาน ท่าเทียบเรือ เขื่อน เป็นต้น   ปูนซีเมนต์ประเภท 3 (High-early Strength Portland Cement)เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่สามารถให้กำลังได้รวดเร็วในเวลาอันสั้น หลังจากเทแล้วสามารถใช้งานได้ภายใน 3-7 วัน เหมาะกับงานที่เร่งด่วน เช่น คอนกรีตอัดแรง เสาเข็ม พื้นถนนที่จราจรคับคั่ง เป็นต้น ปูนซีเมนต์ประเภท 4 (Low-heat Portland Cement)เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ชนิดพิเศษที่มีอัตราความร้อนต่ำกำลังของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งส่งผลดีทำให้การขยายตัวน้อยช่วยลดการแตกร้าว เหมาะกับงานสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ในประเทศไทยยังไม่มีการผลิตจำหน่าย ปูนซีเมนต์ประเภท 5 (Sulfate-resistant Portland Cement)เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่ทนต่อเกลือซัลเฟตได้สูงเหมาะกับงานก่อสร้างบริเวณดินเค็ม หรือใกล้กับทะเล ผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ที่มีจำหน่ายได้แก่ ตราปลาฉลาม TPI(ฟ้า) และตราช้างฟ้า(ปัจจุบันเลิกผลิตแล้ว)

          นอกจากปูนซีเมนต์ทั้ง 5 ประเภทแล้ว ยังมีปูนซีเมนต์ที่ผลิตขึ้นมาโดยดัดแปลงเพื่อให้เหมาะกับงาน และราคาถูกลง ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไปได้แก่
           ปูนซีเมนต์ผสม(Mixed Cement)เป็นการนำปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 ผสมกับทรายหรือหินบดละเอียด ประมาณ 25-30% ซึ่งทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ลดการแตกร้าว เหมาะกับงานก่ออิฐ ฉาบปูน ผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ที่มีจำหน่ายได้แก่ตราเสือ งูเห่า นกอินทรีย์ TPI(เขียว)


ปูนซีเมนต์เป็นเหตุ
รูปภาพจาก https://krooarunee.com/unit5/images/tiger1.jpg


           ปูนซีเมนต์ขาว(White Portland Cement)เป็นปูนซีเมนต์ที่มีส่วนผสมหลัก คือ หินปูนและวัตถุดิบอื่นๆที่มีปริมาณของแร่เหล็กน้อยกว่า 1% ลักษณะของผงสีปูนที่ได้จะเป็นสีขาว สามารถผสมกับสีฝุ่นเพื่อทำให้เป็นปูนซีเมนต์สีต่างๆ ตามต้องการ จึงนิยมใช้ในงานตกแต่งต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ที่ผลิตในประเทศไทย ได้แก่ ตราช้างเผือก ตราเสือเผือกและ ตรามังกร

ปูนซีเมนต์เป็นเหตุ
รูปภาพจาก https://cementhaihomemart.co.th/cgi-bin/images/products/000098_2.jpg 

            บริษัทปูนซีเมนต์แต่ละบริษัทจะกำหนดตราหมวดหมู่เดียวกัน เช่นบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จะใช้ตราที่เป็นสัตว์บก ตราช้าง ตราเสือ ตราเอราวัณ บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ตราเพชร ตรานกอินทรีย์ ตราสามเพชร บริษัทชลประทานซีเมนต์ ตราพญานาคเขียว  ตราพญานาคเจ็ดเศียร พญานาคแดง ตราปลาฉลาม งูเห่า เป็นต้น

           สรุปได้ว่า ปูนซีเมนต์ที่ใช้ก่อสร้างบ้านในส่วนที่เป็นโครงสร้างให้ใช้ปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 เช่น ตราช้าง ตราเพชร ตราพญานาคเขียว ปูนซีเมนต์สำหรับใช้ก่อใช้ฉาบ ใช้ปูนซีเมนต์ผสม เช่น ตรานกอินทรีย์ ตราเสือ ตรางูเห่า สำหรับใช้ตกแต่งกระเบื้อง ใช้ปูนซีเมนต์ขาว (หรือผสมสีให้เป็นสีต่างๆ) เช่น ตราตราช้างเผือก ตรามังกร จะก่อสร้างอะไรทั้งที่ต้องเลือกใช้ปูนซีเมนต์ให้เหมาะสมกับงานนะครับ

ตั้งประเด็นคำถาม

1. ทำไมจึงเรียกว่าปูนซีเมนต์ผสม
2. ถ้าเราจะต่อเติมห้องน้ำใหม่บนชั้นที่ 2 ของบ้าน จะต้องสั่งซื้อปูนซีเมนต์ชนิดใดบ้าง

กิจกรรมเสนอแนะ คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่......

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น สามารถใช้บูรณาการร่วมกับสาระวิทยาศาสตร์ได้

อ้างอิงแหล่งที่มา
ไอยรา พงษ์สุวรรณ https://www.stou.ac.th/study/sumrit/4-51(500)/page2-4-51(500).html 
https://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=370320 

https://www.drawting.com/webboard/index.php?topic=1116.0

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=230

อัพเดทล่าสุด